ฉากทัศน์ชุมชนเทศบาลตำบลมหาพราหมณ์ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา: มุมมองจากหลากหลายภาคส่วนในท้องถิ่น

Main Article Content

อัครวินท์ ศาสนพิทักษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ชุมชนและศึกษาฉากทัศน์ชุมชนของเทศบาลตำบลมหาพราหมณ์ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยอาศัยวิธีวิทยาการประเมินชนบทอย่างเร่งด่วน (Rural Rapid Appraisal: RRA) ซึ่งประกอบด้วยการสำรวจข้อมูลชุมชนและจัดการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group Discussion : FGD) จากผู้แทนภาคส่วนในชุมชนที่หลากหลาย จำนวน 15 คน ประกอบด้วย ผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนจากผู้นำชุมชน และผู้แทนจากองค์กรภาคประชาสังคม ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า สถานการณ์ในชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากในสามด้าน คือ สิ่งแวดล้อม นโยบายการพัฒนานอกพื้นที่ และโครงการพัฒนาขนาดใหญ่จากภาครัฐ ในส่วนของฉากทัศน์ชุมชนแห่งนี้ พบว่า ในระยะ 5 ปี พื้นที่แห่งนี้น่าจะมีความสมบูรณ์ของโครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่น กลุ่มธุรกิจดั้งเดิมอาจจะหายไป และประชาชนในพื้นที่จะออกไปประกอบอาชีพนอกพื้นที่ ในระยะ 10 ปี พบว่า ประชาชนในวัยแรงงานในพื้นที่อาจจะย้ายไปประกอบอาชีพนอกพื้นที่ ซึ่งอาจส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและเด็ก ระยะ 15 ปี พบว่าในพื้นที่อาจจะมีการประกอบอาชีพในรูปแบบใหม่ และในระยะ 20 ปี คาดว่าความเป็นเมืองอาจจะเข้ามาสู่ในพื้นที่ท้องถิ่นนี้ จนไม่สามารถแยกออกได้ว่าพื้นที่นี้เคยมีสภาพความเป็นชุมชนชนบทมาก่อน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไชยมนู กุนอก และปิยพงษ์ บุษบงก์. (2561) . ฉากทัศน์การบริหารจัดการเครือข่ายการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่นเชิงเกษตรที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน: กรณีชุมชนบ่อแกและบ่อทอง อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง, 8(1) ,118 -134.
เทศบาลตำบลมหาพราหมณ์. (2563). แผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลมหาพราหมณ์ 2563 – 2567.
นงนภัส คู่วรัญญู เที่ยงกมล (2551). การวิจัยเชิงบูรณาการแบบองค์รวม. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาวิดา เจริญจินดารัตน์ และดวงกมล ปานรศทิพ ธรรมาธิวัฒน์ (2561)งานวิจัยท้องถิ่นเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 36 (2), 152-161.
อภิวัฒน์ รัตนวราหะ (2563) อนาคตศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2 เชียงใหม่: แผนงานบูรณาการยุทธศาสตร์เป้าหมายด้านสังคมคนไทย 4.0