ปัจจัยการใช้แม่น้ำเจ้าพระยาหน้าวัดโปรดสัตว์เป็นน้ำอภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 6 - 7
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการใช้แม่น้ำเจ้าพระยาหน้าวัดโปรดสัตว์เป็นน้ำอภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. 2454 และพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2468 โดยเป็นการศึกษาด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้แม่น้ำเจ้าพระยาหน้าวัดโปรดสัตว์เป็นน้ำอภิเษกมี 3 ปัจจัยสำคัญประกอบด้วย 1) ความเชื่อด้านตำนานที่กล่าวถึงน้ำมนต์ ปราบช้างกระดูกผี และน้ำที่ใช้ประพรมเหล่าสัตว์ต่าง ๆ อันเป็นที่มาของชื่อวัด 2) ความนับถือของประชาชนซึ่งมีความเชื่อว่าน้ำพระพุทธมนต์หน้าพระอุโบสถสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บ รวมทั้งความนับถือพระประธานในพระอุโบสถ 3) เรื่องของมงคลนาม ซึ่งนามของวัดเป็นมงคลเปรียบเสมือนองค์พระมหากษัตริย์ที่ปกครองดูแลอาณาประชาราษฎรในแผ่นดิน ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยนี้ส่งผลให้ข้าราชการในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในอดีตมีการตัดสินใจใช้แม่น้ำเจ้าพระยาหน้าวัดโปรดสัตว์ เป็นน้ำอภิเษกประจำมณฑลอยุธยา อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเรื่องราวของแหล่งน้ำอภิเษกวัดโปรดสัตว์ เริ่มเลือนหายไปจากความทรงจำของชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและพื้นที่ใกล้เคียง แต่ความนับถือ ที่มีต่อน้ำพระพุทธมนต์ของวัดยังคงผูกพันกับชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยานับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมศิลปากร. (2471). จดหมายเหตุระวางทูตลังกา และสยามครั้งกรุงศรีอยุธยา. พระนครฯ: โสภณพิพรรฒธนากร.
กรมศิลปากร. (2545). จดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเล่ม 1. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.
เกียรติชัย สารเศวต. (2543). การให้การปรึกษาแนะแนวตามแนวพุทธศาสตร์. ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2565 จาก https://dmh.go.th/abstract/nurse/details.asp?id=2480.
คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก. (2562). ข้อมูลแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ และสถานที่ประกอบพิธีทำน้ำอภิเษกในจังหวัดอ่างทอง. ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2565 จาก www.phralan.in.th/ coronation/ waterdetail.php?id=158
จดหมายเหตุพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2466). พระนครฯ: โสภณพิพรรฒธนากร.
จันทนุมาศ (เจิม), พัน. (2479). ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 64 พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). พระนครฯ: โสภณพิพรรฒธนากร.
ณัชทัพพ์ ทองคำ. (2564, 17 มิถุนายน). มัคคุเทศก์ประวัติศาสตร์ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และผู้ศึกษาคติชนวิทยา. สัมภาษณ์.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2511). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2. (ครั้งที่ 6). พระนครฯ: ห.ส.น. บุญส่งการพิมพ์.
เทศบาลตำบลนาดูน. (ม.ป.ป.). บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์. ค้นเมื่อ 3 มกราคม 2565 จากhttps://www.nadooncity.net/985446/
เทศบาลตำบลนาดูน. (ม.ป.ป.). เทศาภิบาล เล่ม 7 แผ่นที่ 41 วันที่ 1 สิงหาคม ร.ศ. 128. พระนครฯ: (ม.ป.ท.).
นราธิปประพันธ์พงษ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. (2472). โคลงลิลิตสุภาพตำรับพระบรมราชาภิเษกสัปดมะราชมหาจักรีวงศ์ (เล่มต้น). พระนครฯ: โรงพิมพ์อักษรนิติ.
บุญชู เจนพนัส. (2493). ราชกิจจานุเบกษาฉบับจดหมายเหตุพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส พระราชพิธีบรมราชาภิเษก และพระราชพิธีเฉลิมพระราชมนเทียร พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช. พระนครฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1 จุลศักราช 1166 พิมพ์ตามฉบับหลวง ตรา 3 ดวง เล่ม 2. (2482). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระปลัดชม อลีนจิตโต. (2564, 27 พฤษภาคม). รองเจ้าอาวาสวัดโปรดสัตว์. วัดโปรดสัตว์. สัมภาษณ์.
พระครูบรรหารนวกิจ. (2511). ประวัติวัดโปรดสัตว์. พระนครศรีอยุธยา: ม.ป.ท.
พัฒนพงศ์ภักดี (ทิม สุขยางค์), หลวง. (2559). นิราศหนองคาย. ค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2565 จาก https://vajirayana.org/.
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร ปีฉลู สัปตศก พุทธศักราช 2468 (2468, 3 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 82 ตอนพิเศษ 0 ก. หน้า 7-9.
แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหน้าพระอุโบสถวัดโปรดสัตว์ จุดที่มีการระบุว่าเคยได้นำน้ำบริเวณนี้ไปทำน้ำอภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก. (2565). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: สุจิน สุทธิลักษณ์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2479). จดหมายเหตุเรื่องปราบกบฏเวียงจันทน์. พระนครฯ: โสภณพิพรรฒธนากร
สุทธิศักดิ์ ปาลโพธิ์. (2562). พระราชพิธีแห่งกรุงสยามตั้งแต่โบราณกาลจนถึง พ.ศ. 2475. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพ.
สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. (2459). ประกาศพระราชพิธี เล่ม 2 สำหรับพระราชพิธีจร. พระนครฯ: โรงพิมพ์ไทย.
วสวัตดิ์ เนตรประหาส. (2564). ความรับรู้ทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับแหล่งน้ำอภิเษกจังหวัดชัยนาท. วารสารคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 16(2), 35
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. (2493). การทำน้ำอภิเษก ปี 2493. จบ.1.1.1.6/8.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2468). เอกสารส่วนพระองค์สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภานุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธ์ธุวงวรเดช. มร.6 บ/18.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2493). กองกลางสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยพระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 9. มท.0201.2.1.31.1/5.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2472). เรื่องพิมพ์โคลงลิลิตพระบรมราชาภิเษก สัปดมะราชมหาจักรีวงศ์. มร.7 บ/2.