นิมิตในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)

Main Article Content

ปฐมพงษ์ สุขเล็ก
กนกพชรวรรัตน์ เพียงตาธนรัตน์
นภากานต์ นาคทอง
ปานิสา เจริญสุข
ออมสิน เกษร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานิมิตในพระราชพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ด้านรูปแบบการเกิดนิมิต ผลการศึกษาพบว่า นิมิตคือลางบอกเหตุที่สื่อถึงเหตุการณ์ในภายภาคหน้าทั้งที่เป็นนิมิตดี อาทิ การมีชัยเหนือศัตรู การแสดงถึงบุญญาธิการ และที่เป็นนิมิตร้าย อาทิ การพ่ายแพ้ศัตรู บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย รูปแบบการเกิดนิมิตมี 2 รูปแบบ คือ การเกิดนิมิตรูปแบบความจริง หมายถึง การรับรู้นิมิตด้วยประสาทสัมผัสทั่วไป และรูปแบบความฝัน หมายถึง การรับรู้นิมิตขณะหลับด้วยการฝัน โดยไม่พบรูปแบบการเกิดนิมิตในรูปแบบความฝันที่เป็น นิมิตร้าย การนำเสนอนิมิตดีที่เกิดขึ้นในรูปแบบความจริงมักปรากฏเนื้อหาการเห็นพระบรมสารีริกธาตุแสดงปาฏิหาริย์อันเป็นนิมิตสำคัญที่บ่งบอกว่าจะเกิดเหตุการณ์มงคลต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2549). ความฝันกับเหตุดีเหตุร้ายในวรรณคดีไทย. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 31(3), 799-819.

ปฐมพงษ์ สุขเล็ก. (2563). นิมิตร้ายในวรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. วรรณวิทัศน์, 20(2), 105-137.

ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน. (2554). (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 3. (2542). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

ปรัชญา ปานเกตุ. (2560). ศัพทานุกรมวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ.

พวงพยอม ยลถนอม. (2537). ความฝันจากวรรณคดีไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น. (2558). ความรู้เกี่ยวกับพระบรมสารีริกธาตุ. ค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2565 จาก kk.mcu.ac.th/relics/intro.html.

อุบลศรี อรรถพันธุ์. (2524). การชำระพระราชพงศาวดารในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก. ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.