สยามที่เมืองกรุงเก่า : กรุงศรีอยุธยาในจินตนาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์ในทฤษฎีการสร้างอาณานิคมภายในของสยาม ที่ปัจจุบันสามารถทำให้เข้าใจกระบวนการตอบสนองของสยามกับประเทศตะวันตกภายใต้การดำเนินการปฏิรูปมณฑลเทศาภิบาล โดยเฉพาะบริเวณชายขอบได้เป็นอย่างดี แต่พื้นที่ที่ใกล้ศูนย์กลางสยาม โดยเฉพาะที่มณฑลกรุงเก่าอันมีสถานที่ตั้งและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่ใกล้ชิดกับสยามกลับไม่ถูกอธิบายมากนักในทฤษฎีนี้ ทั้งนี้การศึกษาประวัติศาสตร์เกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการกำหนดพื้นที่เขตอนุรักษ์โบราณสถาน และการกำหนดเขตสุขาภิบาลในมณฑลกรุงเก่า เป็นสิ่งที่ปรากฏในการศึกษาทางวิชาการก่อนหน้าหลายฉบับ แต่การศึกษาที่ดำเนินการภายใต้แนวคิดแบบการสร้างอาณานิคมภายในของสยามยังไม่ปรากฏมากนัก กระบวนการสร้างขอบเขตพื้นที่ดังกล่าวในแง่หนึ่งอาจพิจารณาได้ว่าสยามในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พวกเขาเป็นผู้เข้ามาพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมือง แต่ทว่าการกำหนดเขตดังกล่าวเป็นการย้ำให้เห็นว่าสยามกำลังทำหน้าที่เช่นเดียวกับเจ้าอาณานิคมตะวันตก สิ่งที่พวกเขากำหนดให้ว่าจะเป็นทั้งวิถีชีวิต หรือทั้งสิ่งก่อสร้างสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ทำให้เมืองกรุงเก่ากำลังถูกกำหนดทิศทางให้เป็นดั่ง
กรุงศรีอยุธยาตามจินตนาการของพวกเขา ซึ่งทิศทางของจินตนาการนี้ยังส่งผลต่อเมืองกรุงเก่าผ่านแผนพัฒนา
ฉบับต่าง ๆ อย่างรุนแรงจนถึงปัจจุบัน
Article Details
References
เกื้อกูล ยืนยงอนันต์. (๒๕๒๘). ความเปลี่ยนแปลงภายในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๘ - ๒๕๐๐. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
โครงการการอนุรักษ์และพัฒนานครประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา. (๒๕๕๓). รายงานฉบับสมบูรณ์แผนแม่บทระยะที่ ๒ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๓. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
โครงการปรับปรุงแผนแม่บทนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา. (๒๕๓๗). เอกสารประกอบโครงการปรับปรุงแผนแม่บทนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: เอ็น เอส พี.
จดหมายเหตุพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ร.ศ. ๑๒๖,๑๒๗. (๒๕๒๗). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
จิตตวดี จิตรพงศ์. (๒๕๕๘). ความสะอาดของพระนคร: การเมืองเรื่องวิถีปลงศพในสมัยรัชกาลที่ห้า. หน้าจั่ว, ๑๐, ๘๘-๑๐๑.
แจ้งความกระทรวงคมนาคม เรื่องข้าราชการเรี่ยไรเงินทำบุญฉลองที่ทำการไปรษณีย์ไทรเลขเมืองกรุงเก่า. (๒๔๕๗). ราชกิจจานุเบกษา. ตอนที่ ๐ง, หน้า ๑๒๗๒.
ชาตรี ประกิตนนทการ. (๒๕๔๗). การเมืองและสังคมในศิลปสถาปัตยกรรม สยามสมัย ไทยประยุกต์ ชาตินิยม. กรุงเทพฯ: มติชน.
ชาตรี ประกิตนนทการ. (๒๕๖๒). กำเนิดรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ผ่าน “จินตกรรมรัฐสยามทางศิลปะ”. ฟ้าเดียวกัน, ๑๗(๒), ๙-๕๕.
