ภูมิปัญญาทางอาหารในช่วงอุทกภัยของชาวบ้านในหมู่บ้าน หัวตะพานมอญ ตำบลวัดยม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

นพา ลีละศุภพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาและรวบรวมภูมิปัญญาทางอาหารในการจัดการตนเองในช่วงอุทกภัยของชาวบ้านในหมู่บ้านหัวตะพานมอญ และ 2. เพื่อวิเคราะห์และถอดบทเรียนภูมิปัญญาทางอาหารในการจัดการตนเองในช่วงอุทกภัยของชาวบ้านในหมู่บ้านหัวตะพานมอญ ตำบลวัดยม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาในการจัดการด้านอาหารของชาวบ้านในชุมชน 3 ขั้นตอน คือ 1) การเตรียมอาหาร เช่น ข้าวสาร ผักสวนครัว พริกแห้ง และการเตรียมเชื้อเพลิง 2) การถนอมอาหาร เช่น กะปิกุ้ง ปลาร้า น้ำปลา ปลาเค็ม ปลาย่าง การดองผักต่าง ๆ ได้แก่ ผักบุ้ง มะละกอ สายบัว ผักตับเต่า หน่อไม้ ดอกโสน และ 3) การประกอบอาหาร เช่น ต้มยำปลา  ต้มยำปลาย่าง ต้มยำกุ้ง  ผัดมะละกอดองใส่ไข่  ผัดดอกโสน ผัดสายบัว ผัดผักบุ้งดองใส่ปลา แกงผักบุ้ง แกงกะทิสายบัว แกงส้มผักต่าง ๆ ปลาทอด น้ำพริกปลาร้า น้ำพริกกะปิ ปลาร้าสับ ผักดอง  ทั้งนี้การวิเคราะห์และถอดบทเรียนที่ได้จากการจัดการตนเองทางด้านอาหารในช่วงอุทกภัย สะท้อนให้เห็นความชาญฉลาดทางภูมิปัญญาของชาวบ้านในการเรียนรู้ธรรมชาติและจัดการตนเอง เพื่อเตรียมความพร้อมในช่วงอุทกภัย โดยนำเอาวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นและตามฤดูกาลมาดัดแปลงเป็นอาหาร เพื่อรับประทาน มานานกว่า 50 ปี โดยมีเพียงเรือลำเล็ก ๆ ก็สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จำนงค์ ตรีนุมิตร. (2553). การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นทางวัฒนธรรมด้านอาหารพื้นบ้านของชุมชนบางกระดี่. กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัย ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

จงกล เพ็งสุข. (2556, 16 พฤษภาคม). ปราชญ์ชาวบ้านหมู่บ้านหัวตะพานมอญ ตำบลวัดยม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สัมภาษณ์.

ปรีดา นาข้าวหอม. (16 พฤษภาคม 2556). ปราชญ์ชาวบ้านหมู่บ้านหัวตะพานมอญ ตำบลวัดยม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สัมภาษณ์.

วันดี จันทร์อนันต์. (16 พฤษภาคม 2556). ผู้นำชุมชนหมู่บ้านหัวตะพานมอญ ตำบลวัดยม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สัมภาษณ์.