การวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยการสื่อสารการตลาดและส่วนประสมการตลาดที่พยากรณ์พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์หมูยอของลูกค้าในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ปณิสญา อธิจิตตา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยการสื่อสารการตลาด  ปัจจัยส่วนประสมการตลาด พฤติกรรมการซื้อ 2) ศึกษาองค์ประกอบปัจจัยที่พยากรณ์พฤติกรรมการซื้อ และ 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์หมูยอของลูกค้าในจังหวัดอุบลราชธานีจำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์


การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย คือ ลูกค้าที่เคยซื้อหมูยอของร้านต่าง ๆ ภายในจังหวัดอุบลราชธานี อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 385 คน ใช้การวิเคราะห์ประมวลผลทางสถิติโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้ค่าสถิติเชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณ (Multiple Regression) เพื่อค้นหาตัวแปรพยากรณ์ที่ดีที่สุดที่ทำนายพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์หมูยอของลูกค้าในจังหวัดอุบลราชธานี ผลการศึกษาพบว่า การจัดกิจกรรมทางการตลาด (X5) ด้านราคา (X8) สื่อออนไลน์ สื่อใหม่ ที่บุคคลอื่นแนะนำร้าน สื่อบุคคลออนไลน์ (X3) สถานที่จัดจำหน่าย (X9) การส่งเสริมการขาย (X6) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์หมูยอของลูกค้าในจังหวัดอุบลราชธานี (Y) และเมื่อพิจารณาผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ พบว่า โมเดลที่ดีที่สุดของการพยากรณ์ทั้ง 5 ตัวแปร ร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์หมูยอของลูกค้าในจังหวัดอุบลราชธานี ได้ร้อยละ 31.20

Article Details

บท
Research Article

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร. ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์. (2546). จิตวิทยาทั่วไป. ไทยเจริญการพิมพ์.

กุลวดี อัมโภชน์ และชลธิศ ดาราวงษ์. (2561). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจและความจงรักภักดีของลูกค้าร้านค้าสะดวกซื้อเขตพัทยา จังหวัดชลบุรี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 13(1), 113-124. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ journalgrdcru/article/view/131617/98762

ขวัญเรือน กิตติวัฒน์. (2531). พลศาสตร์ของการสื่อสาร. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาพลศาสตร์การสื่อสาร. (น.8, 10-11). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ข่าวสารกระทรวงพาณิชย์. (2564). พาณิชย์เผยผลการสำรวจสินค้าชุมชนสร้างเงินหมุนเวียนมหาศาล แต่ต้องเร่งพัฒนาการตลาด คุณภาพ และมาตรฐานสินค้าให้ดียิ่งขึ้น. กระทรวงพาณิชย์. https://www.price.moc.go.th/price/fileuploader/file_admin_sum/news_survey-022564.pdf

ชุติมา นิ่มนวล. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP กรณีศึกษา : ผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(1), 27-34. https://www.aru.ac.th/myadmin/uploads/rdi/download/20201129-79653124.pdf

ประภาศรี พงศ์ธนาพาณิช, วิศนันท์ อุปรมัย, และ ปภาวัลย์ สุทธิประสิทธิ์. กลยุทธ์การจัดจำหน่ายผ่านช่องทางการตลาดสมัยใหม่ ในยุคนิวนอร์มัล. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 16(1), 194-208. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/257427/172955

ธนพร มนต์ไชยะ. (2558) ปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากเทสโก้โลตัสของลูกค้าในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร]. Intellectual Repository at Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. http://repository.rmutp.ac.th/ handle/123456789/2130

นิธิดา พระยาลอ และลำปาง แม่นมาตย์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์อาหารในโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคที่ผลิตในจังหวัดขอนแก่น. วารวิจัย มข. มส. (บศ.), 3(1), 38-51.

รัชชา ผูกพยนต์. (2563).ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกล้วยกรอบสอดไส้มะขามกวน ผ่านช่องทางทางการตลาดกลาง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. ThaiLIS Digital Collection. https://tdc.thailis.or.th

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร และคณะ. (2018). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของร้านกาแฟอาข่า อาม่า. Journal of Business, Economics and Communications, 13(2), 169-179. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/BECJournal/article/view/87805/106318

วรัสชญาน์ ศิระวิเชษฐ์กุล. (2564). การสื่อสารการตลาดแบบครบวงจร (IMC) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดจันทบุรี. วารสาร มจร เลย ปริทัศน์, 2(3), 128-141. https://so05. tci-thaijo.org/index.php/MCUL /article/view/257209/173560

วารุณี ตันติวงศ์วาณิช และคณะ. (2554). หลักการตลาด ฉบับมาตรฐาน. เพียรสัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

วาทินี ยอดดำเนิน. (2550). พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากปลาช่อนแม่ลาภายใต้โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดสิงห์บุรี. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]. KU E-Thesis. http://www.lib.ku.ac.th/kuis/2550/watinee-yod-all.pdf

ศิรประภา นพชัยยา. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกาแฟจากร้านคาเฟ่ อเมซอน ในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU E-Thesis Archive. http://ethesisarchive. library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5702030536_3568_1988.pdf

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2555). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์ (พิมพ์ครั้งที่ 20). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2564). การสื่อสารการตลาด (พิมพ์ครั้งที่6). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสาวนีย์ โตสุวรรณเจริญ (2550) ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดของร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงราย. [วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย]. ThaiLIS Digital Collection. https://tdc.thailis.or.th

อรอนงค์ บุญวัน. (2554). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดนราธิวาส. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา]. ThaiLIS Digital Collection. https://tdc.thailis.or.th

Becker, S.L. (1972). Discovering mass communication. Scott Foresman and Company Glenview.

Carlson, J. & Rahman, M. & Voola, R. & De Vries, N. (2018). Customer engagement behaviours in social media: capturing innovation opportunities. Journal of Services Marketing, 32(1), 83-94. http://doi.org/ 10.1108 /JSM-02-2017-0059.

Cochran, W.G. (1953). Sampling techniques. John Wiley & sons. Inc.

Duncan, T & Everett, S. (1993). Client perceptions of integrated marketing communications. Journal of Advertising Research, 33, 30-39. https://link.gale.com/apps/doc/A1431 6141/AONE?u=anon~964f034 e&sid=googleScholar&xid=fdf598fb

Etzel, M.J., Walker, B.J., Stanton, W.J. (2001). Marketing (12th ed.). McGraw-Hill.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. Anderson, R.E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). Prentice-Hall.

He, H., Kotler, P., Armstrong, G. M., Harris, L. C. (2019). Principles of marketing. Pearson Education Limited.

Holliman, G. & Rowley, J. (2014). Business to business digital content marketing: Marketers’ perceptions of best practice. Journal of Research in Interactive Marketing, 8(4), 269-293. http://doi.org/10.1108 /JRIM-02-2014-0013.

Hudson, S., Huang, L., Roth, M.S., Madden, T.J. (2015). The influence of social media interactions on consumer–brand relationships: A three-country study of brand perceptions and marketing behaviors. International Journal of Research in Marketing, 33(1). http://doi.org/10.1016/j.ijresmar.2015.06.004.

Key, T.M. & Czaplewski, A.J. (2017). Upstream social marketing strategy: An integrated marketing communications approach. Business Horizons, 60(3), 325-333. http://doi.org/10.1016 /j.bushor.2017.01.006.

Kitchen, P.J., & Burgmann, I. (2010). Integrated marketing communication. Wiley International Encyclopedia of Marketing.

Kliatchko, J. (2008). Revisiting the IMC construct. International Journal of Advertising, 27(1), 133-160. https://doi.org/10.1080/02650487.2008.11073043

Kotler, P. (2000). Marketing management (10th ed.). Prentice-Hall.

Kotler, P. & Armstrong, G. (1999). Principles of marketing (8th ed.). Prentice-Hall.

Phelps, J.E., & Johnson, E. (1996). Entering the quagmire: Examining the 'meaning' of integrated marketing communications. Journal of Marketing Communications, 2(3), 159-172. http://doi.org/ 10.1080/135272696346123.

Rehman, S.U., Gulzar, R., Aslam, W. (2022). Developing the integrated marketing communication (IMC) through social media (SM): The modern marketing communication approach. SAGE.

Schultz, D.E. & Schultz, H.F. (1998). Transitioning marketing communication into the twenty-first century. Journal of Marketing Communications, 4(1), 9-26. http://doi.org/ 10.1080/135272698345852.

Schultz, Don, E., & Kitchen, P.J. (1997). Integrated marketing communications in U.S. advertising agencies: An exploratory study. Journal of Advertising Research, 37(5), 7-18. https://link.gale.com/apps/doc/A20251597/AONE?u=anon~964f034e&sid=bo okmark-AONE&xid=92a22767