ถอดบทเรียนชุมชนคุณธรรมต้นแบบของบ้านไทรน้อย อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ธนภร ประจันตะเสน
ธัชกร ธิติลักษณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการดำเนินงานในการเป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบของชุมชนบ้านไทรน้อย อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 2) ถอดบทเรียนและสร้างรูปแบบ (Model) กระบวนการดำเนินงานในการเป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบของชุมชนบ้านไทรน้อย อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลหลัก 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้นำชุมชนที่เป็นทางการ 2) ผู้นำชุมชนที่ไม่เป็นทางการ 3) ผู้เกี่ยวข้องในมิติด้านศาสนาของชุมชน และ 4) ประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านไทรน้อย หมู่ 1 – หมู่ 10 ผลการวิจัยพบว่าการดำเนินการขับเคลื่อนชุมชนบ้านไทรน้อยให้เป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบ สอดคล้องตามหลักเกณฑ์ 9 ขั้นตอน ของกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งการขับเคลื่อนชุมชนนั้นดำเนินการโดยกลุ่มผู้นำชุมชนเป็นผู้กำหนดคุณธรรมเป้าหมาย การจัดทำแผนส่งเสริมคุณธรรมและกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมต่าง ๆ โดยมีแนวทางในการกำหนดกิจกรรมให้สอดคล้องกับหลัก 3 มิติ คือ หลักธรรมทางศาสนา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และวิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม มาแก้ปัญหาของชุมชน และบ่มเพาะคุณธรรมความดีที่อยากทำ นอกจากนี้ยังพบว่า ชุมชนบ้านไทรน้อยมีองค์ประกอบของทุนทางสังคมที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการขับเคลื่อนชุมชนให้เป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบ ได้แก่ 1) ผู้นำชุมชนมีความเข้มแข็ง 2) พื้นฐานของคนในชุมชนที่อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข 3) มีการกำหนดคุณธรรมเป้าหมายร่วมกันของคนในชุมชน ผ่านกระบวนการประชุมปรึกษาหารือ และสร้างการมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนร่วมแสดงความเห็น 4) มีช่องทางการติดต่อสื่อสารที่เข้าถึงคนในชุมชนอย่างทั่วถึง และ 5) สามารถประสานความร่วมมือกันระหว่างผู้นำชุมชน คนในชุมชน วัดในชุมชน และส่วนราชการ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรม ผ่านการทำกิจกรรมของชุมชนร่วมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2561). คู่มือการประเมินองค์กร ชุมชน อำเภอและจังหวัดคุณธรรมภายใต้แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2559 – 2565). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กานดา เต๊ะขันหมาก. (2565). การถอดบทเรียนในกระบวนการจัดการความรู้. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(2), 189 – 204.

คัชพล จั่นเพชร และพิทักษ์ศิริวงศ์. (2559). การบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษา ชุมชนบ้านชากแง้ว อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(1), 111 – 121.

ชัยรัตน์ จุสปาโล, ยุพภาภรณ์ อุไรรัตน์, วรพงษ์ อัศวเกศมณี, สุจิตราภรณ์ จุสปาโล, และบุญรัตน์ บุญรัศมี. (2563). การเสริมสร้างศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างมีส่วนร่วมบนฐานอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

ณดา จันทร์สม. (2565, 29 พฤศจิกายน). ทุนทางสังคมกับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. ค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2565, จาก https://thaipublica.org/2022/11/nida-sustainable-move09/.

ดำรงศักดิ์ แก้วเพ็ง. (2556). ชุมชน. สงขลา: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2565). ตัวชี้วัดหลักการมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า.

ประพนธ์ ผาสุขยืด. (2553). การจัดการความรู้ ฉบับ KM Inside. กรุงเทพฯ: เอมี่เอ็นเตอร์ไพรส์.

ทวีศิลป์ กุลนภาดล. (2553). การพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของประชาชน. กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เทพศักดิ์ อังคณาวิศัลย์ และผณินชิสา มุสิกะไชย. (2561). การถอดบทเรียนจากโครงการจัดการความปลอดภัยด้านยาในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาระหว่างปี 2558-2560. วารสารเภสัชกรรมไทย, 10(1) , 142 – 160.

