การออกแบบเสื้อผ้าสตรีทำงานกึ่งลำลองสำหรับกลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการเจเนอเรชั่นวายด้วยแนวคิดการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ จากยุคมิดเซ็นจูรี่และแนวคิดอัพไซเคิล

ผู้แต่ง

  • รณิดา วรจรรยวรรธ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อรรถพนธ์ พงษ์เลาหพันธุ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

เสื้อผ้าทำงานกึ่งลำลอง, ผู้ประกอบการ, เจเนอเรชั่นวาย, อัพไซเคิล

บทคัดย่อ

ปัจจุบันตลาดสินค้าแฟชั่นมีการแข่งขันมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดสินค้าฟาสต์แฟชั่น ที่ส่งผลให้เกิดการผลิตสินค้าจำนวนมากและรวดเร็ว เพื่อให้ทันกับความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการซื้อสินค้าราคาถูก และสามารถซื้อซ้ำได้ในระยะเวลาอันสั้น ปรากฏการณ์นี้นำมาซึ่งวงจรของสินค้าที่มีระยะสั้น เป็นผลจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มที่จะเลิกใช้สินค้าในระยะเวลาที่สั้นลง สถานการณ์ข้างต้นได้นำมาซึ่งแนวโน้มแฟชั่นยั่งยืนที่รณรงค์ทั้งทางด้านการผลิต การจัดจำหน่าย และการใช้สินค้าแฟชั่นอย่างเหมาะสมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยแนวคิดอัพไซเคิลเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่นักออกแบบแฟชั่นใช้เป็นแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานออกแบบเพื่อให้ตอบสนองแนวคิดแฟชั่นยั่งยืน จากการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มเป้าหมายผู้ประกอบการเจเนอเรชั่นวายในประเทศไทยให้ความสนใจรูปแบบของเสื้อผ้าทำงานกึ่งลำลองที่มาจากแนวคิดแฟชั่นยั่งยืน (2) แนวคิดการออกแบบที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ แนวคิดการออกแบบเฟอร์นิเจอร์จากยุคมิดเซนจูรี่ และ (3) ผู้วิจัยทดลองออกแบบสร้างสรรค์คอลเลกชั่นต้นแบบจากแนวคิดอัพไซเคิล จำนวน 5 ชุด

References

Aluminum loop. (2564, 20 May). Recycle-Upcycle-Downcycle 3 Differences of Recycle Loop. https://aluminiumloop. com/recycle-upcycle-downcycle/

Baan laesuan. (2021, 20 March). Mid-century. https://www.baanlaesuan.com /64555/dontmiss/mid-century-modern

Cole, Daniel James, and Nancy Deihl. (2015). The History of Modern Fashion. London: Laurence King.

J. Noyraiphoom and S. Intrachooto. (2017). Innovation Development Pattern of Upcycled Materials in Thailand. Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS). 14(1), 47-60.

James Reinhart. (2021, 20 March). 2021 Resale Report. https://www.thredup.com/resale/

K. Yamaguchi, M. H. Kiapour and T. L. Berg, "Paper Doll Parsing:

P. Srisuwan and P. Utiswannakul. (2019). THE CREATION OF SUSTAINABLE FASHION. Veridian E-Journal, Silpakorn University: Humanities, Social Sciences, and Arts. 12(5) (September – October 2019), 711-728.

P. Utiswannakul. (2021). Fashion and Merchandise. (Revised Edition). Bangkok.

Retrieving Similar Styles to arse Clothing Items," 2013 IEEE International Conference on Computer Vision, 2013, 3519-3526, doi: 10.1109/ICCV.2013.437.

V. Bhardwaj and A.Fairhurst (2010). Fast fashion: response to changes in the fashion industry, The International Review of Retail, Distribution and Consumer Research, 20:1, 165-173. DOI: 10.1080/09593960903498300

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30