พฤติกรรมเสพติดสื่อสังคมออนไลน์และพฤติกรรมเลียนแบบจากสื่อสังคมออนไลน์กับภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล

Main Article Content

ภคมณฑน์ สาสะตานันท์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโมเดลความสัมพันธ์ของพฤติกรรมเสพติดสื่อสังคมออนไลน์ พฤติกรรมการเลียนแบบจากสื่อสังคมออนไลน์ และภาวะสุขภาพจิตของวัยรุ่น เพื่อให้ทราบถึงอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยดังกล่าวที่มีต่อภาวะสุขภาพจิตของวัยรุ่นซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ


            กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเอกชนเขตกรุงเทพและปริมณฑลจำนวน 311 คน ใช้แบบสอบถามแบบให้ผู้ตอบประเมินตนเอง(Self-Rating Questionnaire) ได้แก่ 1)ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเสพติดสื่อสังคมออนไลน์ 3) พฤติกรรมการเลียนแบบจากสื่อสังคมออนไลน์ และ 4) แบบคัดกรองภาวะสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง   


ผลการศึกษาพบว่าสมการโครงสร้างที่ปรับแล้วมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และมีดัชนีความสอดคล้องอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ พบว่าพฤติกรรมเสพติดสื่อสังคมออนไลน์ และพฤติกรรมการเลียนแบบจากสื่อสังคมออนไลน์ มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตของกลุ่มตัวอย่าง ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรตระหนักถึงความสำคัญของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพจิตของวัยรุ่นได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2559). งานสมัชชาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี 2559. ข่าวเด่น, 22สิงหาคม 2559. สืบค้นจากhttp://dcy.go.th/webnew/ main/ news_view. php?id=1179.

ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย. (2554). อิทธิพลของสื่อต่อวัยรุ่นไทย. [online]. Available : http:// www.rcpsycht.org/cap/book03_14.php .

ชิดชนก ผิวงาม. (2007). ความคิดเห็นของวัยรุ่นต่ออิทธิพลของการนำเสนอภาพแฟชั่นในนิตยสารวัยรุ่นที่ทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบการแต่งกายวารสารศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการการสื่อสารภาครัฐและเอกชน) สาขาการจัดการการสื่อสารภาครัฐและเอกชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชิตาภา สุขพลำ. (2548). การสื่อสารระหว่างบุคคล. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์

ดวงใจ วัฒนสินธุ์. (2559). การป้องกันภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น: จากหลักฐานเชิงประจักษ์สู่การปฏิบัติ Prevention of Adolescent Depression: From Evidence to Practice. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา,24(1), 1-12.

ณัฐวุฒิ อรินทร์. ( 2558). สภาวะปัญหาสุขภาพจิต และทัศนคติต่อการขอรับความช่วยเหลือทางด้านจิตใจจากนักวิชาชีพสุขภาพจิตของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วารสาร จิตวิทยาคลินิก46(1).

ผลวิจัยชี้ 'อินสตาแกรม' บั่นทอนจิตวัยรุ่นมากสุด. กรุงเทพธุรกิจ มีเดีย จำกัด (19 พฤษภาคม 2560). Available: http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/755632

พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์. (2561). สื่อสังคมออนไลน์: สื่อแห่งอนาคต Social Media: Future Media. [Online]. Available : https: //www.bu.ac.th/ knowledgecenter/ executive_journal/ oct_dec_11/pdf/ aw016. Pdf.

เยาวชนไทยกับสื่อออนไลน์ รู้เท่าทันก่อนสายเกินไป. (2557) สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ (4 เมษายน พ.ศ. 2557) Available: http://icgp.thaissf.org.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย และพิมพ์มาศ ตาปัญญา. (2541). การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. วารสารสวนปรุง, 13, (3).

หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ. (2553). หวั่นวัยรุ่นเลียนแบบพฤติกรรม(วันที่ 09 ธันวาคม 2553). [Online]. Available: http://www.thaihealth.or.th

อภิชัย มงคล และคณะ. (2552). ดัชนี้ชี้วัดความสุขคนไทยฉบับสั้นหรือดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย (Thai Mental Health Indicator TMHI-15: ฉบับใหม่). รายงานการวิจัย.

อภิชัย มงคลและวัชนี หัตถพนม. (2545). ดัชนีวัดสุขภาพจิตคนไทย Thai Mental Health Indicators (TMHI – 66) โครงการจัดทําโปรแกรมสําเร็จรูปในการสํารวจสุขภาพจิตในพื้นที่ปีพ.ศ.2545. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

Boon, S. D., & Lomore, C. D. (2001). Admirer‐celebrity relationships among young adults. Human Communication Research, 27(3), 432-465.

Dube, Dabi-Elle. “Internet, social media addiction linked to mental health risks: study.” Health. Global News, 9 Sept. 2016. Web. 20 Jan. 2017.Available: http:// globalnews.ca/news/2948555/internet-social-media-addiction-linked-to-mental-health-risks-study.

Ekaterina, G. S. , Anvar, N. K., Daria, P. K.,( 2017). Internet-Addiction of Adolescents: Diagnostic Problems and Pedagogical Prevention in the Educational Environment. EURASIA J. Math., Sci Tech,13(8), 5261–5271.DOI: https://doi.org/10.12973/eurasia.2017.01001a.

Hair, J., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). Upper saddle River, New Jersey: Pearson Education International.

Karl, H. Schlag. (2011). Imitation and Social Learning . Encyclopaedia of the Sciences of Learning.

Schumacker, R. E.,& Lomax, R. G. (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling. (3rd Edition). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Valkenburg, P. M., & Peter, J. (2009). Social consequences of the Internet for adolescents: A decade of research. Current Directions in Psychological Science, 18(1), 1-5.

Young KS. (1996). Internet addiction: The emergence of a new clinical disorder. 104th annual meeting of the American Psychological Association; August ,11; Toronto, Canada.