นวัตกรรมผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์แบบผสมผสานวัตถุดิบของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสันติภาพวังพญา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • อัปสร อีซอ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • จิราพร เกียรตินฤมล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • นันทรัตน์ นามบุรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • ณฏฐาระวี พงค์กระพันธุ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • มนัส สุทธิการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • วิโรจน์ ไพบูลย์เวชสวัสดิ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

คำสำคัญ:

นวัตกรรม, ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์แบบผสมผสานวัตถุดิบ, จังหวัดยะลา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์แบบผสมผสานวัตถุดิบของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสันติภาพวังพญา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ลักษณะเป็นงานวิจัยและพัฒนา ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม การปฏิบัติการพัฒนา และการใช้แบบสอบถาม ศึกษาจากภาคีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสันติภาพวังพญา คนกลาง  ลูกค้า  และผู้รู้ด้านงานออกแบบหรืองานศิลปะ  ผลการวิจัยพบว่า  การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์แบบผสมผสานวัตถุดิบของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสันติภาพวังพญา สามารถแบ่งการทำงานได้ 3 ขั้นตอน ดังนี้  1) การวางแผนพัฒนา  ประเภทผลิตภัณฑ์ที่เลือกพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์แบบผสมผสานวัตถุดิบ ได้แก่ กระเป๋า  โดยเสนอให้ผสมผสานวัตถุดิบเตยหนาม กับวัตถุดิบขนนกหรือกรงนก, ผ้าปาเต๊ะ และหนัง    2) การปฏิบัติการพัฒนา  ได้มีการจัดทำผลงานกระเป๋าเตยหนามสร้างสรรค์ 3 Set ดังนี้ Set “Binlala”, Set “Patical” และ Set “Banarock”  3) การสรุปผลการพัฒนา  จากการสำรวจความพึงพอใจกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย พบว่า Set “Patical” และ Set “Banarock” ลูกค้ามีความพึงพอใจโดยรวมสูงสุดเท่ากัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36

References

Boonthawan Wingwon, Atcharabhorn Wanmakok and Atchara Meksuwan.
(2014). Approach in Creating Local Wisdom with Creative Product
Innovation of Small Enterprises in Hang Chat District, Lampang
Province. Journal of Management Science Chiangrai Rajabhat
University. 9(1) : 102-119.
ThaiTambon.Com. Information about Wang Phaya Sub-district, Raman
District, Yala. [Online]. Retrieved May 11, 2020, from:
Thailand Information Center. (2020). Wang Phaya Subdistrict. [Online]. Retrieved May 11, 2020, from:
http://yala.kapook.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B
8%8D%E0%B8%B2.
Phatcharaphan Sangiamsak and Thumwimon Suksern. (2018). Customer’s
Purchasing Requirements of Creative Products from Thai Wisdom.
Journal of Management Science, Chiang Rai Rajabhat University.
4(2), 157-173.
Rosjana Chandhasa. (2015). Vetiver Handicraft Product Design. Bangkok :
Printing Press of Chulalongkorn University.
Sasiporn Taikham and Narin Sungrugsa. (2015). The Development of Creative
Product Model to Value-Added of the Small and Micro Community
Enterprisesin Ratchaburi Province. Veridian E-Journal, Silpakorn
University. 8(1), 587-611.
UNCTAD. (2008). Creative Economy Report 2008. Retrieved August 30, 2020
from http://theory.isthereason.com/p=2176.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24