การออกแบบมาสคอตสำหรับฉลากสินค้าและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ สำหรับกลุ่มเครือข่ายเกษตรปลอดภัยจังหวัดตาก (พริกแกงลั่นทุ่ง) ตำบลประดาง อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก
คำสำคัญ:
การออกแบบ, ฉลากสินค้า, บรรจุภัณฑ์, พริกแกงบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการออกแบบมาสคอตสำหรับฉลากสินค้าและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ สำหรับกลุ่มเครือข่ายเกษตรปลอดภัยจังหวัดตาก (พริกแกงลั่นทุ่ง) ตำบลประดาง อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ 1) เพื่อออกแบบมาสคอตสำหรับฉลากสินค้าและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ สำหรับกลุ่มเครือข่ายเกษตรปลอดภัยจังหวัดตาก (พริกแกงลั่นทุ่ง) 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มเครือข่ายเกษตรปลอดภัยจังหวัดตาก และกลุ่มผู้บริโภค ที่มีต่อฉลากสินค้าและบรรจุภัณฑ์พริกแกงที่ได้รับการพัฒนา โดยการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน จากการสังเกต และสนทนากลุ่ม พบว่า กลุ่มชุมชนมีความต้องการในการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์พริกแกงบรรจุขวด 80 กรัม ให้มีขนาดขวดที่มีปากขวดใหญ่มากขึ้น เพื่อให้ง่ายต่อการตักพริกแกงเพื่อใช้ในการประกอบอาหาร ออกแบบฉลากและสัญลักษณ์ตัวแทนกลุ่ม (mascot character) ให้เป็นที่จดจำอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน และใช้วัสดุเป็นกระดาษสติ๊กเกอร์กันน้ำ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดเก็บในตู้เย็น และฉลากไม่เสื่อมสภาพเมื่อโดนน้ำหรือความชื้น โดยมีองค์ประกอบรายละเอียดของบรรจุภัณฑ์ครบถ้วน ผู้วิจัยได้ดำเนินการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อแก้ปัญหาให้กับกลุ่มชุมชน ซึ่งมีผลการประเมินความพึงพอใจกลุ่มเครือข่ายเกษตรปลอดภัยจังหวัดตาก ที่มีต่อฉลากสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่พัฒนาแล้ว โดยรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก ( = 4.48) ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.= 0.65) และผลการประเมินความพึงพอใจกลุ่มผู้บริโภค มีต่อฉลากสินค้าและบรรจุภัณฑ์พริกแกงลั่นทุ่งที่พัฒนาแล้ว จำนวน 100 คน โดยรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก ( = 4.12) ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.= 0.58)
References
Nirat Soodsang. (2000). Industrial design. Odeon store.
Phonsanong Wongsingthong. (2007). Product design research methodology. Cupress.
Sisikka wannajun. (2012). Bamboo Fabric, design and development to create an Identity Commercial in the north eastsouthern. Mahasarakham University
Thanthat Nanchanok. (2016). Infographic design. Witty group.
WanChanok Chomratkhom and Panita Sonuam. (2019). Packaging. SSO.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว