แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ด้วยแนวคิดปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด กรณีศึกษา : กิจกรรมไหว้ครูมวยไทยโลก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ตรีธวัฒน์ มีสมศักดิ์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เขียนเพื่อมุ่งวิเคราะห์กิจกรรมด้านศิลปะวัฒนธรรม ในมิติของการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย ด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว(Event)  มุ่งเน้นนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเบื้องต้นในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจากสถานกาณ์โรคอุบัติใหม่ โควิด-19 ที่เป็นอุสรรคของการจัดกิจกรรม ในมุมกว้างโดยใช้กระบวนแนวคิดปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด หรือที่รู้จักโดยทั่วไปว่า ๔P


พบว่า การท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาสามารถแบ่งได้เป็น ๖ กลุ่ม คือ  ๑.แสวงบุญ ๒.มรดกทางวัฒนธรรม ๓.เชิงประวัติศาสตร์ ๔.ตามเทศกาล ๕.การท่องเที่ยวพื้นเมือง และ  ๖ .คืนถิ่นเกิด รูปแบบกิจกรรมไหว้ครูมวยไทยโลกเป็นรูปแบบกิจกรรมที่ผสมรูปแบบการท่องเที่ยวในหลายรูปแบบ ที่จัดต่อเนื่องมากกว่า ๑๕ ปี ได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติมากกว่า ๕๗ ประเทศทั่วโลก และจากสถานกาณ์โรคระบาดจึงได้งดการจัดกิจกรรมชั่วคราวลงในปี พ.ศ.๒๕๖๓ จนถึงปัจจุบันปี พ.ศ.๒๕๖๔ โดยกิจกรรมภายในงานเน้นการจัดกิจกรรมและการขายสิ้นค้าเชิงศิลปะวัฒนธรรม จากสถานการณ์ดังกล่าวจึงเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านผลิตภัณฑ์ของสิ้นค้าท้องถิ่นโดยจัดขายในรูปแบบออนไลน์ และใช้กระบวนแนวคิดปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (๔P) มาผสมผสานคือ ๑.ด้านตัวสินค้า ๒.การกำหนดราคา ๓.ช่องทางการจัดจำหน่าย ๔.การส่งเสริมการตลาด เพื่อนำเสนอเป็นแนวทางในการใช้สำหรับการส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยว สำหรับผู้ประกอบการหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถนำไปใช่ได้อีกแนวทางหนึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าว หรือการปรับใช้เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ทางวัฒนธรรมในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2565). จำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงของปี พ.ศ.2563. ค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2565, จาก ww.facebook.com/people/สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา/100064833367191

กำจร สุนพงษ์ศรี. (2560). สุนทรียศาสตร์ หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปวิจารณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จารุณี ศรีบุรี. (2564, 6 มิถุนายน). อาจารย์ประจำหลักสูตรท่องเที่ยวภาควิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สัมภาษณ์.

ฤดี เสริมชยุต. (2564, 6 มิถุนายน). อาจารย์ประจำหลักสูตรการตลาดอาจารย์ประจำสาขาวิชาการตลาด หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา. สัมภาษณ์.

ธเนศ วงศยานนาวา. (2552). ความไม่หลากหลาย ของความหลากหลายทางวัฒนธรรม.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

ศึกเดช กันตามระ. (2553). แม่ไม้มวยไทย ศิลปะป้องกันตัว. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริพร ณ ถลาง. (2558). ประเพณีสร้างสรรค์ในสังคมร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

ศิริพร ณ ถลาง. (2559). คติชนสร้างสรรค์ บทสังเคราะห์และทฤษฎี. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

สมชาย กิจยรรยง. (2561). กลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับผู้ บริหาร. กรุงเทพฯ: Smart Life.

สิริภา กิจประพฤทธิ์กุล. (2558). ส่วนประสมทางการตลาดบริการ ทัศนคติ และแรงจูงใจในการท่องเที่ยวที่มี อิทธิพลต่อการ ตัดสิน ใจเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศเกาหลีของนักท่องเที่ยวชายไทยใน กรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.