การออกแบบภาพเคลื่อนไหวสื่อผสมส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าไม้ จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • สุภัทรา ลูกรักษ์ สาขาวิชาการออกแบบกราฟิกและมัลติมิเดีย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • อัครวัต สิงห์ใจชื่น ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

คำสำคัญ:

ภาพเคลื่อนไหว, สื่อผสม, การอนุรักษ์

บทคัดย่อ

การตัดไม้ทำลายป่าเป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลง ส่งผลกระทบต่างๆ เช่น สัตว์ป่าขาดแคลน
อาหารและแหล่งที่อยู่อาศัย การกักเก็บน้ำน้อยลง ต้นน้ำในการกำเนิดแม่น้ำลดลงทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำ เป็นต้น
ผลกระทบมากมายที่ตามมาส่งผลให้เกิดความแปรปรวนของสภาพดิน ฟ้า อากาศและมลภาวะที่เป็นพิษได้ หากสามารถ
นำเสนอแนวทางการออกแบบภาพเคลื่อนไหวที่ช่วยให้ผู้ชมได้รับรู้เรื่องราวของการทำลายป่าและเพิ่มความสนใจใน
การดูแลป่าไม้ให้มากขึ้น
งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบภาพเคลื่อนไหวด้วยสื่อผสมทำให้เกิดความน่าสนใจและสามารถสร้าง
ความจดจำให้กับผู้ชม นำข้อคิดเรื่องเล่าจากป่าน่านที่ถ่ายทอดเรื่องราวปัญหาของการทำลายป่าไม้เมืองน่าน ซึ่งเป็น
ต้นน้ำของแม่น้ำหลายสายในประเทศไทย โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทำลายป่าไม้ รูปแบบ
และวิธีการ รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำลายป่า จากนั้นทำการสำรวจและลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจาก
แบบสอบถาม วิเคราะห์และสรุปผลสู่กระบวนการออกแบบที่สอดคล้องกับความต้องการสร้างสรรค์งานออกแบบภาพ
เคลื่อนไหวด้วยเทคนิคแบบผสมผสานเพื่อให้เห็นถึงผลกระทบจากการตัดไม้ทำลายป่า การ เผาป่า การทำไร่เลื่อนลอย
และปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของชาวบ้านหรือจากนายทุนที่มีความ ต้องการทางธุรกิจที่ไม่คำนึงถึง
ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่จะกลับมาทำร้ายตัวเอง คนในชุมชน และประเทศชาติ
ผลการวิจัยได้เนื้อเรื่องแนวดราม่าที่นำเสนอให้เห็นปัญหาในแง่มุมของการทำลายป่าจากการตัดไม้ที่ได้จาก
ผลการวิเคราะห์ที่มากที่สุด สร้างความน่าสนใจด้วยภาพและเสียงให้ผู้ชมเกิดการจดจำ ผลกระทบจากการตัดไม้
ทำลายป่า สามารถส่งต่อเรื่องราวข้อมูลผลกระทบต่อการตัดไม้ทำลายป่าและช่วยกันอนุรักษ์ป่าต่อไปได้

References

Banthoon Lamsam. (2019). From Bald Mountain
To the Sustainable Forest(nan sandbox).
Retrived April 10, 2020, from https://bit.ly/
2vsIHxW
Retrived April 30, 2020, from https://www.
nstda.or.th/en/nstda-knowledge/3016-animation
National Science and Technology Development
Agency(NSTDA). (2012). Animation.
Bloggang. (2010). Creating illustrations in design.
Retrieved May 3, 2020, from
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?
id=dinhin&month=09- 2010 & date = 06
& group = 1 & gblog = 3
Character design. (2012). Character design from
the giant story. Retrieved on 13 May 2020,
from the website: http://wanyarat-arti3901.
blogspot.com

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-01

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