ทักษะการเขียนเรื่องสั้นของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3

Main Article Content

ปราโมทย์ ระวิน
รัตนชัย ปรีชาพงศ์กิจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ลักษณะสำคัญในการเขียนเรื่องสั้น และ 2) ศึกษาวิธีการเขียนเรื่องสั้นของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 โดยศึกษาจากผลงานการเขียนเรื่องสั้นจำนวน 184 ผลงาน ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 184 คน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 29 โรงเรียน พบว่า การเขียนเรื่องสั้นของนักเรียนเหล่านี้มีเนื้อหานำเสนอการปฏิสัมพันธ์กับครอบครัว เพื่อน คู่รัก การเรียนการใช้ชีวิต และการใช้จินตนาการแต่งเรื่องสมมุติ ส่วนวิธีการเขียน ส่วนใหญ่นำเสนอแก่นเรื่องตรงไปตรงมา วางโครงเรื่องไม่ซับซ้อน สร้างตัวละครน้อยลักษณะและฉากไม่ชัดเจน ใช้มุมมองทั้งแบบตัวละครสำคัญเป็นผู้เล่าโดยใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 และแบบผู้แต่งรู้แจ้งเห็นจริงเป็นผู้เล่า และใช้บทสนทนาช่วยสร้างความสมจริง เหล่านี้แสดงถึงทักษะการเขียนเรื่องสั้นแบบไม่ซับซ้อน นำเรื่องใกล้ตัวมาเขียน และเขียนให้มีลักษณะเป็นเรื่องแต่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศินี จุฑาวิจิตร. (2550). มองเรื่องให้เห็นภาพ: ภาพสะท้อนสังคมและโลกทัศน์นักเขียนจากเรื่องสั้นยุควิกฤติเศรษฐกิจ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

เถกิง พันธุ์เถกิงอมร. (2541). นวนิยายและเรื่องสั้น การศึกษาเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์. สงขลา: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสงขลา.

พัฒจิรา จันทร์ดำ. (2547). การอ่านและการวิจารณ์เรื่องสั้น. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.

เพลินตา. (2543). โรงเรียนนักเขียน ศิลปะการเขียนสอนกันไม่ได้แต่เรียนรู้ได้. กรุงเทพฯ: บ้านหนังสือ.

ไพโรจน์ บุญประกอบ. (2539). การเขียนสร้างสรรค์: เรื่องสั้น-นวนิยาย. กรุงเทพฯ: บริษัทสามัคคีสาร (ดอกหญ้า) จำกัด.

มาโนช ดินลานสกูล. (2547). การอ่านและการเขียนบันเทิงคดี. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ยุรฉัตร บุญสนิท. (2538). วรรณวิจารณ์. สงขลา: ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้.

วรรณี พุทธเจริญทอง. (2532). วิเคราะห์แนวการเขียนเรื่องสั้นที่ได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองในรอบทศวรรษ (ตุลาคม 2516-2526). กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยเสริมหลักสูตร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สรณัฐ ไตลังคะ. (2560). ศาสตร์และศิลป์แห่งการเล่าเรื่อง. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุดารัตน์ เสรีวัฒน์. (2522). วิวัฒนาการของเรื่องสั้นในเมืองไทย ตั้งแต่แรกจนถึง พ.ศ. 2475. กรุงเทพฯ: ภาคพัฒนาตำราและเอกสารวิชาการ หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู.

สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (2559). ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เรื่องสั้น “คน=คน” (นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 โรงเรียนอยุธยานุสรณ์, 2562)

เรื่องสั้น “ความกตัญญูของลูกที่มีต่อพ่อแม่” (นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย, 2562)

เรื่องสั้น “ความกตัญญูคือหนทางแห่งความสำเร็จ” (นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนอยุธยานุสรณ์, 2562)

เรื่องสั้น “ฉันเป็นต้นไม้” (นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์, 2562)

เรื่องสั้น “มิตรภาพที่ดี” (นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนบางปะหัน, 2562)

เรื่องสั้น “รักไม่ยุ่งมุ่งแต่เรียน” (นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนปากกรานพิทยา, 2562)

เรื่องสั้น “ความทรงจำที่กาลเวลาไม่สามารถลบเลือน” (นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย, 2562)

เรื่องสั้น “ความรักไม่ผิดแต่ผิดที่เวลา” (นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนนครหลวง “อุดมรัชต์วิทยา”, 2562)

เรื่องสั้นที่ไม่มีชื่อเรื่อง (นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย, 2562)

เรื่องสั้นที่ไม่มีชื่อเรื่อง (นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์, 2562)

เรื่องสั้นที่ไม่มีชื่อเรื่อง (นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 โรงเรียนบางไทรวิทยา, 2562)

เรื่องสั้นที่ไม่มีชื่อเรื่อง (นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 โรงเรียนบางปะหัน, 2562)