แนวทางการพัฒนาการตลาดของธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ขนาดเล็ก ในย่านเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

เด่นเดือน เลิศทยากุล ไชยยะ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการตลาดของธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ขนาดเล็กในพื้นที่ย่านเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ซึ่งพบว่าธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ขนาดเล็กมีอัตราการขยายตัวเพื่อรองรับการเพิ่มจำนวนของผู้ประกอบการร้านค้าที่ต้องการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ในการโฆษณาสินค้าของตนเอง โดยมีการปรับรูปแบบธุรกิจให้รองรับงานพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น สามารถประยุกต์ใช้ระบบการพิมพ์ร่วมกับวัสดุอื่นเพื่อส่งเสริมการขายอย่างป้ายร้าน ตลอดจนถึงการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ร่วมกับการจัดนิทรรศการ (Exhibition) ในสื่อกิจกรรม (Event) ต่าง ๆ ที่ทันสมัย ซึ่งกล่าวได้ว่า ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ไม่ได้จำกัดเฉพาะการพิมพ์ในรูปแบบกระดาษแล้วเท่านั้น แต่มีการปรับเปลี่ยนวัสดุเพื่อเพิ่มความคงทน และความน่าสนใจในการใช้งาน นอกจากนี้ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ยังควรมีการพัฒนาเรื่องของเครือข่ายความร่วมมือระหว่างธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยกัน เพื่อแก้ปัญหาการแข่งขันทางด้านราคา และสามารถนำเอาทรัพยากรที่แตกต่างกันของธุรกิจมาร่วมกันได้ เป็นแนวทางในการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลกำไรให้มากยิ่งขึ้น


จากการเก็บข้อมูลจากผู้ใช้บริการธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ 104 คน มีแนวโน้มทางด้านพฤติกรรมการใช้สื่อที่ชี้ให้เห็นว่ามีความต้องการใช้บริการร้าน หรือธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ที่ให้ความสำคัญต่อการใช้สื่อใหม่ (New Media) ในการติดต่อสื่อสาร เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว อีกทั้งผู้ใช้บริการยังเลือกใช้บริการร้านพิมพ์ที่มีคุณภาพ และมีการจัดการส่งเสริมการขาย เช่น การให้ส่วนลด ของแถม เพื่อกระตุ้นยอดขาย มุ่งเน้นการให้บริการที่มีคุณภาพ รวดเร็ว จริงใจ ในราคาที่ผู้ใช้บริการยอมรับได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เกื้อกูล ยืนยังอนันต์. (2529). ความเปลี่ยนแปลงภายในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา. เอกสารวิชาการหมายเลข 59 สถาบันไทยคดีศึกษา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

งานพิมพ์ป้ายโฆษณา ป้ายไวนิลร้านค้า งานตัดเพื่อจัดแสดง. (2564). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: อิษยา ศรีธวัช ณ อยุธยา

งานพิมพ์บนกระดาษ เช่น นามบัตร สติกเกอร์ วารสาร. (2564). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: ปรมาภรณ์ เอ็งวงษ์ตระกูล.

แบบสอบถามออนไลน์ผ่านโปรแกรม Google Form พร้อมการประเมินผล. (2564). [ภาพนิ่ง]. พระนครศรีอยุธยา: เด่นเดือน เลิศทยากุล ไชยยะ

ทิพย์อนงค์ จินตวิจิต. (2562). การล่มสลายของนิตยสารไทย. วารสารศาสตร์, 12(2), 237 – 259.

โมเดลขอบข่ายการดำเนินงานธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ขนาดเล็กในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา. (2564). [แผนภาพ]. พระนครศรีอยุธยา: เด่นเดือน เลิศทยากุล ไชยยะ.

โรงพิมพ์เทียนวัฒนา. (2564). Welcome Tienwattana Printing. ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2564, จาก www.tienprint.com/

วิกานดา พรสกุลวานิช. (2562). สื่อใหม่และการจัดการสื่อ. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วีรทัศน์ อิงคภัทรางกูร. (2558). สื่อจะตรวจสอบทุนได้อย่างไรถ้าการเงินยังวิกฤต [จุลสาร]. กรุงเทพฯ: สภาการหนังสือแห่งชาติ.

ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์. (2559). แนวทางการพัฒนาสิ่งพิมพ์ออนไลน์ในยุคดิจิทัล. วารสารนิด้าภาษาและการสื่อสาร, 21(29), 37-55.

ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง TCIJ. (2562). Media Disruption: EP5 “สื่อสิ่งพิมพ์ไทยในยุค Disrupt ถึงจุดดิ่งสุดแล้วหรือยัง”. ค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2564, จาก www.tcijthai. com/news/2019/11/scoop/9541

สุนันทา ทวีผล. (2550). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการด้านให้คำปรึกษาแนะนำปัญหาด้านกฎหมายของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย 3 (สคช). สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). (2563). รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2563. ค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2564, จาก https://sme.go.th/upload/mod_download/download-20200824164414.pdf

อิษยา ศรีธวัช ณ อยุธยา. (2564, 24 มิถุนายน). เจ้าของกิจการ. บริษัทอโยเดีย อาร์ต แอนด์ คัท จำกัด. สัมภาษณ์

อัศวิน พิชญกุล. (2557). แนวทางการพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์ในอำเภอเมืองจังหวัดลำปาง. การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

Kotler, Philip. (1997). Principles of Marketing. New Jersey: Prentice-Hall.

Scuhutz, W. (1966). The Interpersonal Underworld. Palo Alto, Ca: Science & Behavior Books.

Shih, H.P., (2003). Extended Technology Acceptance Model of Internet Utilization Behavior. Information Management. 41, 719 – 729.