การออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมเส้นทางการท่องเที่ยวในจังหวัดระนอง
คำสำคัญ:
สื่อปฏิสัมพันธ์, เส้นทางท่องเที่ยว, การออกแบบบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง การออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมเส้นทางการท่องเที่ยวในจังหวัดระนอง มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางทรัพยากรธรรมชาติและสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดระนอง และ 2. เพื่อออกแบบพัฒนาสื่อปฏิสัมพันธ์เส้นทางการท่องเที่ยวจากฐานทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมในจังหวัดระนอง โดยใช้ระเบียนวิธีวิจัยเชิงคุณภาพผสมผสานกับวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยการวิเคราะห์ทางเอกสาร การสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก และความต้องการในการใช้งานสื่อของผู้ใช้บริการ ข้อมูลพื้นฐานทางทรัพยากรธรรมชาติและชุมชนในจังหวัดระนอง และประเมินศักยภาพทางทรัพยากรธรรมชาติพื้นที่ท่องเที่ยวในจังหวัดระนอง พบว่า พื้นที่กรณีศึกษาจากการประเมินศักยภาพ สถานภาพ ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมสามารถจำแนกเส้นทางการท่องเที่ยวตามแหล่งทรัพยากรทางการท่องเที่ยวได้เป็นเส้นทางการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกัน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกระบุรี อำเภอกะเปอร์ อำเภอเมืองระนอง อำเภอละอุ่น อำเภอสุขสำราญ พบว่า ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ระนองที่น่าสนใจมีทั้งสิ้น 25 แห่ง และแบ่งเป็นทั้งสิ้น 9 เส้นทาง 1) แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์-ธรรมชาติ 2) แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ-วัฒนธรรม 3) แหล่งท่องเที่ยวในเมือง-พักผ่อน 4) แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ-ชุมชน 5) แหล่งท่องเที่ยวทางอารยธรรม-ธรรมชาติ 6) แหล่งท่องเที่ยวพักผ่อน 7) แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ-ประวัติศาสตร์ 8) แหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์-ชุมชน 9) เส้นทางธรรมชาติ-วิถีชีวิต ครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัด ผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ รูปแบบสื่อปฎิสัมพันธ์ออนไลน์ พบว่า ชุดสัญลักษณ์สื่อความหมายได้ชัดเจนและเข้าใจง่าย การนำเสนอข้อมูลแต่ละหน้ามีความถูกต้อง และองค์ประกอบในการออกแบบกราฟิกมีความเหมาะสมมาก
References
A model for promoting the potential of natural tourism in Ranong province. Journal of the Association of Researchers, Vol. 26, No. 1 January - March 2021.
Department of Cultural Promotion. (2011). 84 routes, charm, culture, Thai way of life, community connection.
Department of Local Administrative Promotion Ministry of Interior. (2011). Standards and indicators for the promotion of travel.
Dr. Yuthasak Supasorn, (2020). Governor of the Tourism Authority of Thailand presentation of directions Tourism Promotion 2020) https://www.tatreviewmagazine.com/article/tourism-direction-2020/
Maneekarn Khiewrat. (2010). Guidelines for the development of cultural tourist attractions. as a tourist route.
Preecha Daengrote. (2001). Tourism industry into the 21st century. Bangkok: Five and Printing.
Puangrat Thaweerat. (2007). Research Methods in Behavioral Sciences and Social Sciences, 6th Edition, Bangkok: Srinakharinwirot University Prasarnmit
Rutledge, A.J. (1981). A Visual Approach to Park Design. New York: Garland STPM Press.
Territory classification for Geology and Mineral Resources Management, Ranong Province, Department of Mineral Resources Ministry of Natural Resources and Environment Idea Square Limited Partnership.
Tourist Behavior. (2015). Retrieved January 10, 2015 from https://touristbehaviour. wordpress.com/8-2/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว