แนวคิดการออกแบบและการพัฒนาสติกเกอร์ไลน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
สติกเกอร์ไลน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
คำสำคัญ:
การออกแบบสติกเกอร์ไลน์, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดการออกแบบรวมถึงการพัฒนาสติกเกอร์ไลน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยเป็นงานวิจัยและพัฒนา อาศัยการรวบรวมข้อมูลจากภาคีที่เกี่ยวข้องทั้งกลุ่มอาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา ศิษย์เก่า และผู้รู้ด้านสติกเกอร์ไลน์ วิธีการวิจัยใช้แบบผสมผสาน ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้การสนทนากลุ่ม และการปฏิบัติการพัฒนา รวบรวมข้อมูลการวิจัย ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลที่ได้จากการสนทนากลุ่มและการปฏิบัติการพัฒนา จะถูกนำไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ เปรียบเทียบ และเขียนพรรณนาเชิงเหตุผล ส่วนข้อมูลจากแบบสอบถาม จะนำไปประมวลผลหาค่าความถี่และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดการออกแบบสติกเกอร์ไลน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ควรเป็นภาพการ์ตูนกราฟฟิก คละกันทั้งผู้ชายและผู้หญิง ด้านอายุ ควรเป็นวัยรุ่น อายุ 20-21 ปี หรือประมาณนักศึกษาปี 3 หรือปี 4 โดยบุคลิกภาพเน้นสดใสและสมาร์ท ด้านโทนสี ควรใช้สีม่วงเนื่องจากเป็นสีประจำคณะวิทยาการจัดการ ส่วนด้านการสื่อสาร เน้นท่าทางและคำพูดที่ใช้ในชีวิตประจำวันและชีวิตการทำงาน 2) การพัฒนาสติกเกอร์ไลน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยการปฏิบัติการพัฒนาต้นแบบสติกเกอร์ไลน์ จำนวน 3 แบบ พร้อมสำรวจความพึงพอใจจากภาคีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งพบว่าแบบที่ 3 ภาคีที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจมากที่สุด คิดเป็นค่าร้อยละ 55 จากนั้นจึงนำต้นแบบสติกเกอร์ไลน์ดังกล่าว ไปพัฒนาสติกเกอร์ไลน์เพิ่มเติมจำนวน 24 ท่า ซึ่งมีการผสมผสานระหว่างภาพ เส้น สี และตัวอักษร พร้อมดำเนินการติดต่ออัพโหลดสติกเกอร์เพื่อการจัดจำหน่าย ภายใต้ชื่อชุดไลน์ “FMS_Presenters”
References
Buzan, T. (2018). Mind map mastery: The complete guide to learning and using the most powerful thinking tool in the Universe. United Kingdom : Watkins Publishing.
Jaroenpitak, S., Tongbunkerd, K. & Saenboonsong, S. (2018). The Development of Sticker Characters on
Application LINE in Student Education. Journal of Learning Innovations, 4(1), 35-47.
Indigital. (2019, 11 February). Know before! Digital Trend 2019.https://www.indigital.co.th/digital01/.
Phanthabutr, S. (2019). A Study of Concept and Style in Character Sticker for Using on Social Media.
The journal of social communicationInnovation, 7(1), 156-167.
Sawyai, K. & Cheyjunya, P. (2016). Usage of LINE Application, Satisfaction and Capability for Bangkok Citizen. The Seminar Conference 2016, July 1, 2019, 1-13. National Institute of Development Administration.
Sri-iam, S. (2012). Student Identity Development in Higher Education Institutions. EAU Heritage Journal,
(2), 186-199.
Strategy Bureau, Electronic Transactions Development Agency, Ministry of Digital Economy and Society. (2019
January) Thailand Internet User Behavior 2019.
https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/publications/Thailand- Internet-User-Behavior 2019_Th.aspx? viewmode=0.
Thamwipat, K., Princhankol, P., Piboonnapapong, J., Patitat, C. & Pawatkungsin, T. (2015).
The Development of Sticker Characters on Application LINE Entitled “ASEAN” for Public Relations the Image of MCOT Public Company Limited. Journal of Communication and Innovation NIDA, 2(2), 155-184.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว