แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กรณีศึกษา : ปรากฏการณ์แต่งกายแบบไทยจากกระแสละครบุพเพสันนิวาส

Main Article Content

ตรีธวัฒน์ มีสมศักดิ์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ นำเสนอปรากฏการณ์การแต่งกายแบบไทยตามกระแสละครบุพเพสันนิวาส เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ใช้วิธีศึกษาข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ประกอบกับสื่อดิจิทัล จากที่ปรึกษาละครบุพเพสันนิวาส ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย และนักท่องเที่ยวและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง


พบว่า กระแสการแต่งกายแบบไทย เป็นที่นิยมอย่างมากในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เริ่มตั้งแต่เดือน เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ – พ.ศ. ๒๕๖๓ และยังคงส่งผลถึงในอนาคต รูปแบบการแต่งกายแบบไทยได้รับความนิยมจากกระแสละครบุพเพสันนิวาส โดยแนวทางการแต่งกายนั้นสามารถแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ ๑.การแต่งกายจากกระแสนิยม ๒.การแต่งกายตามเทศกาล โดยแต่งกายแบบชุดไทยในรูปแบบต่าง ๆ ตามกระแสละครเรื่องบุพเพสันนิวาส และถือเป็นอีกหนึ่งในรูปแบบของกลยุทธ์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพราะในปัจจุบัน นักท่องเที่ยวนิยมมาท่องเที่ยวยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีการแต่งกาย แบบไทย เพื่อถ่ายรูปบันทึกความทรงจำเชิงบวก รวมถึงเผยแพร่ลงในสื่อออนไลน์ส่วนบุคคลอย่างเป็นที่นิยมแพร่หลายและส่งผลให้เกิดอาชีพการให้บริการเช่าชุดไทยในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

การแต่งกายชุดไทยแบบชุด การะเกด เพื่อท่องเที่ยวและถ่ายภาพบันทึกความทรงจำภายในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา. (๒๕๖๓). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: พิมลรัตน์ สินสืบผล.

กำจร สุนพงษ์ศรี. (๒๕๖๐). สุนทรียศาสตร์ หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปะวิจารณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิจจา ลาโพธิ์. (๒๕๖๒, ๑๐ สิงหาคม). ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายละครบุพเพสันนิวาส. สัมภาษณ์.

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (๒๕๖๐). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๔. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

คมสัน รัตนะสินมากูล. (๒๕๕๕). หลักการเขียนบทวิทยุกระจายเสียงและบทวิทยุโทรทัศน์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โฆษิต มีคุณกิจ. (๒๕๖๒, ๑๕ พฤศจิกายน). เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป งานพิธีการงานสภาและเลขานุการกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. สัมภาษณ์.

ณัฐนันท์ ศิริเจริญ. (๒๕๕๒). สุนทรียศาสตร์เพื่อนิเทศศาสตร์. สมุทรปราการ: โครงการสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ปฏิพัทธ์ ศรีคำ. (๒๕๖๒, ๑๕ พฤศจิกายน). ผู้ประกอบการให้บริการเช่าชุดไทย. สัมภาษณ์.

ภรภัทร กิตติมหาโชค. (๒๕๖๑). พฤติกรรมการเปิดรับและเนื้อหาละครบุพเพสันนิวาสที่ส่งผลต่อพฤติกรรมตามกระแสนิยมไทยของผู้รับชม. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมนิด้า, ๕ (๒), ๔๑-๖๑.

วรรณพิมล อังคสิริสรรพ. (๒๕๕๔). มายาคติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คบไฟ.

วิโรจน์ ศรีสิทธิ์เสรีอมร. (๒๕๖๒, ๑ พฤศจิกายน). ที่ปรึกษาละครบุพเพสันนิวาส. สัมภาษณ์.

เศียรพระบริเวณภายในวัดมหาธาตุที่เป็นเอกลักษณ์. (๒๕๖๓) ค้นเมื่อ ๓ มีนาคม ๒๕๖๓, จาก www.thetrippacker.com/en/review/วัดมหาธาตุWatMahaThat/9909

อธิษฐ์ ภวัครคุณ. (๒๕๖๓, ๓ เมษายน). ผู้ดำเนินการกลุ่มพิกซ์กรุงเก่า. สัมภาษณ์.