การศึกษาการผลิตกลองแขกของนายสมนึก จินดาวงษ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง การศึกษาการผลิตกลองแขกของนายสมนึก จินดาวงษ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นงานวิจัยที่มุ่งเน้นศึกษาการผลิตกลองแขก รวมถึงลักษณะเฉพาะในการผลิตกลองแขกของนายสมนึก จินดาวงษ์ ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาประวัตินายสมนึก จินดาวงษ์ การเลือกวัสดุในการผลิตกลองแขก กระบวนการผลิตกลองแขก งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาดนตรีด้วยการวิจัยทางมานุษยวิทยา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัย เอกสาร ตำรา บทความ รวมทั้งการเก็บข้อมูลภาคสนาม การสัมภาษณ์บุคคล ผู้มีส่วนร่วมผลิตกลองแขก เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมถูกต้อง จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เรียบเรียง เป็นรูปแบบรายงานการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า การผลิตกลองแขกของนายสมนึก จินดาวงษ์ แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ การคัดเลือกวัสดุ การเตรียมหนัง การทำขอบกลองและหน้ากลอง การสาวกลอง ซึ่งแต่ละขั้นตอนในการผลิตนั้น นายสมนึก จินดาวงษ์ ใช้เคล็ดลับต่าง ๆ เพื่อให้ได้กลองแขกที่มีเสียงกังวาลไพเราะเหมาะสมกับการบรรเลง เป็นที่ยอมรับของนักดนตรีในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดใกล้เคียง นายสมนึก จินดาวงษ์ ได้นำประโยชน์จากเทคโนโลยี วัสดุสังเคราะห์ รวมถึงเครื่องมือช่างที่มีการพัฒนาขึ้นเฉพาะ หาได้ง่ายและราคาถูกในปัจจุบัน มาปรับใช้แทนวัสดุที่หายากและมีราคาสูง ฯลฯ เพื่อพัฒนาคุณภาพกลองแขกและลดต้นทุน การผลิตกลองแขกนั้นทุกขั้นตอนการผลิต ส่งผลต่อคุณภาพเสียงทั้งสิ้น โดยในแต่ละขั้นตอนนายสมนึก จินดาวงษ์ จะทำด้วยตนเองเพื่อควบคุมทุกขั้นตอน ให้ได้กลองแขกที่มีคุณภาพตามต้องการ นอกจากนี้ความสวยงามของหุ่นกลอง สัดส่วนที่ใช้ในการผลิตกลองแขกที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะมีความสำคัญเช่นเดียวกัน นายสมนึก จินดาวงษ์ มิได้ปรับเปลี่ยนกระสวนกลองตามความต้องการของลูกค้า เพื่อคงมาตรฐานสัดส่วนของกลองแขกไว้มิให้คุณภาพกลองแขกเปลี่ยนไป ทั้งนี้นายสมนึก จินดาวงษ์ ได้ถ่ายทอดกระบวนการผลิตกลองแขกที่มีคุณภาพดีนี้สู่ลูกหลาน รวมถึงผู้ที่สนใจในวัฒนธรรมทางดนตรีชนิดนี้ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤษฎา ด่านประดิษฐ์. (2542). ครบเครื่องเรื่องกลองไทย. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม: นครปฐม.
กฤษณุ จันทร์เรือง และคณะ. (2558). กรณีศึกษาช่างผลิตกลองแขก ครูสุวรรณ์ โพธิปิน, สาขาวิชาดนตรีไทย ภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพมหานคร.
กลองแขกตัวผู้ (เสียงสูง) และกลองแขกตัวเมีย (เสียงต่ำ). (2563). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: นภัสนันท์ จุนนเกษ.
กลองแขกที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว. (2563). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: นภัสนันท์ จุนนเกษ.
การขึ้นหน้ากลองแขก. (2563). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: นภัสนันท์ จุนนเกษ.
การเจียเก็บขอบหนังเรียด. (2563). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: นภัสนันท์ จุนนเกษ.
การใช้สแตย์ยึดหน้ากลองกับหุ่นกลอง. (2563). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: นภัสนันท์ จุนนเกษ.
การม้วนหนังเพื่อทำหน้ากลองแขก. (2563). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: นภัสนันท์ จุนนเกษ.
การร้อยหนังเรียดของนายสมนึก จินดาวงษ์. (2563). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: นภัสนันท์ จุนนเกษ.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยา. (2473). ตำนานเครื่องมโหรีปี่พาทย์. พระนคร: บางกอกไตมส์. [พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานพระราชทานเพลิงศพคุณหญิงมโนปกรณ์นิติธาดา (นิติ มโนปกรณ์นิติธาดา) ตจ. รัตน ปปร 4 เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2473].
นายสมนึก จินดาวงษ์. (2563). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: นภัสนันท์ จุนนเกษ.
นำหนังหน้ารุ่ยแช่น้ำมันมะพร้าว. (2563). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: นภัสนันท์ จุนนเกษ.
พัชรินทร์ ธีรวัฒนาปกรณ์. (2544). การผลิตโทน-รำมะนา ของช่างจ้อน ไทรวิมาน. ภาควิชาศิลปนิเทศ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ภูมิใจ รื่นเริง. (2551). กรรมวิธีการสร้างกลองแขกของครูเสน่ห์ พักตร์ผ่อง. สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย ภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพมหานคร.
มนตรี ตราโมท. (2522). ดนตรีไทยอุดมศึกษาครั้งที่ 12 การบรรเลงปี่พาทย์ในงานพระราชพิธี. กรุงเทพมหานคร.
แสดงส่วนประกอบของกลองแขก. (2563). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: นภัสนันท์ จุนนเกษ.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2537). ปี่ชวา-กลองแขก เครื่องประโคมของชวา-มลายูไทยรับมาผสมเป็นปี่พาทย์นางหงส์ วงบัวลอย. ค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2564 จาก https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_396790
สิริรักษ์ ชูสวัสดิ. (2540). กระบวนการถ่ายทอดการประโคมด้วยเครื่องประโคมประกอบพระราชอิสริยยศพระมหากษัตริย์ ในสมัยรัตนโกสินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสารัตถศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สหวัฒน์ ปลื้มปรีชา. (2544). วงกลองแขก : วงปี่กลองในพระราชพิธีไทย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. ศิลปศาสตร์ (วัฒนธรรมศึกษา), มหาวิทยาลัยมหิดล.
หนังวัวหรือหนังควาย. (2563). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: นภัสนันท์ จุนนเกษ.
หน้ากลองแขกที่ตากแดดแล้วนำมาตอกตะปูยึดหนัง. (2563). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: นภัสนันท์ จุนนเกษ.