30 ปี มรดกโลก นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา กับการดำเนินงานโบราณคดี

Main Article Content

วีระศักดิ์ แสนสะอาด

บทคัดย่อ

นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ด้วยเกณฑ์ข้อที่ 3 (III) คือ เป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ที่หาได้ยากยิ่ง หรือเป็นพยานหลักฐานแสดงขนบธรรมเนียมประเพณี หรืออารยธรรมซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่ หรืออาจสูญหายไปแล้ว โดยมีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล หรือ Outstanding Universal Value (OUV) คือเมืองแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรือง ยิ่งใหญ่ที่สุดและเป็นสากลมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เป็นศูนย์กลางของการทูตและการพาณิชย์ระดับโลก มีการวางผังเมืองที่เป็นระบบและปรากฏหลักฐานประเภทงานศิลปกรรมต่างๆ ที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีอิทธิพลจากต่างประเทศเข้ามาผสม จนถึง พ.ศ. 2564 นับเป็นช่วงเวลา 30 ปี ที่พื้นที่แห่งนี้มีการดำเนินงานโบราณคดีเพื่อศึกษาการใช้พื้นที่และบูรณะปรับปรุงโบราณสถานให้เป็นแหล่งเรียนรู้โดยแบ่งเป็น 3 ช่วงเวลา ได้แก่ 1. ช่วง พ.ศ. 2535 – 2544 เป็นการดำเนินงานโบราณคดีภายใต้แผนแม่บทโครงการอนุรักษ์และพัฒนานครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2536 – 2544 เน้นการศึกษาในพื้นที่มรดกโลกซึ่งเป็นส่วนสำคัญใจกลางเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา เนื้องที่ 1,810 ไร่ 2. ช่วง พ.ศ. 2545 – 2554 เน้นการดำเนินงานโบราณคดีโดยรอบพื้นที่มรดกโลกได้แก่พื้นที่ส่วนที่เหลือของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาและพื้นที่นอกเกาะเมืองโดยรอบ และ 3. พ.ศ. 2555 – 2564 เป็นช่วงหลังเหตุอุทกภัย ถือว่าการดำเนินงานโบราณคดีในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาคือพื้นที่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา ให้เป็นไปตามหลักสากล ใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์และสหวิทยากรและเป็นงานอันดับต้นเพื่อศึกษาถึงข้อมูลความแท้ ความครบถ้วน รวมถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ของโบราณสถาน อันนำไปสู่การบูรณะ สงวนรักษาแหล่งมรดกโลกให้เป็นไปด้วยความเหมาะสมตามหลักสากลต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมศิลปากร. (2537). โครงการปรับปรุงแผนแม่บทนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพ: เอ็น เอส พี่ พริ้นติ้งกรุ๊ป.

กรมศิลปากร. (2564). บันทึกการดำเนินงานวัดกระจี: อยุธยา อนุรักษ์. กรุงเทพ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสุนทรรุ่งเจริญ การพิมพ์.

กรมศิลปากร. (2557). โบราณคดีสำหรับเยาวชน. กรุงเทพ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

กรมศิลปากร. (2564). ร่าง แผนปฏิบัติการ การอนุรักษ์และพัฒนานครประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา พุทธศักราช 2565 – 2574. ม.ป.ท. : (เอกสารอัดสำเนา).

พิทักษ์ สุขพิพัฒน์มงคล. (2547). โครงการขุดแต่งและขุดค้นโบราณสถานหมู่บ้านฮอลันดาตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ม.ป.ท.: (เอกสารอัดสำเนา).

สาวิตรี สุวรรณสถิตย์. (2557). นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา มรดกไทย – มรดกโลก. กรุงเทพ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส-ซี-เจ เอ็มซี.

สำนักงานนโยบายแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2557). อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครอง มรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ. กรุงเทพ: บริษัท โมโนกราฟ สตูดิโอ จำกัด.

ห้างหุ้นส่วนจำกัด ปุราณรักษ์. (2550). โครงการบูรณะโบราณสถานเพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงครองราชย์ครอบ 60 ปี รายงานการขุดแต่ง ทางโบราณคดี งานบูรณปฏิสังขรณ์พลับพลาตรีมุขภายในพระราชวังหลวง ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ 2549. ม.ป.ท.: (เอกสารอัดสำเนา).

ห้างหุ้นส่วนจำกัด ปุราณรักษ์. (2539). รายงานการขุดค้นพื้นที่บริเวณศาลากลาง (หลังเก่า)ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ม.ป.ท.: (เอกสารอัดสำเนา).

ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุรศักดิ์ก่อสร้าง. (2538). รายงานการขุดแต่งและขุดค้นโบราณสถานวัดธรรมิกราชตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ม.ป.ท.: (เอกสารอัด สำเนา).

ห้างหุ้นส่วนจำกัด ปุราณรักษ์. (2538). รายงานการขุดแต่งศึกษาโบราณสถานวัดเจ้าพราหมณ์ -วัดเจดีย์ใหญ่ ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา(วัดเจ้าพราหมณ์). ม.ป.ท.: (เอกสารอัดสำเนา).

World Heritage Convention. (2022). Historic City of Ayutthaya. ค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2565, จาก https://whc.unesco.org/en/list/576/