การพัฒนาสื่อกราฟิกเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยหญ้าแฝก
คำสำคัญ:
หญ้าแฝก, การอนุรักษ์ดินและน้ำ, กราฟิกเคลื่อนไหวบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องการพัฒนาสื่อกราฟิกเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยหญ้าแฝก มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อพัฒนาสื่อกราฟิกเคลื่อนไหว (Motion Graphic) ) ในการนำเสนอความรู้เกี่ยวกับหญ้าแฝกในด้านการอนุรักษ์
ดินและน้ำ 2) เพื่อให้ความรู้เรื่องหญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำสำหรับกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัย
เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการในองค์ความรู้เรื่อง
การอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยหญ้าแฝก ความต้องการในงานกราฟิกเคลื่อนไหว (Motion Graphic) ในเรื่องการอนุรักษ์ดิน
และน้ำด้วยหญ้าแฝก แบบสัมภาษณ์เพื่อประเมินคุณภาพงานกราฟิกเคลื่อนไหว (Motion Graphic) ในเรื่องการอนุรักษ์ดิน
และน้ำด้วยหญ้าแฝกสำหรับผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่าข้อมูลด้านเนื้อหาที่กลุ่มเป้าหมายต้องการทราบในงานกราฟิก
เคลื่อนไหว คือเนื้อหาที่กล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเห็นประโยชน์ของหญ้าแฝก มากที่สุด
เป็นอันดับ 1 คือ ร้อยละ 44 ข้อมูลด้านประโยชน์ที่กลุ่มเป้าหมายคาดว่าจะได้รับจากการชมสื่อกราฟิกเคลื่อนไหว
คือ ความรู้เรื่องหญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ร้อยละ 32 องค์ประกอบในงานกราฟิก
เคลื่อนไหวที่กลุ่มเป้าหมายสนใจ พบว่า ด้านภาพประกอบ มากที่สุด ร้อยละ 64 ลักษณะของคาแรกเตอร์ ที่กลุ่ม
เป้าหมายต้องการ พบว่า คาแรกเตอร์ที่มีการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ มากที่สุด ร้อยละ 76 การนำเสนอเน้นประเด็น
ของการสูญเสียเนื้อดินและน้ำในพื้นดินหายไป เน้นความรู้เรื่องหญ้าแฝก ตัวการพังทลายของดิน ฯลฯ เนื้อหาที่สื่อให้
ดูรวบรัด เข้าใจง่ายๆและครอบคลุมข้อมูล ตัวละครที่ใช่ในงานมีสัดส่วนปกติหรือสัดส่วนคล้ายมนุษย์ ตัวละครจะมี
การแต่งกายให้เหมาะสมกับอาชีพของตัวละครให้เป็นจุดเด่น ใช้โทนสีสว่างและสีธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่
ส่วนผลการประเมินความเหมาะสมและแนวทางการพัฒนาปรับปรุงจากผู้เชี่ยวชาญ มีประเด็นหลักๆ คือ 1. การดำเนิน
เรื่องมีความเหมาะสม 2. การนำเสนองานมีความสอดคล้องเนื้อหา 3. ภาพประกอบ สัญลักษณ์ต่างๆสื่อความหมาย
ได้ดี 4.เนื้อหา การบรรยาย เข้าใจดี 5. คุณภาพงาน พบว่า มีความเหมาะสมในเกณฑ์ดีทั้ง 5 ประเด็นหลัก แต่ควร
ปรับปรุงประเด็นที่ 3 คือ เสียงบรรยาย ควรอ่านออกเสียงให้ชัดเจน
References
Vetiver Grass to Improve the compact
Bangkok Biz News (2019). Stop Soil Erosion.
Retrieved 20 th August 2019 from
Hard-pan Soil for growing Plant in
Accordance with His Majesty’s Initiative
; Journal of the Association of Researcher.
Vol.18 No. 2
https://www.bangkokbiznews.com/pr/
detail/61906
J. Sakurada (2015). Basic Infographic. Bangkok:
IDC Premier.
National Economic and Social Development
Board (2017). 12th National Economic
and Social Development Plan. Retrieved
3 th May 2019 from
https://www.nesdb.go.th/download/plan12
Somchok Naemthaisong et.al (2018).
Development of Motion Graphics to
Prevent Obesity
in Child age 6-12 Case study : Wat Donsaloa
School. Journal of Management Science
Nakhon Pathom Rajabhat University.
Vol.5 No. 1
Suvit Pumprasertchok (2012). The New
Generation Farmers VS The Future
Generation Farmers. Research
Community Vol.18 No. 105
Tichaporn Namwong (2017). A Design of
Infographic for Developing Creative
Thinking.
Veridian E-Journal, Science and Technology
Silpakorn University. Vol.4 No. 4
Knowledge/View/19
Office of Royal Development Projects Board
(2019). Vetiver Grass. Retrieved 20 th August
2019 from http://km.rdpb.go.th/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว