การประยุกต์ใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นในการประเมินมูลค่าห้องชุด ด้วยวิธีการให้คะแนนคุณภาพถ่วงน้ำหนัก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยที่ใช้ในการประเมินมูลค่าห้องชุด และจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยที่ใช้ในการประเมินมูลค่าห้องชุดด้วยการประยุกต์ใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (AHP) โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินราคาทรัพย์สิน และการสอบถามผู้ประเมิน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยหลักด้านทำเลที่ตั้งห้องชุดมีค่าน้ำหนักความสำคัญมากที่สุด ร้อยละ 60 รองลงมาคือปัจจัยหลักด้านกายภาพห้องชุด ร้อยละ 22 ปัจจัยหลักด้านกายภาพโครงการ ร้อยละ 13 และปัจจัยหลักด้านผลกระทบภายนอก ร้อยละ 6 ตามลำดับ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้เสนอแบบจำลองการประเมินมูลค่าห้องชุดด้วยตารางวิธีการให้คะแนนคุณภาพถ่วงน้ำหนักแบบใหม่ เพื่อเป็นแนวทางในการประเมินมูลค่าห้องชุดสำหรับผู้ประเมินราคาทรัพย์สิน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำบทความทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อนเท่านั้น
References
กรมที่ดิน. (ม.ป.ป.). พระราชบัญญัติอาคารชุด. สืบค้นจาก https://www.dol.go.th/registry/DocLib3/
พรบ%20อาชุด.pdf
แคล้ว ทองสม. (2560). การประเมินราคาทรัพย์สิน. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 2506627 HRE VALN. ภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (ไม่ได้ตีพิมพ์).
นิติ รัตนปรีชาเวช. (2566). การวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ที่สูงที่สุดที่ดีที่สุดเพื่อการพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ให้เต็มศักยภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิติ รัตนปรีชาเวช. (2565). การวิจัยเพื่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิติ รัตนปรีชาเวช. (2561). หลักการและแนวคิดในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไพโรจน์ ซึงศิลป์. (2538). หลักการประเมินราคาทรัพย์สิน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศุธาศิน.
ภานุพงศ์ นิลตะโก. (2565). การประเมินราคาทรัพย์สินโดยวิธีเปรียบเทียบราคาตลาด. เอกสาร ประกอบการสอนรายวิชา 5131309 การประเมินราคาทรัพย์สินโดยวิธีเปรียบเทียบราคาตลาด. ภาควิชาการบัญชีและการเงิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กรุงเทพ. (ไม่ได้ตีพิมพ์).
ภานุพงศ์ นิลตะโก, อธิยุต ทัตตมนัส, วาสนา ดวงดี และพิรานันท์ จันทวิโรจน์. (2563). ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณามูลค่าตลาดอาคารชุด. การประชุมวิชาการศิลปศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 2 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, 23 ธันวาคม 2563, กรุงเทพมหานคร, หน้า 243-250.
ภูษณิศา แชมลา และสัณหะ เหมวนิช. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุดของอาคารชุด ในจังหวัดปทุมธานี. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 18 สิงหาคม 2564, กรุงเทพมหานคร, หน้า 287 - 296.
รพีพัฒน์ ชาญจิรภรณ์. (2559). โครงสร้างราคาห้องชุดพักอาศัยระดับกลางบริเวณรอบสถานีรถไฟฟ้า
วุฒากาศ. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วาสนา ดวงดี. (2562). ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อมูลค่าตลาดที่ดินเปล่า. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิฑูรย์ ตันศิริมงคล. (2542). AHP การตัดสินใจขั้นสูงเพื่อความก้าวหน้าขององค์กรและความอยู่ดีมีสุขของมหาชน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ศศิธร กลันทกสุวรรณ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคาคอนโดมิเนียมระดับหรู และระดับหรูพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์. (2566). คาดการณ์ตลาดคอนโด Q2/66. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก https://www.reic.or.th/News/RealEstate/467317
สมาคมนักประเมินราคาอิสระไทย. (2560). การศึกษาแนวทางการประเมินวิธีเปรียบเทียบราคาตลาดอาศัย การปรับค่าความแตกต่างคะแนนปัจจัยถ่วงน้ำหนัก. เอกสารประกอบแนบท้ายประกาศของสมาคมนักประเมินราคาอิสระไทย.
สุภารัตน์ คามบุตร. 2562. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมตามแนวเส้นทาง รถไฟฟ้าสายสีม่วงของผู้บริโภคในเขตนนทบุรี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สุวดี คงสุข. (2557). แบบจำลองการคัดเลือกทำเลเพื่อการพัฒนาอาคารชุดพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุวิทย์ ตันตระกูล. (2561). การประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นีโอ ดิจิตอล.
สุรสิทธิ์ พันธนาคง. (2556). การพัฒนาแบบจำลองการประเมินมูลค่าห้องชุดพักอาศัยในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร โดยใช้เทคนิควิธีการปรับแก้ข้อมูลด้วยการให้น้ำหนักตามระดับคะแนน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (ม.ป.ป.). มาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพการประเมินมูลค่าทรัพย์สินในประเทศไทย. สืบค้นจาก
https://publish.sec.or.th/nrs/6744a2.pdf
Appraisal Institute. (1992). The Appraisal of Real Estate (10th ed.). Illiois: Stock Montage.
Charles, J. (2003). Real Estate Principles (9th ed.). Ohio: Phoenix Color.
Douglas, S. (1993). Property Valuation The 5 Methods. Glasgow: Page Brothers.
French, N., & Gabrielli, L. (2018). Pricing to Market property valuation revisited: the hierarchy of valuation approaches, methods and models. Journal of PropertyInvestment & Finance, 36(4), 391-396.
Gabrielli, L., & French, N. (2021). Pricing to market: property valuation methods – s practical review. Journal of Property Investment & Finance, 39(5), 464-480.
Saaty, T. (1980). The Analytic Hierachy Process. Newyork: McGraw-Hill.
Sriboonjit, J., & Rattanaprichavej. N. (2013). Factors’s weight of importance in the weighted quality score (WQS) technique: CBD’s serviced apartment. International Journal of Information, Business and Management, 5(4), 19-31.