ภาพประกอบบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์อ้อยอินทรีย์ตราเกสร

ผู้แต่ง

  • จิติมา เสือทอง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • รัตติยากร พึ่งสติ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • ภัทรภร ปุณะตุง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

ภาพประกอบ, บรรจุภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์อ้อยอินทรีย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อออกแบบภาพประกอบบนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์อ้อยอินทรีย์ ตรา เกสร 2) เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์อ้อยอินทรีย์ ตรา เกสร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ผลิต และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกราฟิกจำนวน 5 คน ผู้บริโภคเพศชายและหญิงจำนวน 100 คน เป็นผู้ที่อยู่อาศัยในจังหวัดกรุงเทพมหานคร เครื่องมือในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้างและแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยใช้ค่าเฉลี่ย ( Mean : X) ผลการวิจัยพบว่า ด้านการออกแบบภาพประกอบบนบรรจุภัณฑ์ Mood &Tone ที่เหมาะสม 3 อันดับแรก คือ 1) Natural มีค่าเฉลี่ย 5 อันดับ 2 Friendly มีค่าเฉลี่ย3.6 อันดับ3 Modern มีค่าเฉลี่ย 3.4 รูปแบบการนำเสนอภาพประกอบบนบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม 3 อันดับแรก คือ 1) การนำเสนอภาพสินค้าเป็นตัวเอก มีค่าเฉลี่ย 4.2 อันดับ 2 ภาพที่ดึงดูดทางด้านอารมณ์ มีค่าเฉลี่ย 4 อันดับ 3 ภาพสินค้าขณะที่ถูกใช้งานมีค่าเฉลี่ย 3.8 นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกราฟิกยังเสนอแนะการใช้รูปภาพแบบลายเส้น โทนสีที่ดูเป็นธรรมชาติ เน้นเรื่องราวของผลิตภัณฑ์ที่มาจากอ้อย ผลประเมินจากกลุ่มผู้บริโภคในประเด็นการสื่อสารของภาพประกอบบนบรรจุภัณฑ์ คือสามารถให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ สุขภาพดีเป็นมิตร มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด 4.6 สามารถ สื่อสารถึงประโยชน์ใช้สอยของผลิตภัณฑ์ค่าเฉลี่ย น้อยที่สุด คือ 3

References

Department of International Trade Promotion, Ministry of Commerce, Thailand. (2013). 8-year Liberalization of Sugarcane and Thai sugar. DITP, 36 (4598), 3. Ditp.go.th

Depuis. S. and Silva. J. (2011). Package Design Work Book. China:Rockport Publisher.

Jitima Suathong. (2017). Packaging Design. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University.

Mattanee Promotemuang et al. (2018) The Study and Development to Promote the Local Identity for Curry Puff of Sara Buri. Retrieved 20 th Febuary 2019 from https://repository.rmutp.ac.th/bitstram/ handle/123456789/2375

Pornpimol Sakda et al. (2017). Graphic Design for the Local Identity for Banana Chips Product of Woman Manufacturing Group, Bangaknoi District, Nonthaburi. Retrieved 20 th Febuary 2019 from https://repository.rmutp.ac.th/bitstram/ handle/123456789/843

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30