บทบาทของกองพันทหารช่างอยุธยา ในเหตุการณ์กบฏบวรเดช พ.ศ.2476

Main Article Content

ธานี สุขเกษม
พิสิษฐิกุล แก้วงาม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของบทความนี้คือการศึกษาบทบาทของกองพันทหารช่างอยุธยาในเหตุการณ์การกบฏบวรเดช ระหว่างวันที่ 11-25 ตุลาคม พ.ศ.2476 เป็นการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์โดยใช้เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นข้อมูลสำคัญ จากการศึกษาพบว่า กบฏบวรเดชเริ่มต้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2476 โดยกำลังทหารจากต่างจังหวัดคือ อยุธยา สระบุรี และนครราชสีมา ได้เคลื่อนกำลังลงมายึดสนามบินดอนเมืองและพื้นที่บางเขนตามแผน “ล้อมกวาง” ซึ่งกองกำลังทหารเหล่านี้ใช้ชื่อว่า “คณะกู้บ้านกู้เมือง” และยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาลาออกในทันที แต่รัฐบาลปฏิเสธข้อเรียกร้องดังกล่าวและใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามฝ่ายคณะกู้บ้านกู้เมือง จนพ่ายแพ้และกลายเป็นการกบฏที่ชื่อว่า “กบฏบวรเดช”


สำหรับกองพันทหารช่างอยุธยาได้เข้าร่วมกับฝ่ายคณะกู้บ้านกู้เมือง โดยมีเหตุผลหรือแรงจูงใจ 2 ประการ คือ 1) ความหวาดกลัวภัยคอมมิวนิสต์ที่มาจากบุคคลในคณะรัฐบาลพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา 2) ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างผู้นำหน่วยทหารช่างของอยุธยากับผู้นำคนสำคัญของฝ่ายกบฏ บทบาทของทหารช่างอยุธยาในการเข้าร่วมกับกบฏบวรเดช ได้แก่ 1) การเข้าร่วมประชุมวางแผน 2) การสร้างขวัญและกำลังใจก่อนการปฏิบัติการทางทหาร 3) ยกกำลังทางเรือมาขึ้นที่รังสิตและยึดสนามบินดอนเมือง 4) วางกำลังเพื่อปิดล้อมบริเวณตอนเหนือของกรุงเทพฯ 5) การถอนตัวออกจากดอนเมือง บางเขนและหลักสี่ผลจากความพ่ายแพ้ในการกบฏครั้งนี้ ทำให้ผู้บังคับบัญชาของกองพันทหารช่างอยุธยาถูกจำคุก ถูกถอดออกจากยศทหารและบรรดาศักดิ์และหลบหนีไปอยู่ในต่างประเทศ ในที่สุดกองพันทหารช่างอยุธยาก็ได้ถูกยกเลิกไปโดยรัฐบาลพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จงกล ไกรฤกษ์, ร้อยโท. (2546). อยู่อย่างเสือ. กรุงเทพฯ: Knowledge Center.

จบกระบวนยุทธ์, พันตรีหลวง. (2520). อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพันตรีหลวงจบกระบวนยุทธ. กรุงเทพฯ: นำอักษร.

เจิม จิตต์ประณีต. (2558). ความเป็นอยู่และชีวิตของนักโทษการเมือง ตอนที่ 1. วารสารรูสมิแล, 36(1), 77-84.

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2517). 14 ตุลา : คณะราษฎร์กับกบฏบวรเดช. กรุงเทพฯ: อักษรสัมพันธ์.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2560). ประวัติศาสตร์การเมืองไทยสยาม พ.ศ.2475-2500. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ชาดา นนทวัฒน์. (2552). กบฏแผ่นดินแย่งชิงอำนาจ. กรุงเทพฯ: ยิปซี.

ไชยวัฒน์ ยนเปี่ยม. (2528). ฝันร้ายของเมืองไทย. กรุงเทพฯ: เจ้าพระยา.

ณ เพ็ชรภูมิ (แพทย์หญิงโชติศรี ท่าราบ). (2539). กำสรวลพระยาศรีฯ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

ณัฐพล ใจจริง. (2559). กบฏบวรเดช : เบื้องแรกปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม 2475. กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม.

ไทยน้อย (เสลา เรขะรุจิ). (2565). แม่ทัพบวรเดช. กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา.

ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์. (บรรณาธิการ). (2558). สมุดภาพพระยาพหลพลพยุหเสนา ภาค 2 : ปราบกบฏ พ.ศ. 2476. กรุงเทพฯ: ต้นฉบับ.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2553). การปฏิวัติสยาม พ.ศ.2475. กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน.

นายหนหวย (ศิลปชัย ชาญเฉลิม). (2521). ทหารเรือปฏิวัติ. กรุงเทพฯ: วัชรินทร์การพิมพ์.

นายหนหวย (ศิลปชัย ชาญเฉลิม). (2530). เจ้าฟ้าประชาธิปก : ราชันผู้นิราศ. กรุงเทพฯ: ป. สัมพันธ์ พาณิชย์.

นิคม จารุมณี. (2519). กบฏบวรเดช พ.ศ.2476. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิมิตมงคล นวรัตน์, ม.ร.ว.. (2564). เมืองนิมิตและชีวิตแห่งการกบฏสองครั้ง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศรีปัญญา.

