การศึกษาชุมชนชานเมือง: กรณีชุมชนวัดช่องลม ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

คมลักษณ์ ไชยยะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อศึกษาลักษณะทางสังคมของชุมชนชานเมือง จากกรณีศึกษาชุมชนวัดช่องลม ตำบลภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในด้านประวัติศาสตร์ชุมชน การประกอบอาชีพ และประเพณีวัฒนธรรม เพื่อทำความเข้าใจลักษณะทางสังคมวิทยาของชุมชนภายใต้กระบวนการกลายเป็นเมือง ผลการวิจัยพบว่าชุมชนวัดช่องลมประกอบขึ้นจากประชากรกลุ่มหลัก 2 กลุ่ม คือ ชาวไทยพุทธและมุสลิมในสัดส่วนครึ่งต่อครึ่ง โดยชาวไทยมุสลิมในชุมชนเชื่อว่าพวกเขาสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษชาวไทยมุสลิมเปอร์เซียสมัยอยุธยาที่เรียกว่า “แขกเทศ” อาศัยอยู่ตามแพริมน้ำและเรือค้าขายในแม่น้ำ แต่ชุมชนวัดช่องลมได้ก่อตัวเป็นชุมชนขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมต่างอาศัยอยู่ร่วมกัน การขยายตัวของเมืองพระนครศรีอยุธยาสู่ชานเมือง ได้นำเอาความทันสมัยของการคมนาคมทางบกและสาธารณูปโภคพื้นฐานเข้าสู่ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ทศวรรษ 2530 กระแสการพัฒนาอุตสาหกรรมและการขยายตัวของเมืองพระนครศรีอยุธยาได้ส่งผลให้อาชีพทำนาหมดไป ปัจจุบันชาวบ้านในชุมชนวัดช่องลม จึงหันไปประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรกรรม เช่น ลูกจ้างโรงงาน รับจ้างรายวัน ค้าขาย และหัตถกรรมในครัวเรือน อย่างไรก็ตามวิถีชีวิตในชุมชนวัดช่องลม ก็ยังมีด้านที่เป็นสังคมชนบทดั้งเดิมอยู่ด้วย เช่น การปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน การหาอาหารธรรมชาติรอบชุมชน ความสัมพันธ์แบบเพื่อนบ้าน ตลอดจนประเพณีพิธีกรรมภายในกลุ่มบ้าน เป็นต้น ทำให้ชุมชนวัดช่องลมยังคงมีลักษณะผสมผสานระหว่างเมืองกับชนบท ซึ่งเป็นรูปแบบของชุมชนชานเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลงกลายเป็นเมืองเข้มข้นยิ่งขึ้นในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษียร เตชะพีระ. (2556). “โจทย์การเมืองไทยที่เปลี่ยนไปในสองทศวรรษ จากพฤษภาฯ 2535 ถึงปัจจุบัน”. ใน วารสารสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร. ปีที่ 10, ฉบับที่ 1 ก.ค.-ธ.ค. 2556.

เกื้อกูล ยืนยงอนันต์. (2529). ความเปลี่ยนแปลงภายในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาระหว่าง พ.ศ. 2438-2500. เอกสารวิชาการหมายเลข 59 สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ขรรค์ชัย วัลลิโภดม. (2538). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวนาอันเนื่องมาจากการขายที่ดิน กรณีศึกษา: ชาวนาในตำบลบางพระครู อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต (มานุษยวิทยา) มหาวิทยาลัยศิลปากร.

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุฯ. (2544). วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์.

คมลักษณ์ ไชยยะ. (2560). แช็คมุฮัมหมัดอาลีซุกรีย์: พิธีกรรมและความเชื่อของชาวไทยมุสลิมภูเขาทองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

คมลักษณ์ ไชยยะ และพิมพ์จันทร์ ควรพจน์. (2560). การประกอบอาชีพและงานพิธีกรรมในชุมชนชานเมืองพระนครศรีอยุธยา: กรณีศึกษาชุมชนวัดช่องลม หมู่ 1 ตำบลภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

จามะรี เชียงทองและคณะ. (2554). ชนบทไทย:เกษตรกรระดับกลางและแรงงานไร้ที่ดิน. เชียงใหม่: บลูมมิ่ง ครีเอชั่น.

