การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้น้ำจากสระน้ำวัดอโยธยา เป็นแหล่งน้ำอภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2454 และ พ.ศ. 2468

Main Article Content

วสวัตดิ์ เนตรประหาส

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยการเลือกใช้สระน้ำวัดอโยธยาเป็นแหล่งน้ำอภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จากผลการศึกษาพบว่า สระน้ำวัดอโยธยาได้ใช้ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2454 เป็นครั้งแรก และครั้งสุดท้ายในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2468 ปัจจัยสำคัญ ที่มีการคัดเลือกใช้น้ำจากสระน้ำวัดอโยธยามีทั้งหมด 3 ปัจจัย คือ (1) ความสำคัญของพระอาราม วัดอโยธยามีการสร้างในช่วงสมัยก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ในพื้นที่เขตพระราชวังเดิมในสมัยยังเป็นเมืองอโยธยา อีกทั้งมีพระราชาคณะเป็นผู้ปกครองวัดสันนิษฐานได้ว่าวัดนี้น่าจะเป็นพระอารามหลวง ในสมัยกรุงศรีอยุธยา (2) ตำนานความเชื่อและความเป็นสระน้ำประจำพระอารามของรัฐโบราณ ซึ่งมีคำบอกเล่าขานกันว่า น้ำในสระนี้ได้ใช้พิธีกรรมเกี่ยวกับศาสตราวุธในสมัยโบราณ และเป็นสระน้ำที่อยู่ภายในพระอาราม ซึ่งเป็นพระอารามสำคัญของเมืองอโยธยา (3) ความเป็นมงคลนาม เนื่องจากชื่อ ของพระอารามวัดอโยธยา มีความหมายว่า “ไม่อาจพิชิตได้ หรือชนะได้” และยังมีความสัมพันธ์กับชื่อบ้านนามเมืองในสมัยโบราณ คือ เมืองอโยธยา และสระน้ำนี้ เป็นสระน้ำโบราณที่อยู่คู่กับพระอาราม มาแต่เนิ่นนาน เช่นเดียวกับหนองโสน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่ผูกพันกับการสถาปนากรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 1893

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กำหนดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช และพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร พ.ศ. 2493 (2493, 9 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 67 หน้า 1942.

กระทรวงมหาดไทย. (2530). น้ำศักดิ์สิทธิ์ ประวัติน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ที่ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น.

กระทรวงมหาดไทย. (2542). ประวัติน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ที่ทูลเกล้าฯ ถวายเป็นน้ำสรงอภิเษกแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี. (2542). ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม1. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

โครงการสืบสารมรดกวัฒนธรรมไทย. (2542). พระราชพิธีบรมราชาภิเษก. กรุงเทพฯ: คอมแพคท์พริ้น.

คณะกรรมการจัดทำหนังสือที่ระลึกและจดหมายเหตุพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช. (2545). จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.

คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก. (2562). คำเกี่ยวกับพระราชพิธี บรมราชาภิเษก ปัญจมหานที. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566, จาก http://phralan.in.th.

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2493). พระราชหัตถเลขาเรื่องเสด็จประพาสลำน้ำมะขามเฒ่า และพระราชกระแสเรื่องจัดการทหารมณฑลกรุงเทพในรัชกาลที่ 5. พระนครฯ: โรงพิมพ์ท่าพระจันทร์.

ณัชทัพพ์ ทองคำ. (2566, 18 เมษายน). มัคคุเทศก์ประวัติศาสตร์ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สัมภาษณ์.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ, กรมพระยา. (2511). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 2. (พิมพ์ครั้งที่ 6). พระนครฯ: ห.ส.น. บุญส่ง.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ, กรมพระยา. (2514). ตำนานคณะสงฆ์. พระนครฯ: โรงพิมพ์ พ. พิทยาคาร.

เทศาภิบาลเล่ม 7 แผ่นที่ 41 วันที่ 1 สิงหาคม ร.ศ. 128. (2452). พระนครฯ: (ม.ป.ท.).

