การศึกษาและพัฒนาลวดลายเครื่องจักสานภาคกลาง สำหรับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับร่วมสมัย

ผู้แต่ง

  • ชุติมา งามพิพัฒน์ นักวิจัยอิสะ กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

ลวดลาย, เครื่องจักสาน, เครื่องประดับ, การออกแบบลวดลาย, การออกแบบเครื่องประดับ

บทคัดย่อ

การศึกษาและพัฒนาลวดลายเครื่องจักสานภาคกลางสำหรับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับร่วมสมัย มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ดังนี้ 1) ศึกษาลวดลายเครื่องจักสานภาคกลาง 2) เพื่อออกแบบลวดลายเครื่องจักสานและการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับร่วมสมัย 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจลวดลายเครื่องจักสานภาคกลางสำหรับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ และการผสมผสานวัสดุให้มีความร่วมสมัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 28 ปีขึ้นไป กลุ่มเลือกฃื้อเครื่องประดับ จำนวน 50 คน โดยได้เก็บรวบรวมข้อมูลเครื่องจักสาน รูปแบบเครื่องจักสาน รูปแบบเครื่องประดับขั้นตอนการผลิต ลักษณะของผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนการผลิตเครื่องประดับ ลวดลายเครื่องจักสาน ภาคกลางลวดลายลวดลายในการจักสาน แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ 3 ลักษณะคือ 1) ลวดลายพื้นฐาน ถือเป็นลายแม่บท สำหรับการสานทั่วไป มี 6 ลาย คือ ลายขัด ลายสอง ลายสาม ลายตาหลิ่ว ลายขอ ลายบองหยอง 2) ลวดลายพัฒนา เป็นลายที่ช่างจักสานในอดีตได้คิดค้นพัฒนาขึ้นมา มี 5 ลาย คือ ลายบ้า ลายดีด้าน ลายเฉลาเกล็ดเต่า ลายดอกขิง ลายดีหล่ม 3) ลวดลายประดิษฐ์ เป็นลวดลายที่คิดค้นประดิษฐ์ จากการประเมินความพึงพอใจ พบว่า ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับร่วมสมัยต้นแบบที่ 1 พบว่า ความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย ( = 4.32, S.D. = 0.59) และพิจารณาตามหัวข้อ พบว่า ด้านการประยุกต์ลวดลาย และด้านเอกลักษณ์ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.37, S.D. = 0.59)

References

Anuchit Kulmala. (2009). A study of development guidelines for bamboo woven handicraft products to increase commercial value in the lower northern provinces. Mahasarakham: Mahasarakham University.

Kriengsak Khiaoman. (2010). Design and development.wicker products Phanat Nikhom District Chonburi for export to the European market.

Nattheeranan Rodchuen. (2017). Designing the basketry bamboo products from local wisdom. Community Enterprise basketry local handicrafts. Art and Architecture Journal Naresuan University Vol. 8 No. 1.

Nirat Sudsang. (2000). Industrial design. Bangkok: Odeon Store Publishing House.

Wannarat Tangcharoen. (2013). The art of jewelry. Bangkok: Santisiri.

Wattana Juthawiphat. (2009). Folk art. Bangkok : Chulalongkorn University.

Wiboon Leesuwan. (1989). Wickerworks in Thailand. Bangkok: Odeon Store.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30