ดารณี ถวิลพิพัฒน์กุล. (2549). กระบวนการเป็นเมืองกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในประเทศที่กำลังพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2559). ความสำคัญของการส่งต่อการผลิตและการรับช่วงการผลิต. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. ปีที่ 56 ฉบับที่ 1.

น. ณ ปากน้ำ. (2510). ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ: ศิวพร.

ประทิน หมุดเพ็ชร์. (2560, 8 กรกฎาคม). ชาวบ้านชุมชนหัวแหลม. สัมภาษณ์.

ประพาส เรืองกิจ. (2560, 2 เมษายน). ประธานกลุ่มจักสานปลาตะเพียน. ชุมชนวัดช่องลม. สัมภาษณ์.

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. (2558). ถก “ชนบท” : ประวัติศาสตร์ความคิดและวิธีวิทยาที่พึงพิจารณา. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2560. จาก https://prachatai.com/journal/2015/01/57662

ปรีชา คุวินทร์พันธ์. (2545). สังคมวิทยาและมานุษยวิทยานคร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เปล่ง สิงโตคล้ำ. (2560, 9 เมษายน). ชาวบ้านชุมชนวัดช่องลม. สัมภาษณ์.

แมนเฟร็ด เสตเกอร์. (2554). โลกาภิวัตน์: ความรู้ฉบับพกพา. กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิร์ล.

ยศ สันตสมบัติ. (2539). ท่าเกวียน:บทวิเคราะห์เบื้องต้นว่าด้วยการปรับตัวของชุมชนชาวนาไทย ท่ามกลางการปิดล้อมของวัฒนธรรมอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: คบไฟ.

รัชนีกร เศรษโฐ. (2529). สังคมวิทยาชนบท. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ลิวอิส เอ .โคเชอร์. (2547). นักปราชญ์ระดับโลก. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง.

วิชาญ กาญสมบัติ. (2560, 9 เมษายน). ชาวบ้านชุมชนวัดช่องลม. สัมภาษณ์.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2551). การพัฒนาเมือง และชนบทประยุกต์. กรุงเทพฯ: โฟร์เพซ.

สยามรัฐออนไลน์. (2559). มุสลิมในอาณาจักรอยุธยา: ถิ่นฐาน. ค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2565, จากhttps://siamrath.co.th/n/3704

สนิท นิมา. (2560, 26 มีนาคม). ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1. ชุมชนวัดช่องลม. สัมภาษณ์.

สุกัญญา หล่อประเสริฐ. (2560, 22 เมษายน). ชาวบ้านชุมชนวัดช่องลม. สัมภาษณ์.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2560). มหานาค (วัดภูเขาทอง อยุธยา) สึกจากพระไปอาสาสู้ศึกหาสาวดี. ค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2565. จาก www.matichon.co.th/columnists/news_476067

สุพัฒนชัย โพธิ์แก้ว. (2557). การพัฒนาชนบทและเมือง. กรุงเทพฯ: บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด.

สุภาพ สังฆจาย. (2560, 26 มีนาคม). ชาวบ้านชุมชนวัดช่องลม. สัมภาษณ์.

สุภางค์ จันทวานิช. (2563). ทฤษฎีสังคมวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสวก วงศ์สวัสดิ์. (2560, 19 มีนาคม). ชาวบ้านชุมชนวัดช่องลม. สัมภาษณ์.

สำลี สุขถาวร. (2560, 2 เมษายน). ชาวบ้านชุมชนวัดช่องลม. สัมภาษณ์.

องค์การบริหารส่วนตำบลภูเขาทอง. (2559). ข้อมูลทั่วไป. ค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2559. จาก http://phukaothong.go.th/public/

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2559). ลืมตาอ้าปากจาก“ชาวนา”สู่ “ผู้ประกอบการ”. นนทบุรี: มติชน.

อภิชาต สถิตนิรามัย และคณะ. (2556). ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย. เชียงใหม่: สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

แอนดรู วอล์คเกอร์. (2559). จักรกริช สังขมณี (แปล). ชาวนาการเมือง อำนาจในเศรษฐกิจชนบทสมัยใหม่ของไทย. กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน.

Charles Keyes. (2012). Cosmopolitan Villagers and Populist Democracy in Thailand. South East Asia Research. 20(3), 343-360.

Smith, T. Lynn, and Zopf, Paul E. jr. (1970). Principles of Inductive Rural Sociology. Philadelphia: Davis Company.