รูปแบบศิลปกรรม คุณค่าและความสำคัญของธรรมาสน์ยาว วัดเชิงท่า สู่แนวทางการอนุรักษ์กระจกเกรียบสมัยอยุธยา

Main Article Content

รัชพล เต๋จ๊ะยา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบศิลปกรรม คุณค่าและความสำคัญของธรรมาสน์ยาว วัดเชิงท่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สู่แนวทางการอนุรักษ์กระจกเกรียบสมัยอยุธยา โดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสารอ้างอิงทั่วไป เอกสารชั้นปฐมภูมิ และเอกสารชั้นทุติยภูมิ รวมถึงการลงพื้นที่เก็บข้อมูล พบว่า ธรรมาสน์ยาวหรือสังเค็ด วัดเชิงท่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นงานศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนกลางระยะปลาย (2) การศึกษาเปรียบเทียบกระจกเกรียบที่ประดับในงานศิลปกรรมธรรมาสน์ยาวของวัดเชิงท่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยากับกระจกเกรียบที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ และ (3) แนวทางการอนุรักษ์กระจกเกรียบสมัยอยุธยาในงานศิลปกรรมของไทย


ผลการศึกษา พบว่างานศิลปกรรมธรรมาสน์ยาววัดเชิงท่า มีการประดับกระจกเกรียบสีต่าง ๆ เช่น กระจกเกรียบสีเขียวปีกแมลงทับ กระจกเกรียบสีเขียวหยก กระจกเกรียบสีเหลืองอำพัน และกระจกเกรียบสีขาว ทั้งนี้ ได้ทำการประดิษฐ์กระจกเกรียบสีเขียวและสีขาวขึ้นมาใหม่ด้วยขั้นตอนกระบวนการผลิตโดยใช้วิธีการดั้งเดิมที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษของผู้วิจัยด้านกระบวนการประดิษฐ์ เมื่อนำกระจกเกรียบที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเปรียบเทียบกับกระจกเกรียบของเก่าในงานศิลปกรรมธรรมาสน์ยาววัดเชิงท่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า มีความกลมกลืนด้านเนื้อและสีที่สามารถพัฒนาต่อยอดสู่การนำไปบูรณะงานศิลปกรรมประดับกระจกเกรียบสมัยอยุธยา โดยการศึกษาในครั้งนี้ยังเป็นการวิเคราะห์รูปแบบงานศิลปกรรมควบคู่ไปกับกระบวนการผลิตกระจกเกรียบแบบดั้งเดิม เพื่อความถูกต้องของหลักฐานด้านอายุสมัย อันเป็นแนวทางการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมศิลปากร. (2473). จดหมายเหตุระหว่างราชทูตลังกาและสยามครั้งกรุงศรีอยุธยา. พิมพ์แจกในการฌาปนกิจศพ นางเอม พุกกะมาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.

การเปรียบเทียบกระจกเกรียบสีขาว บริเวณเสาของธรรมาสน์ยาว วัดเชิงท่า. (2563). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: รัชพล เต๋จ๊ะยา.

การเปรียบเทียบกระจกเกรียบสีเขียวปีกแมลงทับ บริเวณท้องไม้ฐานของธรรมาสน์ยาว วัดเชิงท่า. (2563). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: รัชพล เต๋จ๊ะยา.

การเปรียบเทียบกระจกเกรียบสีเขียวหยก บริเวณเสาของธรรมาสน์ยาว วัดเชิงท่า. (2563). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: รัชพล เต๋จ๊ะยา.

การเปรียบเทียบกระจกแก้วสีขาว กับกระจกเกรียบที่ผลิตขึ้นใหม่ ด้วยวิธีอย่างโบราณ บริเวณท้องไม้ฐานของธรรมาสน์ยาว วัดเชิงท่า. (2563). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: รัชพล เต๋จ๊ะยา. (2563). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: รัชพล เต๋จ๊ะยา.

เกรียงศักดิ์ โชติชูสกุล. (2525). งานประดับกระจกเกรียบ ศิลปวัฒนธรรมไทยเล่ม 6. จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

ขวัญภูมิ วิไลวัลย์. (2557). สมุดภาพลายเส้น ธรรมาสน์แห่งกรุงศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: อาร์ติซาน เพรส.

จุลทัศน์ พยาฆรานนท์. (2509). การประดับกระจกสี. วัฒนธรรมไทย, 6(9), 22.

ท้องไม้ลงรักถมกระจกเกรียบ (สีเหลือง) ประดับไม้แกะสลักลายประจำยาม และ ลายกลีบบัวมีไส้ (ประดับกระจกเกรียบสีขาว) บริเวณฐานของธรรมาสน์ยาว วัดเชิงท่า. (2563). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: รัชพล เต๋จ๊ะยา.

ธนิต อยู่โพธิ์. (2530). “พระมหากรุณาธิคุณ ปกเกล้าฯ” ใน เอกสารเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการกรมศิลปากร.

บราลีเสียบรายประดับไปตามอกไก่หลังคา. (2563). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: รัชพล เต๋จ๊ะยา.

ประยูร อุลุชาฎะ. (2544). ธรรมาสน์ : ศักดิ์และศรีแห่งศิลปะไทย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

พิศุทธิ์ ดารารัตน์. (2542). โครงการศึกษาและทดลองทำกระจกเกรียบสนับสนุนสำนักพระราชวัง. กรุงเทพฯ: กรมวิทยาศาสตร์ทหารบก.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน อักษร ส. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชันส์.

เรือนยอดมีมุขประเจิด นาคเบือน นาคปัก กระจัง ลายรวงผึ้งและบันแถลง. (2563). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: รัชพล เต๋จ๊ะยา.

ลักษณะฐานตกท้องช้างของธรรมาสน์ยาว วัดเชิงท่า. (2563). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: รัชพล เต๋จ๊ะยา.

สมใจ นิ่มเล็ก. (2555). ราชบัณฑิตชาวสวน. กรุงเทพ: สถาบันศิลปะสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ส่วนล่างชุดฐานสิงห์ และล่องถุนโปร่งตีเป็นไม้ขัดกันรูปกากบาท. (2563). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: รัชพล เต๋จ๊ะยา.

สันติ เล็กสุขุม. (2560). ศิลปะอยุธยา : งานช่างหลวงแห่งแผ่นดิน. นนทบุรี: เมืองโบราณ.

สันติ เล็กสุขุม. (2532). ลวดลายปูนปั้นแบบอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ. 2172 – 2310). กรุงเทพฯ:

มูลนิธิ เจมส์ทอมป์สัน.

สุวรรณพร มณีโชติ. (2545). ความรู้ทั่วไปในงานศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.