การศึกษาระดับความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสื่อดิจิทัล ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับความรู้ในการใช้เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร 2. ศึกษาระดับความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร 3. เปรียบเทียบความแตกต่างลักษณะทางประชากรของผู้สูงอายุความรู้และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสื่อดิจิทัล 4. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร
เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครจำนวน 400 ตัวอย่าง ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่าง ทดสอบความแปรปรวน และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
ผลวิจัยพบว่าความรู้ระดับต้นด้านอุปกรณ์อยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยรวม 0.92 ด้านการเชื่อมต่อออนไลน์อยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยรวม 0.79 ความรู้ระดับกลางด้านอุปกรณ์อยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ย 0.70 ด้านการเชื่อมต่อออนไลน์อยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยรวม 0.66 ความรู้ระดับสูงด้านอุปกรณ์อยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ย 0.79 และด้านการเชื่อมต่อออนไลน์อยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยรวม 0.57
ความสามารถระดับต้นด้านอุปกรณ์อยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย 2.77 ด้านการเชื่อมต่อออนไลน์อยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ย 2.21 ความสามารถระดับกลางด้านอุปกรณ์อยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ย 2.31 ด้านการเชื่อมต่อออนไลน์อยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ย 2.13 ความสามารถระดับสูงด้านอุปกรณ์อยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ย 2.21 ด้านการเชื่อมต่อออนไลน์อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 1.75
ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า อายุ การศึกษา รายได้ อาชีพ ที่แตกต่างกันมีผลต่อความรู้ความสามารถด้านการใช้อุปกรณ์และการเชื่อมต่อออนไลน์ ความรู้และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
ข้อความและความเห็นในวารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ของคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์.(2561). สถิติผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560. สืบค้นจาก http://www.dop.go.th/ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2561.
กวีพงษ์ เลิศวัชรา และคณะ. (2555). การศึกษาปัญหาการเรียนรู้เทคโนโลยีของผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ และ ฐิติมา สิทธิพงษ์พานิช. (2561). การศึกษาการรู้ดิจิทัลของผู้สูงอายุเพื่อเตรียมพร้อมสู่ประเทศไทย 4.0.(รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
จารุวรรณ พิมพ์ค้อ และสมาน ลอยฟ้า. (2552). การใช้และความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ขอนแก่น: คณะศิลปศาสตร์สาขาการจัดการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ.2561-2580). สืบค้น จาก https://www.etda.or.th/content_files/2/files/05_Thailand_Digital_Plan.pdf. วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564.
ปฐม อินทโรดม. (2562). Please Mind The Digital Gap ประชากรดิจิทัลไทยในชายขอบ. สืบค้นจาก https://brandinside.asia/opinion-please-mind-the-digital-gap/. วันที่ 20 มีนาคม 2564.
ประทุม ฤกษ์กลาง.(2553).ระเบียบวิธีวิจัยการสื่อสาร.ปทุมธานี.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. น.105.
แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สืบค้นจาก https://www.dop.go.th วันที่ 15 กรกฎาคม 2564.
พนม คลี่ฉายา. (2563). การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุและข้อเสนอเพื่อการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุไทย. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เพ็ญนรินทร์ สาตรจำเริญ. (2549). การศึกษาทัศนะของผู้สูงอายุ ต่อการเป็นผู้สูงอายุที่ยังประโยชน์ : กรณีศึกษาชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร .กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย (2557). สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ สืบค้นจาก http://service.nso.go.th วันที่ 15 สิงหาคม 2561.
เลิศหญิง หิรัญโร. (2545). รูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการบริโภคสินค้าและบริการของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรรณรัตน์ รัตนวรางค์. (2558). พฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตเพื่อหาข้อมูลสุขภาพของผู้สูงอายุในเขต กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เสกสรร ทายะรังสี. (2560). รูปแบบการใช้ประโยชน์จากโทรศัพท์มือถือในชีวิตประจำวันของกลุ่มรถรับจ้างสี่ล้อแดงในจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการสื่อสาร). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). สืบค้นจาก http://www.ipsr.mahidol.ac.th วันที่ 15 สิงหาคม 2561.
Meire Cachion, Elderly online: Effects of a digital inclusion program in cognitive performance. Archives of and Geriatrics. Volume 53, Issue 2, September–October 2011, Pages 216-219. Retrieve from https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0167494310002852
Rogers, E. M. (2003). Diffusion of innovations (5th ed.). New York: Free Press.
Schiffman, Leon G. & Joseph L. Wisenblic. (2019). Consumer Behavior. 12 th ed. St.John’s University, New York City: Pearson.