ธงพระกระบี่ธุชพระครุฑพ่าห์น้อย แลพระแสงศรกำลังราม (2454, 9 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 28 หน้า 41.

บุญชู เจนพนัส. (2493). ราชกิจจานุเบกษาฉบับจดหมายเหตุพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส พระราชพิธีบรมราชาภิเษก และพระราชพิธีเฉลิมพระราชมนเทียร พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช พ.ศ. 2493. พระนครฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

โบราณราชธานินทร์, พระยา. (2508). ประชุมพงศาวดารภาคที่ 63 เรื่องกรุงเก่า. (พิมพ์ครั้งที่ 3) พระนครฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดเกษมสุวรรณ.

นเรศวรฤทธิ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ, กรมพระ. (2466). จดหมายเหตุงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระนครฯ: โสภณ พิพรรฒธนากร.

นราธิปประพันธ์พงศ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ, กรมพระ. (2472). โคลงลิลิตสุภาพตำรับพระบรมราชาภิเษกสัปดมราชมหาจักรีวงศ์ (เล่มต้น). พระนครฯ: โรงพิมพ์อักษรนิติ.

ประชุมพงศาวดารเล่ม 39 ประชุมพงศาวดารภาคที่ 64 พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). (2512). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

แผนที่มณฑลกรุงเก่าจะสังเกตเห็นว่ามีการระบุตำแหน่งสระน้ำอยู่บริเวณใต้วัดเดิม โดยสระมีความลึกที่ 2.88 เมตร. (2451). [แผนที่]. กรุงเทพฯ: สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ.

พระเจดีย์ประธานวัดอโยธยา (วัดเดิม). (ม.ป.ป.). [ภาพถ่าย]. https://go.ayutthaya.go.th.

พระครูสังฆรักษ์ปัญญาพล. (2564, 27 พฤษภาคม). เจ้าอาวาสวัดอโยธยา. สัมภาษณ์.

มณฑลจันทบุรี และปกิณณกคดี พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระเทพสุทธิโมลี (เสงี่ยม จิณฺณาจาโร) เจ้าอาวาสวัดจันทนาราม และเจ้าคณะจังหวัดจันทบุรี - ระยอง – ตราด (ธรรมยุต) ณ เมรุวัดจันทนาราม จันทบุรี วันที่ 25 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2515. (2515). พระนครฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

มนตรี อุมะวิชนี. (2527). บ่อเกิดแห่งลัทธิชาตินิยมของรัชกาลที่ 6. วารสารเกษตรศาสตร์ (สังคม), 5(1), 26.

มิตรชัย แสงกุลเจริญ. (2549). พระราชพิธีอันสืบเนื่องจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. วารสารประวัติศาสตร์, (มกราคม – ธันวาคม 2549).

วสวัตดิ์ เนตรประหาส. (2565). ปัจจัยการใช้น้ำแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าวัดโปรดสัตว์เป็นน้ำอภิเษกใน พระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 6 – รัชกาลที่ 7. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา, 14(2), 32.

แสงสูรย์ ลดาวัลย์, หม่อมราชวงศ์. (2526). พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.

สระน้ำวัดอโยธยาในปัจจุบัน บันทึกภาพเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2564. (2564). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยาฯ: พร้อม บุญปกครอง.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2468). เอกสารส่วนพระองค์สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภานุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภานุพันธุวงศ์วรเดช. มร.6 บ/18.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. (2493). การทำน้ำอภิเษก ปี 2493. จบ.1.1.1.6/8.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติจังหวัดตรัง. (2468). พระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 7. มท. 5.1/22.

หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ. (2493). พิธีมุรธาภิเศกในพระราชพิธีบรมราชาภิเศกรัชกาลที่ 9. BIA1.2.3/4.

Ayodhya, Ayodhyaắ: 26 definitions. (2021). Research 20 April 2023, Retrieved from https://www.wisdomlib.org/.