การออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีทแวร์สำหรับกลุ่มนิยมความหลากหลาย ทางวัฒนธรรมจากแนวคิดศิลปะลัทธินีโอ-ดาดา
คำสำคัญ:
สตรีทแวร์, กลุ่มนิยมความหลากหลายทางวัฒนธรรม, แนวคิดศิลปะลัทธินีโอ-ดาดาบทคัดย่อ
สตรีทแวร์ (Streetwear) เป็นรูปแบบการแต่งกายที่มีความเปลี่ยนแปลงไปตามพัฒนาการของสังคมโดยเริ่มต้น
ช่วงยุค ค.ศ. 1980 ในประเทศสหรัฐอเมริกา การแต่งกายรูปแบบสตรีทแวร์ถูกพัฒนาขึ้นจากการผสมผสานอิทธิพล
ของวัฒนธรรมย่อย (Subculture) ส่งผลให้รูปแบบการแต่งกายสตรีทแวร์เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออกถึง
ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Cultural diversity) ซึ่งเป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นอยู่บนรากฐานของความเท่าเทียมและ
สิทธิหลักเสรีนิยม ที่บุคคลสามารถแสดงออกผ่านรูปแบบของการผสมผสานเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายจากหลากหลาย
วัฒนธรรมเข้าด้วยกัน ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่นิยมในตลาดแฟชั่นระดับสากล
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวทางการแต่งกายสตรีทแวร์ และ (2) การออกแบบเครื่องแต่งกาย
สตรีทแวร์ สำหรับกลุ่มนิยมความหลากหลายทางวัฒนธรรมจากแนวคิดศิลปะลัทธินีโอ-ดาด้า โดยใช้กระบวนการวิจัย
3 ขั้นตอน ได้แก่ (1) กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพด้านกลุ่มเป้าหมาย (2) กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพด้านแนวคิดการ
ออกแบบ และ (3) กระบวนการออกแบบผลงานสร้างสรรค
ผลจากการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มนิยมความหลากหลายทางวัฒนธรรม คือกลุ่มคนรุ่นวาย (Generation Y)
อายุ 22-37 ปี และรุ่นซี (Generation Z) อายุน้อยกว่า 22 ปี และ (2) แนวคิดศิลปะลัทธินีโอ-ดาดา มักมีเนื้อหา
เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน (Daily life) วัฒนธรรมสังคม (Social Culture) โดยศิลปินมักถ่ายทอด สิ่งเหล่านั้น
ออกมาอย่างเสียดสี ตลกขบขัน เป็นนามธรรม และทำให้ผู้ชมเกิดคำถามต่องานศิลปะที่รับชมอยู่ นิยมจัดองค์ประกอบ
ให้เกิดความรู้สึกขัดแย้ง (Contrasting) นิยมใช้คือเทคนิคแอสแซมบลาจ (Assemblage) และนำวัสดุสำเร็จรูปเข้ามา
เป็นส่วนประกอบของผลงาน (3) ผู้วิจัยได้นำผลสรุปจากการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายและแนวคิดการออกแบบมา
พัฒนาเป็นผลงานออกแบบสร้างสรรค์คอลเลกชั่นเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายจำนวน 5 ชุด
References
Eundeok Kim, Ann Marie Fiore, and Hyejeong Kim.
(2016). Fashion Trend Analysis
and Forecasting. 5th reprint. London:
Bloomsbury Publishing Plc.
Helen Molesworth. (2003). From Dada to
Neo-Dada and Back Again. October, 105, 177
Jim Cullen. (2003). The American Dream :
A Short History of an Idea That
Shaped a Nation. Oxford University Press.
Kerwin, L. B. (2010). Cultural Diversity : Issues,
Challenges and Perspectives.
Nova Science Publishers, Inc.
Manatsawee Srinont. (2018). Theory of Generation
and Cognitive Framework. MBU
Education Journal Faculty of Education.
Mahamakut Buddhist University.
Vol. 6 No.1 (January - June) pp.
-373
Patcha Utiswannakul. (2019). Fashion Merchandise.
Bangkok, Chula42 Printing.
Stavrinaki, M. (2016). Dada Presentism :
An Essay on Art and History.
Stanford University Press.
Stephanie Watson.(2014). Streetwear Fashion.
Lerner Publications ™.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว