การเปรียบเทียบทัศนคติเชิงบวกต่องานศิลปะ ก่อนและหลังที่รู้ว่าสร้างสรรค์โดยปัญญาประดิษฐ์

Main Article Content

เหมือนฝัน คงสมแสวง
สริยาภา คันธวัลย์
อังศุมาริน สุชัยรัตนโชค

บทคัดย่อ

การศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติเชิงบวกต่องานศิลปะก่อนและหลังที่ผู้รับสารรู้ว่าสร้างสรรค์โดยปัญญาประดิษฐ์ เป็นการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้น แบบ One Group Pretest-Posttest Design กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับสารในกรุงเทพมหานคร อายุระหว่าง 19-59 ปี ไม่มีทักษะในการสร้างสรรค์งานศิลปะ และมีประสบการณ์การรับชมงานศิลปะในระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 30 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างไม่อาศัยความน่าจะเป็น โดยอิงความสะดวก ซึ่งมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือ


ผลการวิจัยพบว่า ทัศนคติต่องานศิลปะของกลุ่มตัวอย่างก่อนรับรู้ว่าสร้างสรรค์โดยปัญญาประดิษฐ์ มีทัศนคติเชิงบวกต่องานศิลปะในระดับมากกว่าหลังรับรู้ ซึ่งทัศนคติเชิงบวกในประเด็นต่าง ๆ ลดระดับลงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ ตัวแปรเพศไม่มีผลทำให้เกิดความแตกต่างของทัศนคติ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับศิลปะพึงวางแผนการสื่อสารผ่านองค์ประกอบของการสื่อสารเพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ในพื้นที่ศิลปะอันจะส่งผลไปยังการพิจารณาความงามและทัศนคติต่องานศิลปะที่สร้างสรรค์โดยปัญญาประดิษฐ์ ส่วนศิลปินที่เป็นมนุษย์ก็สามารถช่วยให้วงการศิลปะเกิดสันติได้โดยให้การยอมรับงานศิลปะที่สร้างสรรค์โดยปัญญาประดิษฐ์รวมทั้งผู้รับสารก็พึงพิจารณางานศิลปะอย่างเป็นกลางและระมัดระวังมากยิ่งขึ้นมิให้การที่ปัญญาประดิษฐ์เป็นผู้สร้างผลงานศิลปะเป็นตัวแปรมีผลต่อทัศนคติอย่างมีนัยสำคัญ

Article Details

บท
Research Article

References

กิติมา สุรสนธิ, ศุภกิจ แดงขาว และอนงค์ลักษณ์ สมแพง. (2557). ความรู้ทางการสื่อสาร (Introduction to Communication) ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชลูด นิ่มเสมอ. (2557). องค์ประกอบของศิลปะ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ตติยา วิชัยดิษฐ. (2563). จริงหรือไม่ที่ Google กำลังสร้าง AI ให้กลายเป็น Skynet#12 AI Dreams. สืบค้นจาก www.repaythailand.com/artificial-intelligence/จริงหรือไม่ที่-google-กำลังสร-12

วัชชิรานนท์ ทองเทพ. (2565). อะไรคือข้อถกเถียงในวงการศิลปะจาก AI หลังกระแส Midjourney. สืบค้นจาก www.bbc.com/thai/articles/c1rexy9d7nyo

วารี ฉัตรอุดมผล. (2551). ศิลปะเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิรัช ลภิรัตนกุล. (2526). การประชาสัมพันธ์ระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิลปวัฒนธรรม. (2561). ภาพวาดโดยระบบคอมพิวเตอร์ (AI) จะถูกประมูลครั้งแรก เพิ่มคุณค่าหรือโลกศิลป์ถูกคุกคาม? สืบค้นจาก www.silpa-mag.com/news/article_21460

สกนธ์ ภู่งามดี. (2548). ศิลปะปริทัศน์. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2561). สารกับการสื่อความหมาย. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

เหมือนฝัน คงสมแสวง. (2562). Media creation. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

อาศิรา พนาราม. (2559). “ปัญญาประดิษฐ์” ความฝันวัยเด็ก หรือฝันร้ายของโลกอนาคต. ใน Creativities Unfold 2016, Exit to the new reality (น. 60-67). กรุงเทพฯ: ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC).

ฮักซ์ลีย์, เจ., โบรโนว์สกี, เจ., แบร์รี, เจ., และ ฟิชเชอร์, เจ. (2540). วิวัฒนาการแห่งความคิด: ภาคมนุษย์ และโลก. (จุฑาทิพย์ อุมะวิชนี, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (ต้นฉบับ พิมพ์ปี 1966).

allCreativeTeam. (2562). อยู่รอดอย่างไรในยุค 4.0 : ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์. สืบค้นจาก www.allmagazineonline.com/อยู่รอดอย่างไรในยุค-4-0/

TUL. (2559). วิเคราะห์สถานการณ์ศิลปะร่วมสมัยในสังคมไทย. สืบค้นจากwww.artbangkok.com/?p=6238

Dignum, V. (2018). Responsible artificial intelligence: designing AI for human values. ITUJournal ICT Discoveries, 1(1), 1-8.

Faggella, D. (2019). Putting the art in artificial intelligence with creative computation – A conversation with Phillipe Pasquier. Retrieved from emerj.com/ai-podcast-interviews/putting-the-art-in-artificial-intelligence-with-creative-computation-a-conversation-with-phillipe-pasquier/

Fast, E., & Horvitz, E. (2017). Long-term trends in the public perception of artificial intelligence. The Thirty-First AAAI Conference on Artificial Intelligence (AAAI-17) from February 4-9, 2017. 963-969.

GHERHEȘ, V. (2018). Why are we afraid of artificial intelligence (AI)? European Review of Applied Sociology, 11(17), 6-15.

Holder, C., Khurana, V., & Watts, M. (2018). Artificial intelligence: Public perception, attitude and trust. London: Bristows LLP.

Krefetz, N. (2019). The state of machine learning and AI. Streaming media industry sourcebook 2019, 16(2), 68-72.

Lant, K. (2017). Art by computers: how artificial intelligence will shape the future of design. Retrieved from 99designs.com/blog/design-history-movements/artificial-intelligence/

Lazar, I. (2019). Benefits of artificial intelligence in communication. Retrieved from searchunifiedcommunications.techtarget.com/tip/Benefits-of-artificial-intelligence-in-communication

Littlejohn, S. W., & Foss, K. A. (2005). Theories of Human Communication (8th ed.). Canada: Thomson Wadsworth.

Mántaras, R. L. (2019). Artificial Intelligence and the arts: Toward computational creativity. Retrieved from www.bbvaopenmind.com/en/articles/artificial-intelligence-and-the-arts-toward-computational-creativity/

Medosch, A. (2005). Technological Determinism in Media Art. MA Interactive Digital Media Brighton, UK: Sussex University.

Wissing, B. G., & Reinhard, M. (2018). Individual differences in risk perception of artificial intelligence. Swiss Journal of Psychology, 77(4), 149–157.