บัญชร ชวาลศิลป์, พลเอก. (2562). 2475 เส้นทางคนแพ้. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

ประจวบ อัมพะเศวต. (2543). พลิกแผ่นดิน : ประวัติศาสตร์การเมืองไทย 24 มิถุนายน 2475-14 ตุลาคม 2516. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

ปรัชญาภรณ์ ละครพล. (2564). กองทัพคณะราษฎร. กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม.

ปิยะนาถ บุนนาค. (2553). ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ (ตั้งแต่การทำสนธิสัญญาบาวริ่ง ถึง เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516. กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผิน ชุณหะวัณ, จอมพล. (2516). การกบฏ ปี 2476. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพจอมพลผิน ชุณหะวัณ ณ เมรุวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร 7 พฤษภาคม 2516. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

พฤทธิสาณ ชุมพล, ม.ร.ว. (2560). ประชาธิปก ประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เพลิง ภูผา (นามแฝง). (2556). กบฏบวรเดช. กรุงเทพฯ: สยามความรู้.

ภูธร ภูมะธน. (2521). ศาลพิเศษ พ.ศ.2476 พ.ศ.2478 และ พ.ศ.2481. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยาตาเบ, ยาสุกิจิ. (2563). บันทึกของทูตญี่ปุ่นผู้เห็นเหตุการณ์ปฏิวัติ 2475 : การปฏิวัติและการเปลี่ยนแปลงในประเทศสยาม. เออิจิ มูราชิมา และนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ (แปล). กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม.

ระยับศรี กาญจนะวงศ์. (2530). การฝึกหัดครูมณฑลกรุงเก่า พ.ศ.2448-2475 : การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์. (รายงานผลการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา : วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา.

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 50 ตอน 0 หน้า 635-638 วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2476, พระราชบัญญัติจัดการรักษาป้องกันรัฐธรรมนูญ .

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 50 หน้า 2242 วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2476, ประกาศถอดยศและบรรดาศักดิ์. เลื่อน ศราภัยวานิช. (2564). ฝันจริงของข้าพเจ้า ฝันร้ายของข้าพเจ้า 10,000 ไมล์ของข้าพเจ้า. กรุงเทพฯ: ปัญญา.

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 50 หน้า 624 วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2476, พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลพิเศษ. พุทธศักราช 2476.

ฤทธิรงค์รณเฉท,พันเอกพระยา. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพันเอก พระยาฤทธิรงค์รณเฉท (ทองคำ ไทไชโย). วัดสมานมิตร จังหวัดนครราชสีมา 1 เมษายน 2512.

ว.ช. ประสังสิต. (วิชัย ประสังสิต). (2505). แผ่นดินสมเด็จพระปกเกล้า. พระนคร : สำนักพิมพ์ผดุงชาติ.

วิชัย สุวรรณรัตน์. (2514). การปฏิวัติ รัฐประหาร และกบฏหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ใน สัตว์การเมือง. หน้า 84-130. ชัยอนันต์ สมุทวณิช, เศรษฐพร คูศรีพิทักษ์ และแสวง รัตนมงคลมาศ (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

วีรวัลย์ งามสันติกุล. (2559). ประชาธิปกกาลสมัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2547). การเมืองการปกครองไทย พ.ศ.1762-2500. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.

สังวรยุทธกิจ, พลเรือตรี หลวง. (2516). อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพลเรือตรีหลวงสังวรยุทธกิจ (สังวร สุวรรณชีพ). ณ วัดธาตุทอง ถนนสุขุมวิท วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พุทธศักราช 2516. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

สุวิทย์ ขันธวิทย์ และอิงอร สุพันธุ์วณิช. (2554). เฮง ไพรวัลย์ : สุดยอดปรมาจารย์ทางไสยศาสตร์ฆราวาสห้าแผ่นดินเมืองสยาม. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด.

เสทื้อน ศุภโสภณ. (2535). ชีวิตและการต่อสู้ของพระยาทรงสุรเดช. กรุงเทพฯ: บริษัท ครีเอทีฟ พับลิชชิ่งจำกัด.

แสง จุละจาริตต์. (2548). เชลยที่แนวหลัง. ศิลปวัฒนธรรม, 26(12), 64-70.

หน่วยทหารช่างที่เคยมีที่ตั้งอยู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2565, จาก http://cgsc.ac.th.

โหมรอนราญ, พันตำรวจโท หลวง. (2520). อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันตำรวจโทหลวงโหมรอนราญ (ตุ๊ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา). ณ เมรุวัดตรีทศเทพ 5 กุมภาพันธ์ 2520. กรุงเทพฯ: บุญส่งการพิมพ์.

โหมรอนราญ, ร้อยเอก หลวง. (2492). เมื่อข้าพเจ้าก่อการกบฏ. พระนคร : โรงพิมพ์นครชัย.

อ.ก. รุ่งแสง (โพยม โรจนวิภาต). (2547). พ. 27 สายลับพระปกเกล้า. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วลีครีเอชั่น.

อนันต์ อมรรตัย. (บรรณาธิการ). (2527). แม่ทัพบวรเดช. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จิรวรรณนุสรณ์.