การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมของประชาชนในชุมชนเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ปกาศิต เจิมรอด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมของประชาชนในชุมชนเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ ๒) ศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมของประชาชนในชุมชนเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่การวิจัยเชิงปริมาณ โดยการใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ชุมชนเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารระดับสูงของสถานีตำรวจภูธรพระนครศรีอยุธยาและเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา และการสนทนากลุ่มจากตัวแทนผู้นำชุมชนในพื้นที่ชุมชนเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ผลการวิจัย พบว่า ๑. ระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมของประชาชนในชุมชนเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน ๒. แนวทางการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมของประชาชน แบ่งได้ ๓ ส่วน ได้แก่ ๑) ภาคประชาชน ควรเรียนรู้ในการป้องกันตัวเองจากเหตุอาชญากรรม และควรให้ความร่วมมือในการประชุมวางแผน การอบรมและการติดตามประเมินผลการป้องกันอาชญากรรมให้มากยิ่งขึ้น ๒) ผู้นำชุมชน ควรเป็นสื่อกลางในการสื่อสารกับประชาชนและนำผลการดำเนินงานไปประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึง และควรทำหน้าที่ประสานงานให้แก่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมป้องกันอาชญากรรมร่วมกับประชาชน ๓) ส่วนราชการ ควรปรับรูปแบบการเข้าถึงประชาชนโดยการให้บริการเชิงรุก การสร้างแรงจูงใจเพื่อให้ประชาชนเกิดการมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรม และจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ที่เน้นการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ปลูกฝังการเป็นจิตอาสา ตลอดจนการป้องกันตัวเองจากภัยรอบตัว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (๒๕๕๙). ข้อมูลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ค้นเมื่อ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๙, จาก http://www.ayutthaya.go.th

ชัยยันต์ สอนเสียม. (๒๕๔๙). การมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมกับตำรวจของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในจังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ชิดชัย วรรณสถิตย์. (๒๕๓๙). ความสัมพันธ์ระหว่างตำรวจกับชุมชนในการบริหารงานยุติธรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เทอดเกียรติ วงศาโรจน์. (๒๕๔๖). การมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมของประชาชนในชุมชนเทศบาลเมืองราชบุรี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, สถาบันราชภัฏนครปฐม.

พงศ์ศักดิ์ สุภาพร. (๒๕๔๓). การมีส่วนร่วมของกำนันผู้ใหญ่บ้านในการป้องกันอาชญากรรม : ศึกษาเฉพาะกรณีในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม, มหาวิทยาลัยมหิดล.

พชรพล วงศ์รจิต. (๒๕๔๔). การมีส่วนร่วมของประชาชนตามโครงการสมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรมในเขตอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พนมกร สุวรรณเรือง. (๒๕๔๑). การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนในการป้องกันอาชญากรรมในเขตจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม, มหาวิทยาลัยมหิดล.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (๒๕๔๐). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ ๗). กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร.

สถานีตำรวจภูธรพระนครศรีอยุธยา. (๒๕๕๙). รายงานคดีอาญาเปรียบเทียบของสถานีตำรวจภูธรพระนครศรีอยุธยา. ม.ป.ท.

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล. (๒๕๕๗). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี. ค้นเมื่อ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๙, จาก https://www.soc.go.th/bb_main๓๑.htm

อรรถศาสตร์ พิลาเคน. (๒๕๕๑). การมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมของประชาชนในพื้นที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.