ธัญศิภรณ์ จันทร์หอม. (2562). โครงการพัฒนาทุ่งช้าง สู่เมืองน่านน่าอยู่ ต้นแบบของการพัฒนาชุมชนสู่การพัฒนาเมือง. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

ปริชัย ดาวอุดม และเจษฎา เนตะวงศ์. (2562). การถอดบทเรียนชุมชนเพื่อการปฏิรูปกระบวนการจัดการทรัพยากร : พลวัตรแห่งการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ตำบลหนองพันจันทร์ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

พนามาศ ตรีวรรณกุล, เมตตา เร่งขวนขวาย, เสถียร แสงแถวทิม, อรุษ นวราช, และชฤทธิพร เม้งเกร็ด. (2562). การถอดบทเรียนการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมของเกษตรกร ในโซ่คุณค่าสามพรานโมเดล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พรชัย จูลเมตต์, สมชาย ตรีทิพย์สถิตย์, ฉวีวรรณ ชื่นชอบ, จิดาภา จุฑาภูวดล, และ กนิษฐา ภู่พวง. (2561). ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง. (รายงานผลการวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระเดวิศณ์ สุขถาวโร, ประจิตร มหาหิง, และจุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์. (2563). ภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(3), 552 – 564.

พัชรินทร์ จึงประวัติ. (2561). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดนครนายก. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 19(35), 64-76.

ภาสวรรธน์ วัชรดำรงค์ศักดิ์, ชินานาฏ วิทยาประภากร, ญาณิศา โกมลสิริโชค, หฤทัย อาษากิจ และ ลัดดา ปินตา. (2562). การวิจัยและกระบวนการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทผลิตภัณฑ์ผ้าและสิ่งทอพื้นถิ่นของอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ บนฐานทรัพยากรชุมชนเพื่อมุ่งสู่การค้าที่เป็นธรรม. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

มัลลิกา ต้นสอน. (2544). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: บริษัท เอ็กซ์เบอร์เน็ท จํากัด.

ราตรี จุลคีรี. (2560). เครือข่ายผู้บริโภค : การมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งและรู้จักสิทธิในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์. กรุงเทพฯ: สำนักงาน กสทช.

วรัญญา จีระวิพูลวรรณ, สุนันท์ นวลเพ็ง, และ ชาญณรงค์ อินทรประเสริฐ. (2564). การถอดบทเรียน : โรงเรียนต้นแบบโครงการโรงเรียนคุณธรรม ในจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(1) , 1 – 17.

วิภาดา คุปตานนท์. (2544). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2535). หลักการพัฒนาชุมชน : ชุมชนประยุกต์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

วีระ นิจไตรรัตน์. (2551). คู่มือถอดความรู้ด้วยเทคนิคการเล่าเรื่อง. กรุงเทพฯ: รวมทวีผลการพิมพ์.

ศุภวัลย์ พลายน้อย. (2562). นานาวิธีวิทยาการถอดบทเรียนและการสังเคราะห์ความรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.

สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2540). ศาสนาเปรียบเทียบ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

สุธิดา แจ้งประจักษ์. (2565). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(2) , 214 – 222.

สุภัทรชัย สีสะใบ. (2564). ถอดบทเรียนจากพื้นที่วิจัย : การเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนาในชุมชนคลองกระทิง จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 4(1), 74 – 88.

อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2548). การศึกษาในวิถีชุมชน : การสงเคราะห์ประสบการณ์ในชุดโครงการวิจัยด้านการศึกษากับชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. (2562). ถอดบทเรียนการจัดการชุมชนทุ่งตำเสา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 39(3) , 63 – 71.

อโรชา ทองลาว. (2558). การถอดบทเรียนผลการดำเนินงานโครงการ 9 บวรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Mitchell, Terrence R., & Larson. Jr. Jane R. (1987). People in Organization : An Introduction to Organizational Behavior. (3 rd ed). Singapore: McGraw – Hill.