การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนต่อการบริหารงาน ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

พิชชานันท์ แพรงาม
อดิศร ภู่สาระ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนต่อการบริหารงานด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ ๒) เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนต่อการบริหารงานด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรที่ใช้ คือ คณะกรรมการชุมชนในเขตเทศบาลตำบลนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน ๑๘๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ ที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๗๕ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ ด้วยวิธีการ แอล เอสดี โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕


ผลการศึกษา พบว่า ๑) คณะกรรมการชุมชนมีส่วนร่วมต่อการบริหารงานด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การมีส่วนร่วมปฏิบัติ การมีส่วนร่วมคิดวิเคราะห์ การมีส่วนร่วมติดตามหรือประเมินผล และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและวางแผน และ ๒) คณะกรรมการชุมชนที่มีระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ แตกต่างกันมีผลต่อการบริหารงานด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองวิจัยทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๒). คู่มือครูแนวทางการจัดทำแผนการสอนพัฒนาศักยภาพโครงการทดลองพัฒนาศักยภาพของเด็กไทย. กรุงเทพฯ : ชวงพิมพ์.

ทิมาพร มงคลแถลง. (๒๕๕๖). การศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานด้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถีชีวิตความเป็นอยู่. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

นิมิต สุดแยง. (๒๕๔๙). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ก๊า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง,มหาวิทยาลัย เชียงใหม่

พีรวิชญ์ รัตนอมรวิสิทธิ์. (๒๕๕๔). ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานแบบกระจาย อำนาจด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถีชีวิตความเป็นอยู่:กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบล ริมกก อำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย. การศึกษาอิสระ ปริญญา รัฐประศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์.มหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง.

สามารถ จันทร์สูรย์. (๒๕๔๔). “ภูมิปัญญาชาวบ้านคืออะไร” ใน การสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ภูมิปัญญาชาวบ้าน. (พิมพ์ครั้งที่ ๒) กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

อคิน รพีพัฒน์. (๒๕๒๗). “การมีส่วนร่วมของชุมชนในสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทย” ใน การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ : ศักดิ์โสภาการพิมพ์.