การศึกษาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ของประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ (1) ศึกษาความต้องการความช่วยเหลือจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ของประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2) ศึกษาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ของประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ (3) เสนอแนวทางเชิงนโยบายเกี่ยวกับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ความต้องการความช่วยเหลือของประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) การลดหย่อนภาษีประเภทต่าง ๆ 2) การลดค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ 3) การส่งเสริมการฝึกอาชีพ 4) การให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และ 5) การจ้างงานระยะสั้น (2) ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจอยู่ในระดับมาก รองลงมาด้านการศึกษาอยู่ในระดับมาก และด้านสังคมอยู่ในระดับปานกลาง และ (3) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1) ด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลควรกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 2) ด้านการศึกษา สถานศึกษาควรวางแผนการจัดเรียนการสอนที่เหมาะสมซึ่งนักเรียนนักศึกษาทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย และประหยัดค่าใช้จ่าย กรณีมีการแพร่ระบาดอีกครั้ง และ 3) ด้านสังคม รัฐบาลควรให้ความรู้แก่ประชาชนทุกช่วงวัยในการป้องกันในระยะก่อนเกิดโรคและการป้องกันในระยะเกิดโรคอย่างทั่วถึง
Article Details
References
กรมควบคุมโรค. (2564). แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 64 ของประเทศไทย. ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2564, จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1729520210301021023.pdf
กรมควบคุมโรค. (2564). แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด 19 สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง. ค้นเมื่อ 17 มกราคม 2564, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/int_protection/int_protection_030164.pdf
กรมควบคุมโรค. (2564). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). ค้นเมื่อ 16 มกราคม 2564, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/situation.php
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทยหลังโควิด 19 : โรคปฏิวัติโลก ยกเครื่องสู่อนาคตวิถีชีวิตใหม่. ค้นเมื่อ 25 มกราคม 2564, จาก https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256303_CoverStory.aspx
พงศ์ทัศ วนิชานันท์. (2564). การศึกษาพื้นฐานในยุคโควิด-19: จะเปิด-ปิดโรงเรียนอย่างไร?. ค้นเมื่อ 25 มกราคม 2564, จาก https://tdri.or.th/2020/05/basic-education-in-covid-19-crisis-reopening-school-after-lockdown/
ยงยุทธ แฉล้มวงษ์. (2563). ผลกระทบโควิด-19 ต่อตลาดแรงงาน ผลวิเคราะห์ month-on-month. ค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://tdri.or.th/2020/06/covid-19-labour-market-impact-in-thailand/
ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์. (2563). การดำเนินงานสุขภาพจิตภายใต้วิกฤตโควิด 19 ของประเทศไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 28(4), 280-291.
รัฐสภา. (2563). สรุปมาตรการและการดำเนินงานของไทยต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2563, จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=69274
ศูนย์บริหารสถานการณ์แก้ไขการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2563). ข้อมูลสถานการณ์ผู้ติดเชื้อ. ค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2563 จาก https://covid.ayutthaya.go.th/frontpage
สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2563). แผนพัฒนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (พ.ศ.2561-2564) ฉบับทบทวน. ค้นเมื่อ 1 กันยายน 2563 จากhttp://www.ayutthaya.go.th/strategic/pnewall.php?selnews=24
Hfocus. (2563). องค์การอนามัยโลกประกาศ'โควิด-19'เข้าสู่ภาวะ'ระบาดใหญ่'ทั่วโลกแล้ว. ค้นเมื่อ 16 มกราคม 2564,จาก https://www.hfocus.org/content/2020/03/18661