แบบจำลองธุรกิจสินค้าความงามยุคดิจิทัลภายใต้กรอบจริยธรรม

Main Article Content

ศิริพร วณามี
บุหงา ชัยสุวรรณ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์ภายนอกของธุรกิจสินค้าความงามยุคดิจิทัล 2) เพื่อศึกษาจริยธรรมในธุรกิจสินค้าความงาม และ 3) เพื่อจัดทำแบบจำลองธุรกิจสินค้าความงามยุคดิจิทัลภายใต้กรอบจริยธรรม


โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพจากการวิจัยเอกสาร ได้แก่ เอกสาร เว็บไซต์ผู้รวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูล เว็บไซต์ผู้ประกอบการหลัก และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ประกอบการธุรกิจสินค้าความงาม, ตัวแทนจำหน่ายธุรกิจสินค้าความงาม และผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจสินค้าความงามและการสื่อสารการตลาด


ผลการวิจัยพบว่า หลังเหตุการณ์การตกต่ำของธุรกิจสินค้าความงามออนไลน์ด้านภาพลักษณ์ ที่ทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจต่อธุรกิจและคุณภาพสินค้า ในช่วงปี พ.ศ. 2561 และวิกฤตการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปีพ.ศ. 2562 พบว่าปัจจุบัน ธุรกิจสินค้าความงามยุคดิจิทัลที่ยังดำเนินธุรกิจอยู่ได้  สามารถแบ่งตามแบบจำลองธุรกิจได้ 4 แบบ ดังนี้ 1) แบบมุ่งเน้นสร้างตราสินค้า 2) แบบมุ่งเน้นการจัดจำหน่าย 3) แบบมุ่งเน้นการจัดจำหน่ายผ่านระบบตัวแทนจำหน่าย 4) แบบมุ่งเน้นการลงทุน โดยแบบจำลองเหล่านี้มีความเชื่อมโยงและพึ่งพากัน และผู้ประกอบการสามารถปรับแบบจำลองได้ตามสภาพการณ์ธุรกิจที่เผชิญ โดยมีหลักจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจเป็นกลยุทธ์แฝงในแต่ละองค์ประกอบของแบบจำลองธุรกิจทั้ง 4 แบบจำลอง เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจอยู่รอดและผ่านพ้นความเปลี่ยนแปลงของสภาพการณ์ภายนอกธุรกิจได้

Article Details

บท
Research Article

References

จินตนา บุญบงการ. (2544). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น

ชนิกานต์ โห้ไทย. (2563). การชำระเงินดิจิทัล...ทางเลือกหลักของคนไทยในยามวิกฤต Covid-19. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Article_8Mar2021.pdf

ชัยสิทธิ์ อนุชิตวรวงศ์ และอติเดช พงศ์หว่าน. (2563). Green Recovery เส้นทางและโอกาสสู่การเติบโตที่ยั่งยืน. สืบค้นจาก https://krungthai.com/Download/economyresources/EconomyResourcesDownload_620Research_Note_10_11_63.pdf

เชือด “กาละแมร์” รีวิวอาหารเสริม โอ้อวดเกินจริง กินแล้วเหนียงหาย จมูกเข้ารูป. (2564, 18 มกราคม). มติชนออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2534774

ตวงพร สิงห์โต. (2564). งานศึกษาสถานการณ์และรูปแบบการนำการค้าออนไลน์มาใช้ในวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดย่อยของประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20210329184540.pdf

ธันยวิช วิเชียรพันธ์. (2557). สื่อดิจิทัลกับการดำรงชีวิต. กรุงเทพฯ: วังอักษร.

นันฑริกา เครือสา. (2563). พฤติกรรมการซื้อสินค้าและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลผิวแบรนด์ เดอ ลีฟ ของลูกค้าในกรุงเทพมหานคร. ในการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 ปีการศึกษา 2563, หน้า 206-220.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2552). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลกรุ๊ป.

