ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่กลายเป็นสินค้าเพื่อการท่องเที่ยวในตำบลคลองจิก อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

อรอุมา โพธิ์จิ๋ว
สาธิยา รื่นชล
อายุวัฒน์ ค้าผล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของบทความนี้ (1) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่กลายเป็นสินค้าเพื่อการท่องเที่ยวในตำบลคลองจิก อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2) เพื่อศึกษาศักยภาพความพร้อมของภูมิปัญญาท้องถิ่นแต่ละด้าน เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังตำบลคลองจิก วิธีการศึกษาใช้เอกสารชั้นต้น เอกสารชั้นรอง การลงพื้นที่สัมภาษณ์ผู้ที่อยู่อาศัย และสังเกตการณ์ในชุมชน ผลการศึกษาพบว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นในตำบลคลองจิกที่กลายเป็นสินค้า มีภูมิปัญญาด้านปรัชญา ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่ชาวคลองจิกมีการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาและวันสำคัญตลอดปี ซึ่งควรประชาสัมพันธ์กิจกรรมเหล่านี้ให้มากขึ้นเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว พื้นที่คลองจิกมีภูมิปัญญาด้านศิลปกรรมและโบราณคดี คือ วัดวิเวกวายุพัด เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ศึกษาประวัติศาสตร์ ศิลปกรรมและโบราณคดี ในแง่ของภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรม ทุ่งบัวแดงและทุ่งบัวฉัตรจึงมีศักยภาพรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มที่ชอบถ่ายภาพ ในส่วนของฟาร์มสวนเกษตร สามารถรองรับนักท่องเที่ยวที่ชอบศึกษาเรียนรู้เชิงเกษตรกรรม เชิงการพัฒนาชุมชน รวมทั้งผู้ที่มีงานอดิเรกเรื่องการปลูกพืชผักสวนครัว มีภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมกลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์ และแจกันหุ้มผ้าไหม โอ่งหุ้มผ้าไหมสามารถรองรับนักท่องเที่ยวที่สนใจเรื่องงานฝีมือและงานประดิษฐ์ ส่วนนักท่องเที่ยวที่สนใจเรื่องการประกอบอาหารสามารถเข้ามาศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาด้านโภชนาการที่มีอยู่หลายแห่งในชุมชน ท่ามกลางความพยายามปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมให้กลายเป็นสินค้า วัฒนธรรมของชาวคลองจิกยังคงความหมายที่แท้จริงดั้งเดิม ชาวคลองจิกยังคงรักษาความแท้จริงของภูมิปัญญาและวิถีชีวิตของตนเองไว้ได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เข็มทอง พรรณจำปา. (2561, 27 เมษายน).ผู้ที่อยู่อาศัยในตำบลคลองจิก. สัมภาษณ์

เครือวัลย์ มีเกียรติ. (2546). ภูมิปัญญาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : เจริญรุ่งเรืองการพิมพ์.

พระครูสมาน. (2561, 27 เมษายน).พระสงฆ์ในวัดวิเวกวายุพัด. สัมภาษณ์

พิทักษ์ น้อยวังคลัง. (2548). กระบวนการทำวัฒนธรรมให้เป็นสินค้าการท่องเที่ยวในภาคอีสาน. ค้นเมื่อ 12 เมษายน 2559, จาก www.research.culture.go.th

ไพโรจน์ มงคล. (2561, 8 กันยายน).ผู้ที่อยู่อาศัยในตำบลคลองจิก. สัมภาษณ์

วิมลรัตน์ พรรณวิเชียร. (2561, 8 กันยายน).ผู้ที่อยู่อาศัยในตำบลคลองจิก. สัมภาษณ์

สุทธิพร กองสุทธิผล และ ธนกร ชัยถิติ. (ข่าวอยุธยา 18 มกราคม 2562) “การท่องเที่ยวอยุธยามีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเงินสะพัดกว่าหมื่นล้านบาท” ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2562, จาก www.khaoayutthaya.com

สำเริง พงษ์สวรรค์. (2561, 27 เมษายน).ผู้ที่อยู่อาศัยในตำบลคลองจิก. สัมภาษณ์

เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2540). ภูมิปัญญาชาวบ้านสี่ภูมิภาค :วิถีชีวิตและกระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้านไทย. โครงการกิตติเมธีสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Halewood, C. and Hannam, K. (2001). Viking Heritage Tourism-Authenticity and Commodification. Annals of Tourism Research, 28(3), 565-580.

Marina La Salle and the IPinCH Commodifications of Cultural Heritage Working Group. (2014). Appropriation and Commodification of Cultural Heritage : Ethical & IP Issues to Consider. 15 June 2016, from www.sfu.ca/ipinch

Robinson, M. (1999). Cultural conflicts in tourism : Inevitability and Inequality. From Agata Maccarrone-Eaglen (2009). An Analysis of Culture as a Tourism Commodity. 15 June 2016, from www.cognizantcommunication.com