ทศพร ศรีสมาน. (๒๕๔๕). นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. (๒๕๖๑). การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว. (๒๕๕๙). เปิดแผนยึดล้านนา. กรุงเทพฯ: มติชน.
พระบรมราชโองการประกาศ ใช้พระราชบัญญัติสุขาภิบาลเมืองกรุงเก่า. (๒๔๕๙). ราชกิจจานุเบกษา. ตอนที่ ๓๓, หน้า ๖๑.
พระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน และที่วัดร้างภายในกำแพงเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้กระทรวงการคลัง พุทธศักราช ๒๔๘๑. (๒๔๘๑). ราชกิจจานุเบกษา. ตอนที่ ๕๖, หน้า ๓๙๙.
มร.๖ ม/๑๑. เรื่องประกาศย้ายเขตสุขาภิบาลเมืองกรุงเก่า. (๑-๑๕ พฤษภาคม ๒๔๕๙). สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ.
ร.๖ ม.๗/๖. เรื่องสร้างพระราชวังที่ป้อมเพชรกรุงเก่า. (๒๖ มกราคม - ๒๐ มีนาคม ๒๔๕๙). สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ.
ระยะทางเสด็จพระราชดำเนินประพาสทรงบวงสรวงอดีตมหาราช ณ พระราชวังกรุงศรีอยุธยาในรัชกาลที่ ๖.
กรุงเก่า เล่าเรื่อง. (๒๕๕๔). กรุงเทพฯ: มติชน.
ระยับศรี กาญจนะวงศ์ และบุหงา วัฒนะ. (๒๕๔๑). การจัดการศึกษาในมณฑลกรุงเก่า. พระพุทธเจ้าหลวงกับชาวกรุงเก่า. พระนครศรีอยุธยา: สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
เรื่องกรุงเก่า. (๒๕๖๑). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
วรชาติ มีชูบท. (๒๕๕๕). ภาพล้อฝีพระหัตถ์ในรัชกาลที่ ๖. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์.
วรัฏรยา หุนเจริญ. (๒๕๔๕). โรงเรียนในสมัยรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖ (พ.ศ. ๒๔๑๑ - ๒๔๖๘). วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศธ ๒.๔.๑/๕๓. ประวัติศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (๑๕ พฤษภาคม ๒๕๒๑). สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ.
ศธ.๕๑.๑/๑๖. เรื่องย้ายโรงเรียนตัวอย่างมณฑลกรุงเก่า มาตั้งที่โรงเรียนฝึกหัดครู. (๙ กรกฎาคม – ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๐). สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ.
ศธ.๕๑.๑/๓๕. รายงานการเปิดโรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (๓ กรกฎาคม - ๒๙ สิงหาคม ๒๔๖๒). สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ.
สมชาติ จึงสิริอารักษ์. (๒๕๕๓). สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยามสมัยรัชกาลที่ ๔ - พ.ศ. ๒๔๘๐. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักผังเมือง. (๒๕๑๐). โครงการพัฒนาเกาะเมืองและบริเวณใกล้เคียงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: สำนักผังเมือง.
สุเทพ สุนทรเภสัช. (๒๕๔๘). ระบบอาณานิคมภายในกับภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ตัวแบบเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางด้านสังคมเศรษฐกิจ และการเมืองของอีสาน กับรัฐบาลกลางของประเทศไทย. มานุษยวิทยากับประวัติศาสตร์ : รวมความเรียงว่าด้วยการประยุกต์ใช้แนวความคิด และทฤษฎีทางมานุษยวิทยาในการศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ. ๒๓๑-๒๔๓.
อิจิโร คากิซากิ. (๒๕๖๒). ย้อนรอยรถไฟไทย : สืบสานและต่อยอด. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Benedict R. O'G Anderson. (2015). studies of the thai state the state of thai studies, Exploration and Irony in Studies of Siam over Forty Years. New York: Cornell University. 15-45.
Thongchai Winichakul. (1995). Siam Mapped: A History of the Geo-body of a Nation. Bangkok: Silkworm Books.