การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจการปรับตัวของบุคลากร ในอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยวหลังโควิด-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจการปรับตัวของบุคลากรในอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยวหลังโควิด 19 และ 2) เพื่อประเมินระดับการปรับตัวและความต้องการปรับตัวของบุคลากรในอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยวหลังโควิด 19 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรที่กำลังทำงาน หรือ เคยทำงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ผลการวิจัยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ สถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการศึกษาพบว่า สามารถจัดกลุ่มองค์ประกอบได้ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการตอบสนองลูกค้า ด้านการจัดการอารมณ์ ด้านจริยธรรมและความรับผิดชอบ และ ด้านการสื่อสาร ผลการประเมินระดับ การปรับตัวและความต้องการปรับตัวของบุคลากร พบว่า บุคลากรมีการปรับตัวด้านการตอบสนองลูกค้าสูงที่สุด และมีความต้องการปรับตัวด้านจริยธรรมและความรับผิดชอบสูงที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำบทความทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อนเท่านั้น
References
กอบชัย เมฆดี และศศินันท์ ศาสตร์สาระ. (2566). การพัฒนาสมรรถนะผู้นำเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว อัจฉริยะ กรณีศึกษาชุมชนท่องเที่ยวในเขตจังหวัดภาคกลางตอนบน. Journal of Social Science and Cultural, 7(01), 60-77.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพ: โรงพิมพ์พิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกษวดี พุทธภูมิพิทักษ์, จารุวรรณ แดบุบผา และอลงกต ยะไวทย์. (2566). สมรรถนะจิตบริการแบบไทยที่ โดดเด่นเพื่อการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและจิตบริการ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 14(1), 280-307.
จริยา ตันติวราชัย และอนุชิต จันทรโรทัย. (2560). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบุคลากรในอุตสาหกรรม การบริการและการท่องเที่ยว. Journal of Information, 16(1), 27-36.
จ็อบไทย จำกัด . (2563). JobThai เผยความต้องการแรงงานครึ่งปีแรกของปี 2563 และผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19. สืบค้นจาก https://blog.jobthai.com
ฐิติยา เนตรวงษ์. (2565). แรงงานทักษะดิจิทัลของพลเมืองแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับเทคโนโลยีพลิกผัน บนชีวิตวิถีถัดไป. วารสารวิทยาการจัดการ, 2(1), 1-15.
ณัฐณิชา พ่วงอ่างทอง. (2566). ความเครียดและภาวะหมดไฟของการทำงานที่บ้านในช่วงโควิด-19 ที่ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ, มหาวิทยาลัย มหิดล.
ทัศนมินทร์ รัชตาธนรัชต์ ณีรนุช วงค์เจริญ และสรรเพชญ เรืองอร่าม. (2565). ประสิทธิผลของโปรแกรม การพัฒนาทักษะ ทบทวนทักษะ และเสริมสร้างทักษะชีวิตวิถีใหม่ของบุคลากรธุรกิจการท่องเที่ยวใน การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคโควิด 19 เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. Journal of Health Science of Thailand, 31(2), 211-223.
เนื้อแพร เล็กเฟื่องฟู และคณะ. (2563). เมื่อโควิด-19 ปิดเมือง: ผลกระทบต่อแรงงานไทยในมิติ supply-side. สืบค้นจาก https://www.pier.or.th/abridged/2020/08/
พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2565). การปรับตัวของแรงงานในภาคการท่องเที่ยวในยุคโควิด-19. สืบค้นจาก http://econ.nida.ac.th/2022/03/
รุจิรา พลแพงขวา และสจี กุลธวัชวงศ์. (2561). การพัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการในจังหวัดอุดรธานีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 8(1). 10-17.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสําหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:
บุญศิริการพิมพ์.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). เจาะรายอุตสาหกรรมอ่วม “โควิด” บางส่วนปีหน้าก็ยังไม่ฟื้น. สืบค้นจาก https://www.prachachat.net/breaking-news/news-547455
ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทย. (2563). เจาะพฤติกรรมท่องเที่ยวใน New Normal: เมื่อโควิดทำชีวิตเปลี่ยน. สืบค้นจาก https://krungthai.com/Download/
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). ภาวะการทำงานของประชากร. สืบค้นจาก http://www.nso.go.th/
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.). (2564). ทักษะมนุษย์-แรงงานที่จำเป็นสำหรับประเทศไทยในโลกหลังโควิด-19. สืบค้นจาก https://www.mhesi.go.th/index.php/news/4918-19-38.html
เสาวนีย์ จันทะพงษ์ และ กำพล พรพัฒนไพศาลกุล. (2562). การยกระดับทักษะแรงงานไทย: โจทย์ใหญ่ในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/
เสาวณี จันทะพงษ์ และ เจริญชัย เอกมาไพศาล. (2564). ผลกระทบและการปรับตัว (Resilience) ของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและร้านอาหารช่วงโควิด-19:วิเคราะห์จากหลักคิด Outside-In. สืบค้น จาก https://www.bot.or.th/Thai/
Cochran, W. G. (1977). Cochran-sampling Technique. John Wiley and Sons, New York, 448, 127.
Gaskel, A. (2019). What Are The Top 10 Soft Skills For The Future Of Work?. Retrieved from https://www.forbes.com/sites/
Gray, A. (2016). The 10 skills you need to thrive in the Fourth Industrial Revolution. Retrieved from https://www.weforum.org/agenda/2016/01/the-10-skills-you-need-to-thrive-in-the-fourth-industrial-revolution/
Roy, C., & Andrews, H. (1999). The Roy adaptation model (2nd ed.). Stamford: Appleton & Lange.
World Economic Forum. (2020). The future of jobs report 2020. Retrieved from https://www.weforum.org/reports/