การออกแบบสติกเกอร์ไลน์ “ชาวเล” เพื่อส่งเสริมและสืบสานภาษาและชาติพันธ์ชาวอุรักลาโว้ย
คำสำคัญ:
ชาวเล, อุรักลาโว้ย, สติกเกอร์ไลน์บทคัดย่อ
การออกแบบครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานภาษาชาวเล ของชาวอุรักษ์ลาโว้ย รูปแบบสติกเกอร์ไลน์ ซึ่งเป็นชาติพันธ์กลุ่มคนส่วนน้อยที่มีอยู่ในจังหวัดภูเก็ต กระบี่ พังงา และพื้นที่เขตอันดามัน วิธีการพัฒนาเป็นลักษณะ R&D โดยส่วนแรกดำเนินการเก็บข้อมูลอัตลักษณ์ด้านภาษาและบุคลิกภาพของชาวอุรักลาโว้ยพื้นที่แหลมตุ๊กแก ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต และส่วนที่ 2 ทำการออกแบบวาดภาพการ์ตูนชาวเล และจัดทำสติกเกอร์ไลน์ โดยแบ่งเป็น 4 หมวด คือ หมวดภาษาชาวเล 6 ตัว หมวดในชีวิตประจำวัน 10 ตัว หมวดคำอวยพร 3 ตัว และหมวดแสดงอารมณ์ 5 ตัว เพื่อใช้สำหรับสื่อสารต่อไป ผลจากการสำรวจความพึงพอใจสติกเกอร์ไลน์ชุดนี้ จากตัวแทนชาวอุรักลาโว้ พบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 89.33 เนื่องจากไม่เคยมีมาก่อน และบุคคลทั่วไป พบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 90.40 เนื่องจากการออกแบบอัตลักษณ์มีความน่ารัก และสามารถสื่อถึงชาวอุรักลาโว้ยได้ ข้อเสนอแนะ คือ อยากให้มีภาษาของชาวเลในสติกเกอร์ไลน์ มากกว่านี้อีกหน่อย และอยากให้มีการทำออกมาหลาย ๆ เวอร์ชั่น
References
Information and Communication Division Phuket Provincial Office. (2012). His Majesty's grace towards the ethnic New Thai people. Accessed on April 16, 2022. Retrieve from: https:// poc.phuket.go.th/pokpong/thaimai.htm
Khanittha Boonnag. (2018). Guidelines for teaching natural language (Whole Language) for early childhood. Accessed April 16, 2022, Retrieve from: https://www.youngciety.com/ article/journal/whole-language.html.
Siripong Mukda. (2012). “Koh Siray” The Mantra of the Sea and Culture. Accessed April 16, 2022, Retrieve from: https://live.phuketindex.com/ th/koh-sireh-510.html
Wikipedia, the free encyclopedia. (2021). Urak Lawoi language. Accessed on April 16, 2022, Retrieve from: https://en.wikipedia.org/wiki/Urak Lawoi language.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว