ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจท้องถิ่นย่านสถานีรถไฟอยุธยา พ.ศ. 2465-2520

Main Article Content

ศุภสุตา ปรีเปรมใจ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจท้องถิ่นย่านสถานีรถไฟอยุธยา พ.ศ. 2465–2520 ผลการศึกษาพบว่า การสร้างสถานีรถไฟอยุธยา เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ของผู้คนหลายกลุ่ม และได้ขยายตัวเป็นย่านชุมชนที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างหลากหลาย ได้แก่ กลุ่มการค้ารายย่อยบริเวณสถานีรถไฟ กลุ่มผู้ใช้แรงงาน นอกจากนี้ยังเกิดย่านตลาดที่มีการขยายตัวจากการค้าทางน้ำอันเป็นวิถีแบบดั้งเดิม มาสู่การผลิตและค้าขายที่เชื่อมโยงกับสถานีรถไฟ เช่น ร้านขายอาหาร ร้านขายของชำ และมีบริการอื่น ๆ ที่สอดรับกับวิถีชีวิตประจำวันของผู้คนในย่านนั้น รวมถึงมีธุรกิจท้องถิ่นที่เติบโตขึ้น เช่น โรงน้ำปลา ปลาร้า ยาสูบ ซึ่งเป็นธุรกิจที่โดดเด่นในย่านสถานีรถไฟ และยังมีโรงงานอื่น ๆ ที่ขยายตัวในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน เช่น โรงน้ำแข็ง โรงเลื่อย นอกจากนี้ บริเวณริมคลองกะมัง และวัดพิชัยสงครามก็เป็นอีกพื้นที่ที่มีผู้คนอยู่อาศัย และทำการค้ากันอย่างหนาแน่นต่อเนื่องจากชุมชนดั้งเดิม จึงกล่าวได้ว่า การสร้างสถานีรถไฟอยุธยาได้มีส่วนส่งเสริมให้เศรษฐกิจท้องถิ่นมีความเจริญในช่วงเวลาดังกล่าว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กค 0301.1.38.I. Annual Reports of Government Departments. เอกสารกระทรวงการคลัง สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ.

กรมศิลปากร. (2564). เอกสารเสด็จตรวจราชการเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ร.ศ. 119 – 131 (พ.ศ. 2443- 2455). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

เกื้อกูล ยืนยงอนันต์. (2529). ความเปลี่ยนแปลงภายในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ระหว่าง พ.ศ. 2438-2500. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

คมลักษณ์ ไชยยะ. (2558). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ศาลเจ้ากับการธำรงชาติพันธุ์ของชาวไทยเชื้อสายจีนในย่านเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา.

ฐปณี รัตนถาวร. (2555). เงื่อนไขเชิงพื้นที่เพื่อการดำรงอยู่ของชุมชนบริเวณเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภดล มีสมสิบ. (2566, 25 พฤศจิกายน). ผู้อาวุโสชุมชนคลองกะมัง-สถานีรถไฟอยุธยา. สัมภาษณ์.

นัฐวรรณ ไทยดี. (2554). สถานีรถไฟบนเส้นทางรถไฟสายเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร

ประกาศสร้างรถไฟสยามแต่กรุงเทพฯ ถึงเมืองนครราชสีห์มา. (22 มีนาคม 2434). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 7. ตอนที่ 51, หน้า 456.

มท 5.16.7/75. รายงานประจำเดือนของเทศบาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (พ.ศ.2480). เอกสารกระทรวงมหาดไทย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ.

มท.5.16.6/5. อยุธยา รายงานประจำปี พ.ศ.2479. (พ.ศ.2477-2479). เอกสารกระทรวงมหาดไทย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ.

ร.5 ยธ.5.9/13. รายงานการสำรวจเส้นทางรถไฟไปยังเมืองเชียงใหม่ของนายแฮร์มัน เกิ๊ธ. เอกสารกระทรวงมหาดไทย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ.

ราตรี โตเพ่งพัฒน์. (2543). ตลาดน้ำ : วิถีชีวิตของเกษตรกรภาคกลาง. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

ลูอิส ไวเลอร์. (2556). กำเนิดการรถไฟในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณศิริ เดชะคุปต์, ปรีดีพิศ ภูมิวิถี. (2554). กรุงเก่าเล่าเรื่อง. กรุงเทพฯ: มติชน.

ศิริรัตน์ สันติตรานนท์. (2566, 25 พฤศจิกายน). เจ้าของบ้านอากงริเวอร์ไซด์ โฮมสเตย์. ชุมชนตลาดสถานีรถไฟอยุธยา. สัมภาษณ์.

ศุภสุตา ปรีเปรมใจ. (2557). การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2483-2534. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ส.พลายน้อย. (2552). เกิดในเรือ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน 2552.

สถาบันวิจัยทางสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2514). รายงานเบื้องต้นการวิจัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์.

สัญชัย สุวังบุตร และคนอื่น ๆ . (2562). ประวัติศาสตร์ใน “Twentieth Century Impressions Of Siam : Its History, People Commerce, Industries, and Resources”. นครปฐม: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สัมพันธ์ โสภณฐิติธรรม. (2566, 23 พฤศจิกายน). อดีตพนักงานรถไฟฝ่ายบริหารทรัพย์สิน. ชุมชนสถานีรถไฟอยุธยา. สัมภาษณ์.

สุภาพรรณ ขอผล. (2534). การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของภาคเหนือตอนล่างในช่วงปี พ.ศ. 2448-2484. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โสภณ สวยแล้ว. (2566, 23 พฤศจิกายน). ชาวชุมชนสถานีรถไฟอยุธยา. สัมภาษณ์.

หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ. (2512). เรื่องสถานีรถไฟอยุธยา. หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนายบุญช่วย ภู่โสภา (อดีตนายกเทศมนตรีเมืองนนทบุรี) ณ ฌาปนสถาน วัดนครอินทร์ นนทบุรี.

หลวงนฤราชภักดี. (2555). หนังสือนำทางทั่วพระราชอาณาจักรสยาม (คู่มือการเดินทางเล่มแรกของสยาม2469). พิมพ์เป็นที่ระลึกงานศพประพันธ์ ผลเสวก. ไม่ปรากฎที่พิมพ์.

อิจิโร คากิซากิ. (2560). จากทางรถไฟสู่ทางหลวง : ความเปลี่ยนแปลงนโยบายการคมนาคมและการหมุนเวียนสินค้าของประเทศไทย ปีพ.ศ. 2478-2518. นนทบุรี: ต้นฉบับ.

อิจิโร คากิซากิ. แปลโดย มุทิตา พานิช. (2562). ย้อนรอยรถไฟไทย:สืบสานและต่อยอด. กรุงเทพฯ: สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แอ๊ด ต้นดี. (2566, 25 พฤศจิกายน). อดีตแม่ค้าสถานีรถไฟอยุธยา. ชุมชนพระสุริยมุนี. สัมภาษณ์.