บุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศไทย และ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของบุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เกี่ยวกับบุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น จำนวน 274 ราย ใช้การสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการประมวลผล ประกอบไปด้วย ร้อยละ ความถี่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและเชิงยืนยัน จากการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขัน พบปัจจัยสำคัญจำนวน 5 ปัจจัย ได้แก่คุณลักษณะของผู้ประกอบการ ความสามารถในการปรับตัว การแบ่งปันความรู้ ความสามารถทางนวัตกรรม และความสามารถในการแข่งขัน โดยนำปัจจัยดังกล่าวมาตรวจสอบอิทธิพลเชิงสาเหตุกับความสามารถในการแข่งขัน หลังจากการปรับรูปแบบดังกล่าวทำให้โมเดลสมมุติฐานที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น จำนวน 5 ราย ผลการวิจัยพบว่า มีความสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงปริมาณ กล่าวคือ คุณลักษณะของผู้ประกอบการมีอิทธิพลทางตรงต่อความสามารถในการปรับตัว 2) คุณลักษณะของผู้ประกอบการมีอิทธิพลทางตรงต่อการแบ่งปันความรู้ 3) ความสามารถในการปรับตัวมีอิทธิพลทางตรงต่อการแบ่งปันความรู้ 4) ความสามารถในการปรับตัวมีอิทธิพลทางตรงต่อความสามารถทางนวัตกรรม 5) การแบ่งปันความรู้มีอิทธิพลทางตรงต่อความสามารถในการแข่งขัน 6) ความสามารถทางนวัตกรรมมีอิทธิพลทางตรงต่อความสามารถในการแข่งขัน ยกเว้น 7) คุณลักษณะของผู้ประกอบการไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อความสามารถทางนวัตกรรม อาจเนื่องมาจากคุณลักษณะของผู้ประกอบการของแต่ละคนมีความแตกต่างกันไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำบทความทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อนเท่านั้น
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกศรา มัญชุศรี. (2560). SET Your Startup Business Guide. กรุงเทพมหานคร: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
นิตยา สุภาภรณ์. (2564). ความสามารถและความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(2), 43-52.
เนตรธิดาร์ บุนนาค. (2564). Knowledge Sharing – การแบ่งปันความรู้. สืบค้นจาก https://www.sdgmove.com/2021/09/02/sdg-vocab-55-knowledge-sharing/
บุญชม ศรีสะอาด. (2542). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวีริยา.
วิไล พึ่งผล และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2561). คุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจผ่านความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจสตาร์ทอัพ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(2), 303-318.
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (n.d.). สตาร์ทอัพ/สมาร์ทเอสเอ็มอี/กิจการเพื่อสังคม. สืบค้นจาก https://www.nia.or.th/segment/startup-social-enterprise.
สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2553). การบริหารเชิงกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
สุรพล พรมกุล. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์.
สุวิมล ติรกานันท์. (2556). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฎิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Adomako, S. (2018). The moderating effects of adaptive and intellectual resource capabilities on the relationship between entrepreneurial orientation and financial performance. International Journal of Innovation Management, 22(3), 1-35.
Al-Mamary, Y. H. S., & Alshallaqi, M. (2022). Impact of autonomy, innovativeness, risk-taking, proactiveness, and competitive aggressiveness on students' intention to start a new venture. Journal of Innovation & Knowledge, 7(4), 1-10.
Akgün, A. E., Keskin, H., & Byrne, J. (2012). Antecedents and contingent effects of organizational adaptive capability on firm product innovativeness. Journal of Product Innovation Management, 29(S1), 171-189.
Appel-Meulenbroek, R., Weggeman, M., & Torkkeli, M. (2018). Knowledge sharing behaviour within organisations; A diary-based study of unplanned meetings between researchers. Knowledge Management Research & Practice, 16(3), 1-13.
Ardito, L., & Petruzzelli, A. M. (2017). Breadth of external knowledge sourcing and product innovation: The moderating role of strategic human resource practices. European Management Journal, 35(2), 261–272.
Ayodele, T. O., Oladokun, T. T., & Gbadegsin, J. T. (2016). Factors influencing academic performance of real estate students in Nigeria. Property Management, 34(5), 396-414.
Calantone, R., Cavusgil, T. S., & Zhao, Y. (2002). Learning orientation, firm innovation capability, and firm performance. Industrial Marketing Management, 31(6), 515-524.
Denicolai, S., Ramirez, M., & Tidd, J. (2016). Overcoming the false dichotomy between internal R&D and external knowledge acquisition: Absorptive capacity dynamics over time. Technological Forecasting and Social Change, 104(1), 57-65.
Eshima, Y., & Anderson, B. S. (2017). Firm growth, adaptive capability, and entrepreneurial orientation. Strategic Management Journal, 38, 770-779.
Gyemang, M., & Emeagwali, O. (2020). The roles of dynamic capabilities, innovation, organizational agility and knowledge management on competitive performance in telecommunication industry. Management Science Letters, 10(7), 1533-1542.
Hana, U. (2013) Competitive advantage achievement through innovation and knowledge. Journal of Competitiveness, 5, 82-96.
Hill, C. W. L., & Jones, G. R. (1998). Strategic Management: An Integrated Approach. New York: Houghton Mifflin Company.
Hormiga, E., Saá-Pérez, P., Díaz-Díaz, N. L., Ballesteros-Rodríguez, J. L., & Aguiar-Diaz, I. (2016). The influence of entrepreneurial orientation on the performance of academic research groups: the mediating role of knowledge sharing. The Journal of Technology Transfer, 42, 10-32.
Katalyst. (n.d.). ธุรกิจสตาร์ทอัพจะเดินต่ออย่างไรหลัง COVID-19. สืบค้นจากhttps://katalyst.kasikornbank.com/th/blog/Pages/whats-next-for-startup-after-covid.html.
McKee, D. O., Varadarajan, P. R., & Pride, W. M. (1989). Strategic adaptability and Firm performance: a market contingent perspective. Journal of Marketing, 53, 21-35.
Rhee, J., Park, T., & Lee, D. H. (2010). Drivers of innovativeness and performance for innovative SMEs in South Korea: Mediation of learn in orientation. Technovation, 30(1), 65-75.
Robbins, S. P., & Coulter, M. (2016). Management (13th ed.). Harlow: Pearson Education Limited.
Shahzad, K., Zia, S. A., Syed, A. R., & Bajwa, S. U. (2013). Role of organizational vision and adaptability in knowledge Management. Problems and Perspectives in Management, 11(2), 24-34.
Tsai, K.-H., & Yang, S.-Y. (2013). Firm innovativeness and business performance: The joint moderating effects of market turbulence and competition. Industrial Marketing Management, 42(8), 1279–1294.
Tutar, H., Nart, S., & Bingöl, D. (2015). The effects of strategic orientations on innovation capabilities and market performance: The case of ASEM. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 207, 709-719.
Yusof, N.A., & Abu-Jarad, I. Y. (2011). The Organizational Innovativeness of Public Listed Housing Developers. International Journal of Social, Behavioral, Educational, Economic, Business and Industrial Engineering, 5(2), 200-204.
Zaleśna, A. (2015). The impact of the process of adaptation and knowledge sharing on the assessment of suitability of a new employee in the company. Case studies. Torun Business Review, 14(1), 67-80.