การออกแบบร้านค้าขนาดเล็กเพื่อส่งเสริมการขายร้านขนมของฝากรินขนมไทยจังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
การออกแบบ, คีออส, ขนมริน, ขนมของฝากฉะเชิงเทราบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการออกแบบคีออสเพื่อส่งเสริมการขายร้านขนมของฝากรินขนมไทยจังหวัดฉะเชิงเทรานี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการออกแบบคีออสให้มีความเหมาะสมกับภาพลักษณ์ขององค์กร โดยการวิจัยนี้ได้
ทำการสร้างต้นแบบของคีออสของร้านขนมของฝากรินขนมไทยให้เกิดเอกลักษณ์องค์กรและเพิ่มยอดขายของสินค้า
ภายในร้านขนมของฝากมากขึ้น รวมถึงการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนระหว่างองค์กรกับกลุ่มเป้าหมาย โดย
ทำการออกแบบคีออสเคลื่อนที่ จำนวน 1 แบบ และออกแบบคีออสถาวร จำนวน 1 แบบ ขนาดพื้นที่ 6x3 เมตร กลุ่ม
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยผู้ประกอบการ พนักงานของร้านขนมของฝาก ผู้บริโภคในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา
และนักท่องเที่ยว โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน
100 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามและประเมินความพึงพอใ จ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ
1) ด้านความคิดสร้างสรรค์ 2) ด้านหน้าที่ประโยชน์ความสะดวกในการนำไปใช้ 3) ด้านความเหมาะสม สามารถนำไป
ผลิตจริงได้ และ 4) ด้านการออกแบบ ความสวยงาม แล้วนำผลการประเมินมาสรุป วิเคราะห์ หาผลโดยการ หาค่าเฉลี่ย
ค่าร้อยละและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการสรุปผลการวิจัยพบว่าผลงานออกแบบต้นแบบคีออสเพื่อส่งเสริมการ
ขายร้านขนมของฝาก รินขนมไทยจังหวัดฉะเชิงเทรา มีผลทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับความพึงพอใจในระดับมาก ที่สามารถ
แสดงถึงภาพลักษณ์ เอกลักษณ์ขององค์กร สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้ให้ความชัดเจน น่าสนใจ สามารถที่จะนำไป
พัฒนาต่อการส่งเสริมการขายให้เกิดการขยายตัวของสินค้าของฝากได้ต่อไป
References
Muban Chombueng Rajabhat University.
Hanington, B., & Martin, B. (2012).
Universal Methods of Design: 100 Ways to
Research Complex Problems, Develop
Innovative Ideas,and Design Effective
Solutions: Rockport Publishers.
Karwowski, W., Soares, M. M., & Stanton,
N. A. Human Factors and Ergonomics in
ConsumerProduct Design: Uses and
Applications: CRC Press.
Tangcharoen, W. (1983). Design. Bangkok : Visual
Art Publishing.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว