ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยาและญี่ปุ่น ตั้งแต่ พ.ศ.2149 ถึง พ.ศ.2310
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยาและญี่ปุ่น ตั้งแต่ พ.ศ.2149 จนถึง พ.ศ.2310 ซึ่งเป็นสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถจนสิ้นสมัยอยุธยา วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เอกสาร บันทึก พงศาวดาร หนังสือ บทความ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอข้อมูลในภาพแนวราบตามลำดับเหตุการณ์ ควบคู่กับการวิเคราะห์เชิงพรรณนาตามวิธีการทางประวัติศาสตร์
ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับญี่ปุ่นได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการใน พ.ศ.2149 ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถด้วยการทูตและการค้าสำเภา และมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม โดยมีชาวญี่ปุ่นที่มียศขุนนางไทย คือ ออกญาเสนาภิมุข หรือยามาดานากามาสะ เป็นผู้เชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างสองอาณาจักร ซึ่งการติดต่อระหว่างอยุธยาและญี่ปุ่นในยุคนี้ ให้ความสำคัญเรื่องการค้าทางเรือสำเภา และการทูต อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับญี่ปุ่นเริ่มเสื่อมคลายลงในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองเป็นต้นมา เนื่องจากผู้นำอาณาจักรอยุธยามีนโยบายกำจัดชาวต่างชาติ เพราะเกรงว่าจะเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในอยุธยา ในขณะที่ฝ่ายญี่ปุ่นก็มีนโยบายปิดประเทศ คือห้ามคนญี่ปุ่นเดินทางออกนอกประเทศ และห้ามชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในญี่ปุ่น ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับญี่ปุ่น จึงค่อย ๆ ยุติลงไปตราบจนสิ้นสมัยอยุธยา
Article Details
References
กรมศิลปากร. (2513). บันทึกเรื่องสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศในศตวรรษที่ 17 เล่ม 2. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
กรมศิลปากร. (2548). รวมบันทึกประวัติศาสตร์อยุธยาของฟาน ฟลีต (วัน วลิท). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
กุลชลี กลิ่นกรอง. (2539). “ประวัติความเป็นมาหมู่บ้านญี่ปุ่น”. สยามอารยะ. 3 (35), มกราคม: 16-26.
ขจร สุขพานิช. (2521). “การต่างประเทศในแผ่นดินพระเอกาทศรถ”. วารสารประวัติศาสตร์. 3 (1), มกราคม-เมษายน: 77-92.
เขียน ธีรวิทย์. (2517). ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่น (สิ้นสุดปี พ.ศ.2517). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ขุนวิจิตรมาตรา. (2516). ประวัติการค้าไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บัณฑิตการพิมพ์.
ไข่มุก อุทยาวลี. (2549). “สถานภาพเมืองปัตตานีในประวัติศาสตร์ช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 : ด้านความสัมพันธ์กับประเทศญี่ปุ่น”. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 12 (1), มกราคม-มีนาคม: 145-159.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2543). อยุธยา : ประวัติศาสตร์และการเมือง. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และคนอื่น ๆ. (2550). ข้อมูลและลำดับเหตุการณ์ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ซาเตา, เซอร์เออเนสต์. (2524). ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 20 จดหมายเหตุเรื่องทางไมตรีระหว่างกรุงศรีอยุธยากับกรุงญี่ปุ่น. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงจินดาสหกิจ (ละม้าย ธนะศิริ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง กรุงเทพมหานคร, 11 มกราคม 2524).
ณัฐชวนันท์ จันทคนธ์. (2519). ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ พ.ศ.2430 ถึง พ.ศ.2483. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณัฐสุดา คีรีเพชร. (2556). สนธิสัญญาการค้าระหว่างอยุธยากับฮอลันดาในปี ค.ศ.1664. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตนิติเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ถนอม อานามวัฒน์. (2542). “สัมพันธไมตรีระหว่างไทยกับญี่ปุ่นสมัยกรุงศรีอยุธยา”. วารสารประวัติศาสตร์. ฉบับพิเศษปี พ.ศ.2542: 54-66.
ทวี ธีระวงศ์เสรี. (2524). สัมพันธภาพทางการเมืองระหว่างไทยกับญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ธนิดา กำปั่นทอง. (2539). ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น พ.ศ.2491-2530. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พงศ์ธิดา เกษมสิน. (2528). “บทบาทของชาวญี่ปุ่นต่อการเมืองภายในอยุธยาช่วงกลาง”. วารสารไทย-ญี่ปุ่นศึกษา. 2 (1) มกราคม : 73-85.
พัชรี สิโรรส. (บรรณาธิการ). (2544). ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น : ดูจากสนธิสัญญาและข้อตกลงในรอบ 100 ปี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พลับพลึง คงชนะ. (2536). “หมู่บ้านญี่ปุ่นที่อยุธยา”. วารสารไทย-ญี่ปุ่นศึกษา. 10 (1) : 50-64.
พลับพลึง คงชนะ. (2551). “ยามาดะ นากามาสะที่อยุธยาและนครศรีธรรมราช” ใน เอกสารประกอบสัมมนาวิชาการเรื่องโลกของอิสลามและมุสลิมในอุษาคเนย์. ณ โรงแรมทวินโลตัส นครศรีธรรมราช 28-29 พฤศจิกายน 2551 : หน้า 1-18.
เพ็ญศรี กาญจโนมัย. (2527). “วิวัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างไทยและญี่ปุ่น”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 14 (2), พฤษภาคม-ธันวาคม : 87-100.
รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล. (2560). พระศรีสรรเพชญ์ไม่ถูกไฟเผาลอกทอง ตอน กรุงแตก. กรุงเทพฯ: มติชน.
วราภรณ์ ทินานนท์. (2522). การค้าสำเภาของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุกลรัตน์ ธาราศักดิ์. (2531). สัมพันธไมตรีระหว่างไทยกับญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
ศิริเพ็ญ วรปัสสุ. (2553). การศึกษาความสัมพันธ์ไทยและญี่ปุ่นสมัยอยุธยา-รัตนโกสินทร์ ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จากหลักฐานทางโบราณคดี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมจัย อนุมานราชธน. (2509). การทูตของไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา. พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์.
สุรางค์ศรี ตันเสียงสม. (2520). ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรางค์ศรี ตันเสียงสม. (ผู้รวบรวมและเรียบเรียง). (2528). 380 ปี สัมพันธไมตรีญี่ปุ่น-ไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท มังกรการพิมพ์และโฆษณา จำกัด.
อนงคณา มานิตพิสิฐกุล. (2545). ไทยกับจีนและญี่ปุ่นสมัยอยุธยา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
อิชิอิ, โยเนะโอ และโยชิกาวะ, โทชิฮารุ. (2542). ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 600 ปี. ชาญวิทย์ เกษตรศิริและสายชล วรรณรัตน์ (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
อีอิโอกะ นาโอโกะ. (2544). การค้าสำเภาระหว่างไทยกับญี่ปุ่นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฮิบรอฮิม ซุกรี. (2525). ตำนานเมืองปัตตานี. หะสัน หมัดหมาน (แปล). ปัตตานี: ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้.
Liem, Vu Due. (2011). Japanese Military Involvement in Ayutthaya, 1600-1630. Bangkok : Asian Research Center for Migration, Chulalongkorn University. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2563 จาก http://arcmthailand.com
Nishioka, Hideo. (1977). A Chronological History Between Japan and Thailand. Tokyo: Keio University Press.
Pensri Duke. (1985). “The Political and Economic Role of Japan in Thailand in the Reign of King Chulalongkorn (1868-1910)” วารสารญี่ปุ่นศึกษา. 2 (5), กรกฎาคม-กันยายน : 119-140).
Piyada Chonlawon. (2004). “Relations Between Ayutthaya and Ryukyu”. Journal of Siam Society. 92, 2004 : 43-63.
Smith, George Vinal. (1974). The Dutch East India Company in the Kingdom of Ayutthaya, 1604-1694. Illinois : Northern Illinois University Press.
Yoko, Nagazumi. (1999). “Ayutthaya and Japan : Embassies and Trade in the Seventeenth Century” in From Japan to Arabia : Ayutthaya Maritime Relations with Asia. pp.89-103. Kennon Breezeale (ed.). Bangkok : The Foundation for the Promotion of Social Sciences and Humanities Textbooks Project.