บริบททางประวัติศาสตร์ของปราสาทนครหลวง ที่สัมพันธ์กับบริบทของชุมชนโดยรอบปราสาทหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ชเนตตี พุ่มพฤกษ์
ชาลีวัฒน์ จิตต์โสภา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประวัติของปราสาทนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2) ศึกษาบริบททางประวัติศาสตร์ของอำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ (3) ศึกษาบริบทของชุมชนโดยรอบปราสาทนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีการเชิงใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ด้วยการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ท้องถิ่นซึ่งมีวิธีวิทยาที่สำคัญ คือ เก็บข้อมูลจากภาคสนามโดยตรง และวิจัยจากเอกสารและข้อมูลทางวิชาการเป็นส่วนประกอบ ผู้วิจัยใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า และนำข้อมูล ที่ได้มาวิเคราะห์โดยการพรรณนา (Descriptive research) โดยผลการวิจัยพบว่า แม้ในปัจจุบันด้วยความเปลี่ยนแปลงไปของการดำเนินชีวิตของประชาชนและผู้คนในพื้นที่อำเภอนครหลวง ทำให้รอบปราสาทนครหลวงกลายเป็นที่ตั้งของชุมชนแออัดและมีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากอีกทั้งยังมีการปล่อยปละละเลยให้เกิดฝุ่นละอองและขยะมูลฝอยรอบปราสาทนครหลวงจนเกิดภาพที่ไม่น่าดูขึ้น ซึ่งผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะสำคัญ 4 ด้าน เพื่อการศึกษาวิจัยต่อไป คือ (1) การวิจัยด้านประชาชน (2) การวิจัยด้านบุคลากรรัฐ(3) การวิจัยด้านชุมชน และ (4) การวิจัยเปรียบเทียบ ทั้งเชิงบวกและเชิงลบเพื่อนำไปวิเคราะห์และแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ดีขึ้นรอบปราสาทนครหลวงต่อไปในฐานะมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอีกแห่งหนึ่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติ โล่เพชรัตน์. (2557). มรดกอยุธยา. กรุงเทพฯ: ก้าวแรก.

เกรียงไกร เกิดศิริ, อิสรชัย บูรณะอรรจน, บุณยกร วชิระเธียรชัย, ปรมพร ศิริกุลชยานนท. (2561). ปราสาทนครหลวง อยุธยา. วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม. 33, 71-90.

กรมศิลปากร. (2538). แนวทางการจัดการโบราณสถานในบัญชีมรดกทางวัฒนธรรมของโลก. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ.

กรมศิลปากร. (2558). นิราศวัดเจ้าฟ้า (ฉบับตรวจสอบชำระ พ.ศ. 2558). (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม.

กำพล จำปาพันธ์. (2556). อยุธยากับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ :พื้นฐานทางประวัติศาสตร์และสังคมวัฒนธรรม ใน เปิดประตูอยุธยาสู่ประชาคมอาเซียน. เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปี 2556 ณ อาคาร 100 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2529). บ้านกับเมือง. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชลลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2560). เสน่ห์ของบทละครพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช. กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหามหาวิทยาลัย.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2542). อยุธยา: ประวัติศาสตร์และการเมือง. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์และมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2543). ชีวิตและงานของสุนทรภู่. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: บรรณาคาร.

ตรียากานต์ พรมคำ. (2557). การศึกษาบริบทชุมชนเพื่อการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวในเขตตำบลหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์, 1(2), 76-90.

นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2550). กถาพัฒนากร. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

บังอร บุญปั้น. (2561). กลุ่มชาติพันธุ์ลาวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา: ประวัติความเป็นมา วัฒนธรรมและแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(1).

บุญเตือน ศรีวรพจน์. (2543). คำฉันท์สรรเสริญพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหลวงปราสาททอง. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

บูรพา โชติช่วง. (2557, 4 ตุลาคม). ปราสาทนครหลวง มรดก”กรุงเก่า” ที่ถูกลืม, สยามรัฐ.

ปารวี ไพบูลย์ยิ่ง. (2562). นายรอบรู้ นักเดินทาง พระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: สารคดี.

ภาพการรุกคืบของชุมชนและอุตสาหกรรมที่กระทบปราสาทนครหลวง. (2561). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: ชเนตตี พุ่มพฤกษ์.

มีด "อรัญญิกอยุธยา" ปลีก-ส่ง. (2561). มีดอรัญญิกประดับเครื่องมุก. ค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561, จาก https://www.facebook.com/kaimeedAyutthaya

มีดอรัญญิกแท้ แท้ หลากหลายให้เลือก. (2561). ภาพมีดอรัญญิกที่มีให้เลือกตามคุณสมบัติการใช้งาน. ค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561 จาก www.facebook.com/knifethai

ราชกิจจานุเบกษา. (2478). โบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. เล่ม 52, ตอนที่ 75 หน้า 3679-3717. กรุงเทพมหานคร.

วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. (2559). การตั้งถิ่นฐานในเขตดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา. ค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2560, จาก https://lek-prapai.org/home/view.php?id=839

ศิลาพระจันทร์ลอยภายในบริเวณปราสาทพระนครหลวง. (2561). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: ชเนตตี พุ่มพฤกษ์.

ศูนย์ข้อมูลกลางวัฒนธรรม. (2555). ปราสาทนครหลวง. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงวัฒนธรรม.

สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2561). ข้อมูลพื้นฐาน อำเภอนครหลวง. ค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561, จาก ww2.ayutthaya.go.th/ amphur_content/ cate/3

สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา กรมศิลปากร. (2551). รายงานการบูรณะมณฑปวัดกลาง ตำบลนครหลวง อำเภอ นครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ม.ป.ท.: พัทธกร.

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงความยั่งยืนของพระพุทธศาสนา ที่อยู่เคียงคู่ปราสาทนครหลวง.(2561). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: ชเนตตี พุ่มพฤกษ์.

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง. (2561). กลุ่มทำเครื่องใช้ประดับมุก. พระนครศรีอยุธยา: องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง ตำบลหนองปลิง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.

kaimeedAyutthaya. (2561). มีดอรัญญิกประดับเครื่องมุก. ค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561, จาก www.facebook.com/kaimeedAyutthaya

knifethai. (2561). มีดอรัญญิกที่มีให้เลือกตามคุณสมบัติการใช้งาน. ค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561, จาก www.facebook.com/knifethai

Mgronline. (2563). เมืองกรุงเก่าชวนนุ่งไทย “ชมปราสาท ตักบาตรเทโว” 2-3 ต.ค.นี้. ค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2563, จาก https://mgronline.com/local/detail/9630000093475

Touronthai. (2561). หมู่บ้านทำมีดอรัญญิก. ค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561, จาก www.touronthai.com/article/2135