การประสานเครือข่ายทางสังคมในการอนุรักษ์มรดกโลกทางวัฒนธรรม: ศึกษากรณีนครประวัติศาสตร์ภาคกลาง

Main Article Content

ปกรณ์ กำลังเอก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาบริบทเครือข่ายพื้นที่มรดกโลกทางวัฒนธรรม นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา (2) เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมทางสังคมในการอนุรักษ์มรดกโลกทางวัฒนธรรม นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา (3) เพื่อศึกษารูปแบบและการดำเนินการในการประสานเครือข่ายทางสังคม ตลอดถึงความเข้มแข็งของเครือข่ายทางสังคมในการอนุรักษ์มรดกโลกทางวัฒนธรรม นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา (4) เพื่อศึกษาแนวทางในการเพิ่มศักยภาพการประสานเครือข่ายทางสังคมในการอนุรักษ์มรดกโลกทางวัฒนธรรม นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ


ผลการวิจัยพบว่า 1) นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเป็นพื้นที่พิเศษ เพราะมีการดำเนินกิจกรรมของผู้คนทับซ้อนบนพื้นที่โบราณสถาน ดังนั้นจึงต้องมีการอนุรักษ์ควบคู่ไปกับการพัฒนา โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงานทั้งจากส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีกฎหมายเฉพาะ มีระเบียบ และข้อบัญญัติ เป็นเครื่องมือในการดำเนินการตามหน้าที่ของตน ซึ่งการดำเนินงานจะต้องอยู่ภายใต้แผนแม่บทโครงการอนุรักษ์และพัฒนานครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา 2) ภาครัฐเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนและภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์น้อยมาก และมีเพียงบางขั้นตอนเท่านั้น 3) รูปแบบการประสานเครือข่ายทางสังคมเป็นรูปแบบที่ภาครัฐมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการดำเนินการอนุรักษ์ อีกทั้งเครือข่ายทางสังคมในการอนุรักษ์มรดกโลกทางวัฒนธรรม นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ไม่มีความเข้มแข็ง 4) แนวทางในการเพิ่มศักยภาพการประสานเครือข่ายทางสังคม ในการอนุรักษ์มรดกโลกทางวัฒนธรรม นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา มีแนวทาง 4 ประเด็น ได้แก่ (1) ประเด็นมาตรการทางกฎหมาย ควรมีการปรับปรุงกฎหมายที่มีความซ้ำซ้อน และไม่ทันต่อกาลสมัย ทั้งเสนอให้มีการจัดตั้งองค์กรพิเศษในการบริหารจัดการนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา (2) ประเด็นการอนุรักษ์ ควรเพิ่มจำนวนอาสาสมัครในการอนุรักษ์มรดกของชาติ (3) ประเด็นการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งเผยแพร่ความรู้ในการอนุรักษ์ให้แก่ภาคประชาชน และ (4) ประเด็นการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ภาครัฐควรเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ในทุก ๆ ขั้นตอน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. (2550). แนวทางการอนุรักษ์โบราณสถานสำหรับสงฆ์. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม

ถวิลวดี บุรีกุล. (2548). การมีส่วนร่วม แนวคิดทฤษฎีและกระบวนการ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ธาตรี มหันตรัตน์, นรินทร์ อุ่นแก้ว และคณะ. (2559). บูรณาการองค์รวม: แนวทางคุ้มครองมรดกโลก กรณีอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 3(2).

ธาตรี มหันตรัตน์. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลกแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวารอย่างยั่งยืน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (อาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม), มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

บัณฑิต ถึงลาภ. (2558). ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ และพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504. รายงานการศึกษาส่วนบุคคล, สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม.

ปฤถา พรหมเลิศ. (2548). การประสานเครือข่ายทางสังคมในการป้องกันอุทกภัย ในเขตลุ่มน้ำปิงตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (สังคมวิทยา) บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2543). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.).

พระมหาสุทิตย์อาภากโร. (2547). เครือข่าย: ธรรมชาติ ความรู้ และการจัดการ. กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.).

ภัทรานิษฐ์ ศุภกิจโกศล, กาหลง กลิ่นจันทร์,วันธณี สุดศิริ, สาระ มีผลกิจ และ บุรพร กาบุญ. (2554). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการแหล่งมรดกโลก กรณีศึกษา: อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย – ศรีสัชนาลัย – กำแพงเพชร. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.

ภูมิ มูลศิลป์. (2553). ความซ้ำซ้อนของกฎหมายในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ. วารสารสมาคมประวัติศาสตร์, 32.

วิมลลักษณ์ ชูชาติ. (2540). การนำเสนอรูปแบบของกระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้สำหรับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้. ดุษฎีนิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตพัฒนาศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอนก สีหามาตย์. (2544). บทบาทการอนุรักษ์โบราณสถานของกรมศิลปากร. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Participation’ s place in rural development: Seeking clarity Through specificity. World Development, 8, 213-235.

Rice, P. L., & Ezzy, D. (1999). Qualitative research methods: A health focus. South Melbourne, Victoria: Oxford University Press.

UNESCO. (1972). Convention ConncerningThe Protection of the world cultural and natural heritage. RetrievedNovember 5, 2015,from Whc.UNESCO.org/ en/ conventiontext/