บรรจง รัตนเลิศ. (2555). จรรยาบรรณในการขาย (Ethics in selling). สืบค้นจาก http://e-learning.etech.ac.th/learninghtml/7697/11_01_00.html

รัชนีกร ตรีสมุทรกุล. (2558). นวัตกรรมโมเดลธุรกิจอุตสาหกรรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรบรรเทาปวด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

วรรณเพ็ญ มูลสุวรรณ. (2559). การขาดจริยธรรมในการดำเนินงานขององค์การธุรกิจ. วารสารรัชต์ภาคย์, 10(19), 23-34.

วิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์. (2556). การพัฒนาแนวทางปฏิบัติด้านจริยธรรมของนักธุรกิจในจังหวัดสงชลา (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา.

วิลาสินี สงวนวงษ์. (2557). การรับรู้ข่าวสารการตลาดและการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางของคนรุ่นใหม่เพศหญิงผ่านกูรูความงาม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

วีระยุทธ รัชตเวชกุล (2563). จริยธรรมในการดำเนินธุรกิจชุมชนของกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายที่ได้รับการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดขอนแก่น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 10(1), 92-100.

ศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ. (2559). ศักยภาพในการแข่งขันและความพร้อมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(1), 9-33.

ศุภนารี พิรส, และธรรศนวัตร์ ไชยเยชน์. (2565). จริยธรรมทางธุรกิจที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อยเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจนเนอเรชั่นวายในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 4(1), 1-17.

สุภางค์ จันทวานิช. (2545). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสรี วงษ์มณฑา. (2547). ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

หรรษมน เพ็งหมาน (2559). จริยธรรมทางธุรกิจเพื่อความยั่งยืนของธุรกิจค้าปลีก. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(1), 815-828.

อภิรัฐ ตั้งกระจ่าง และบัณฑิต ผังนิรันดร์. (2546). จริยธรรมทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

อมลณัฐ พวงชาวนา และคณะ. (2558). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในเขตกรุงเทพมหานคร. RSU Journal, 16(1), 153-162.

อุไรพร ชลสิรุ่งสกุล. (2554). Digital Marketing ไอเดียลัดปฏิวัติการตลาด. กรุงเทพฯ: กรุงเทพธุรกิจ.

Baghdadi, Y. (2013). From e-commerce to social commerce: A framework to guide enabling cloud computing. Journal of Theoretical and Applied Electronic Commerce Research, 8(3), 12–38.

Euromonitor International. (2022). Consumer Health in Thailand: October 2022. Retrieved from https://www.euromonitor.com/consumer-health-in-thailand/report.

Hajli, M. (2012). A research framework for social commerce adoption. Information Management & Computer Security, 21(3), 144–154.

Han, Y. & Hong, S. (2019). The impact of accountability on organizational performance in the U.S. federal government: The moderating role of autonomy. Review of Public Personnel Administration, 39(1), 3-23.

McMurrian, R. C., & Matulich, E. (2006). Building customer value and profitability with business ethics. Journal of Business & Economics Research (JBER), 4(11). https://doi.org/10.19030/jber.v4i11.2710

Nalisa (2564). ตลาดความงาม: ยุคที่คนต้องใส่หน้ากาก แต่หยุดสวยไม่ได้จริงๆ. สืบค้นจาก (https://marketeeronline.co/archives/212053

Ogbari et al. (2016). Entrepreneurship and business ethics: Implications on corporate performance. International Journal of Economics and Financial Issues, 6(3), 50-28.

Osterwalder, A. & Pigneur, Y. (2014). Business model canvas. Hoboken, New Jersey: Wiley.

The Standard Team. (2561). สรุปกรณี เมจิก สกิน ใช้คนดังสร้างความเชื่อ อวดอ้างเกินจริง สร้างความเสียหายกว่า 100 ล้านบาท. สืบค้นจาก https://thestandard.co/conclude-magic-skin/)

Turban, E., Strauss, J. and Lai, L. (2015). Social commerce marketing, technology and management. New York: Springer.