การจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน: ตลาดโก้งโค้ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของตลาดโก้งโค้ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ ผู้บริหารตลาดและผู้ประกอบการร้านค้าจำนวน ๑๘ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยผู้วิจัยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยการตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการถอดเทป การสนทนาและการวิเคราะห์เนื้อหา รายงานผลด้วยวิธีการเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่าทุนทางวัฒนธรรมของตลาดโก้งโค้งประกอบไปด้วย ๕ ด้าน คือ ๑) ด้านประวัติศาสตร์ ๒) ด้านรากเหง้าความเป็นกรุงเก่า ๓) ด้านสถาปัตยกรรมไทย ๔) ด้านวัฒนธรรมพื้นถิ่น และ ๕) ด้านวิถีชีวิต สำหรับการจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันนั้นประกอบไปด้วย ๓ ขั้นตอน คือ ๑) การค้นหาทุนทางวัฒนธรรม ๒) การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากทุนทางวัฒนธรรม และ ๓) การเพิ่มมูลค่าให้กับทุนทางวัฒนธรรม โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดในแต่ละขั้นตอนคือ การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอกชุมชน ซึ่งความสำเร็จในการจัดการทุนทางวัฒนธรรมของตลาดโก้งโค้งทำให้ตลาดสามารถรักษาเอกลักษณ์ความเป็นตลาดโบราณและยังดำเนินการได้ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง
Article Details
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (๒๕๖๒). จำนวนและรายได้นักท่องเที่ยวต่างชาติ ๒๕๖๒. ค้นเมื่อ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๓, จาก www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=585
คัชพล จั่นเพชร และ พิทักษ์ ศิริวงศ์. (๒๕๖๐). การบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านชากแง้ว อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน. ๑๐(๑). ๑๑๑-๑๒๑.
งานบริการข่าวสาร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (๒๕๖๐). ตะลุย ๕ ตลาดต้องไป ในอยุธยา. ค้นเมื่อ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๒, จาก www.tatcontactcenter.com/th
จอม กล้าหาญ นามสมมติ. (๒๕๖๒, ๑๔ ตุลาคม). สัมภาษณ์.
จันทร์ กระจ่าง นามสมมติ. (๒๕๖๒, ๑๓ ตุลาคม). สัมภาษณ์.
ฐิติมา ผการัตน์สกุล. (๒๕๕๗). กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านสังคมออนไลน์. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. ๘(๓). ๕๓๘-๕๕๒.
ดำรงศักดิ์ จันโททัย. (๒๕๕๕). การเสริมสร้างทุนทางสังคมในชุมชนของเมืองไทย. วารสารวิจัยสังคม. ๓๕(๑). ๒๓-๕๑.
ไทย รักษา นามสมมติ. (๒๕๖๒, ๑๓ ตุลาคม). สัมภาษณ์.
นพ นิยม นามสมมติ. (๒๕๖๒, ๑๔ ตุลาคม). สัมภาษณ์.
นวล ผ้าไทย นามสมมติ. (๒๕๖๒, ๑๓ ตุลาคม). สัมภาษณ์.
นุ่น รักชาติ นามสมมติ. (๒๕๖๒, ๑๔ ตุลาคม). สัมภาษณ์.
ประสพชัย พสุนนท์ และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (๒๕๕๖). ประสิทธิภาพและกุญแจแห่งความสำเร็จในการดำเนินการสหกรณ์การเกษตร: การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. ๖(๑). ๖๑๐-๖๒๘.
ไพรรินทร์ พฤตินอก. (๒๕๕๕). กองทุนหมู่บ้าน: ทุนทางสังคมในฐานะกระบวนการขับเคลื่อนกองทุนหมู่บ้านโนนสังข์. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. ๕(๓). ๑๒๖-๑๔๘.
วันวิสาข์ โชคพรหมอนันต์. (๒๕๕๗). คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการร้านค้าในตลาดน้ำวัดดอนหวายจังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ Veridian E-Journai. ๘(๒). ๙๖๗-๙๘๘.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (๒๕๖๐). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔. ค้นเมื่อ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๒, จาก www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422
สุภางค์ จันทวาณิช. (๒๕๖๑). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ ๒๔). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หนึ่ง ดวงดี นามสมมติ. (๒๕๖๒, ๑๔ ตุลาคม). สัมภาษณ์.
Hedding, T., Knudtzen, C. F., & Bjeree, M. (2009). Brand managent: Research, theory and practice. New York: Routledge.
Howkins, J. (2010). Creative Ecologies: Where Thinking is a Proper Job. (K. Vanichviroon, Trans.). Bangkok: Thailand Creative & Design Center.