การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการท่องเที่ยวเยาวราชยุคใหม่
คำสำคัญ:
การออกแบบกราฟิก, สื่อสิ่งพิมพ์, เยาวราชยุคใหม่บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวเยาวราชสมัยใหม่ มีวัตถุประสงค์
เพื่อหาแนวทางในการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวในย่านถนนเยาวราชที่มีเอกลักษณ์
และเข้ากับยุคสมัย ซึ่งเยาวราชถือเป็นที่อยู่อาศัยของชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย นอกจาก
แหล่งการค้าที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจแล้ว เยาวราชยังถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นรู้จักทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ
อีกทั้งได้รับการขนานนามว่าไชน่าทาวน์ของเมืองไทย งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสม ดำเนินการวิจัยโดยการเก็บข้อมูล
ด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มประชากรซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ ช่วงอายุระหว่าง 21-35 ปี จำนวน 100 คน
และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกราฟิก จำนวน 5 คน
ผลวิจัยจากการเก็บข้อมูลความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวพบว่า 1) เอกลักษณ์ภาพของเยาวราชที่นักท่องเที่ยวนึกถึง
คอื ตวั อกั ษรจนี 2) จดุ เดน่ ของเยาวราชทนี่ กั ทอ่ งเทยี่ วนกึ ถงึ มากทสี่ ดุ คอื สตรที ฟดู 3) สแี ดง คอื สที นี่ กั ทอ่ งเทยี่ วนกึ ถงึ
เมื่อกล่าวถึงเยาวราช 4) ภาพประกอบจากคอมพิวเตอร์ สามารถดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยวได้มากที่สุด ผลวิจัยเกี่ยวกับ
องค์ประกอบทางการออกแบบและหลักการในการออกแบบพบว่า 1) โทนสีที่เหมาะสมในการนำไปใช้ออกแบบคือ
สีร้อนในโทนแดง 2) รูปแบบกริดในการจัดวางที่เหมาะสม คือ เมนูสคริปต์กริด (Manuscript Grid) 3) ตัวอักษรสำหรับ
หัวเรื่อง คือ ตัวอักษรไม่มีเชิง (San-serif) 4) ตัวอักษรสำหรับเนื้อความ คือ ตัวอักษรมีเชิง (Serif)
References
Real fan 2003.
Prachid Tinbut. (1996). Graphic design. Bangkok :
O. Printing House
Araya Srikalayanabutr (2007). Publications Design.
Bangkok: Viscom Center.
Van Roy, Edward. Sampheng: Bangkok's Chinatown
Inside Out. Bangkok: Asian Studies
Institute of Chulalongkorn University, 2007
Wikipedia Yaowarat. (2561) History, Retrieved
22 September 2018 from
https://en.wikipedia.org/wiki Yaowarat Road,
Department of Educational Technology,
University
Ramkhamhaeng. (2013) Primary color and cycle.
Retrieved October 9, 2018 from
https://krittayakorn.wordpress.com/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว