อิทธิพลของปัจจัยที่มีต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบตเตอรี่ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับส่วนประสมทางการตลาด ระดับปัจจัยการตลาดเชิงเนื้อหา ระดับปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยี และกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบตเตอรี่ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษากระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบตเตอรี่จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่มีต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบตเตอรี่ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่ตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบตเตอรี่ จำนวน 384 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างเป็นแบบโควตา เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงประกอบด้วยสถิติที สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ
ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมการตลาดด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยการตลาดเชิงเนื้อหาด้านเนื้อหาการนำเสนอ ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีด้านการรับรู้ประโยชน์ และกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าด้านการแสวงหาข้อมูลอยู่ในระดับมากที่สุด ประชากรที่มีเพศ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบตเตอรี่ต่างกัน ปัจจัยด้านส่งเสริมการตลาดมีอิทธิพลทางบวกต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบตเตอรี่ของผู้บริโภคมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านทัศนคติต่อการใช้งาน และด้านการรับรู้ความง่าย ตามลำดับ อย่างไรก็ตามปัจจัยด้านราคามีอิทธิพลทางลบต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบตเตอรี่ของผู้บริโภค
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำบทความทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อนเท่านั้น
References
กฤษฎา เสกตระกูล. (2564, พฤษภาคม 10). ธุรกิจกับการแก้ปัญหาโลกร้อน (ตอนที่ 4). สืบค้น
จาก https://www.set.or.th/set/enterprise/article/detail.do?contentId=7765&type=article
กัญจน์นิกข์ กำเนิดเพ็ชร์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 13(3), 82-95.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จารุพันธ์ ยาชมภู. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ขนาดไม่เกิน 1,500 ซีซี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เดชา เดชะวัฒนไพศาล, กฤษยา นุ่มพยา, จีราภา นวลลักษณ์ และชนพัฒน์ ปลื้มบุญ. (2557). การศึกษาเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจนเนอเรชั่นวายในมุมมองต่อคุณลักษณะของตนเองและความคาดหวังต่อคุณลักษณะของเจนเนอเรชั่นอื่น. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 36(3), 1-17.
ทิฆัมพร ทวีเดช และสมบัติ ทีฆทรัพย์. (2563). ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ของผู้อาศัยในจังหวัดปราจีณบุรีด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน. วารสารสารสนเทศ, 19(1), 57-70.
บุญมี พันธุ์ไทย. (2557). ระเบียบวิธีวิจัยการศึกษาเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
บุษยา วงษ์ชวลิตกุล, สงวน วงษ์ชวลิตกุล, ธนกร ลิ้มศรัณย์, อรอุมา ปราชญ์ปรีชา, ทศพล ปราชญ์ปรีชา และจอมภัค จันทะคัต. (2560). พฤติกรรมการซื้อและการวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าหรือบริการผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครราชสีมา
จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 6(1), 95-113.
วรเทพ เจิมจุติธรรม. (2557). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฮบริด กรณีศึกษา Toyota Prius. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเนชั่น.
สถาบันยานยนต์. (2564). ความรู้ยานยนต์ไฟฟ้าเบื้องต้น. สืบค้นจาก https://www.thaiauto.or.th/2012/th/services/ev/pdf/ev-Intro.pdf
สิงหะ ฉวีสุข และสุนันทา วงศ์จตุรภัทร. (2555). ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศลาดกระบัง, 1(1). สืบค้นจาก
http://www.it.kmitl.ac.th/~journal/index.php/main_journal/article/view/2/4
สุภาพร ปานกล้า และชัยฤกษ์ แก้วพรหมมาลย์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อรถยนต์ไฟฟ้า ประเภทไฮบริดปลั๊กอินในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25(2), 117-132.
สุริยะ ดันไทยศูนย์กลาง ‘ยานยนต์ไฟฟ้า อาเซียน. (2563, สิงหาคม 27). สุริยะ’ ดันไทยศูนย์กลาง ‘ยานยนต์ไฟฟ้า อาเซียน. กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/business/895477
Adugu, E. (2018). Young consumers' motivation and involvement: Uses and gratifications perspective. New York: Routledge.
Bjerkan, K. Y., Nørbech, T. E. & Nordtømme, M. E. (2016). Incentives for promoting Battery Electric Vehicle (BEV) adoption in Norway. Transportation Research Part D, 43, 169-180.
Cochran, W. G. (1991). Sampling techniques (3rd ed.). New York: John Wiley and Sons.
Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of
information technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-340.
Downey, S., Downey, D., Jackson, M. & Downey, L. (2012). Sales’ role in the buying process. AgriMarketing, 50(3), 63.
Junquera, B., Moreno, B. & Álvarez, R. (2016). Analyzing consumer attitudes towards electric vehicle purchasing intentions in Spain: Technological limitations and vehicle confidence. Technological Forecasting & Social Change, 109, 6-14.
Juska, J. M. (2018). Integrated marketing communication: Advertising and promotion in a digital world. New York: Routledge.
Kaur, G. (2016). Social media marketing. Asian Journal of Multidisciplinary Studies, 4(6), 34-36.
Khantachavana, S. (2019, August 30). Electric vehicle...turns an oil business challenge into
opportunities. Retrieved from https://www.scbeic.com/en/detail/file/product/ 6244/ffia9bmtpf/Note_EN_EV_Oil_Impact_20190830.pdf
Kotler, P., & Armstrong, G. (2010). Principles of marketing (14th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Kotler, P., Kartajaya, H. & Setiawan, I. (2017). Marketing 4.0: Moving from traditional to digital. New York: John Wiley and Sons.
Kotler, P. & Keller, K. L. (2012). Marketing management (14th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Kotler, P. & Keller, K. L. (2016). Marketing management (15th ed.). Boston: Pearson.
Krupa, J. S., Rizzo, D. M., Eppstein, M. J., Lanute, D. B., Gaalema, D. E., Lakkaraju, K. & Warrender, C. E. (2014). Analysis of a consumer survey on plug-in hybrid electric vehicles. Transportation Research Part A: Policy and Practice, 64, 14-31.
Lamb, C. W., Hair J. F. & McDaniel, C. (2012). Essentials of marketing (7th ed.). Sydney: South-Western Cengage Learning.
Larson, P. D., Viáfara, J., Parsons, R. V. & Elias, A. (2014). Consumer attitude about electric cars: Pricing analysis and policy implication. Transportation Research Part A, 69, 229-314.
Ling, Z., Cherry, C. R. & Wen, Y. (2021). Determing the factors that influence electric vehicle adoption: A stated preference survey study in Beijing, China. Sustainability, 13(21), 1-22.
Linn, M. (2014, October 10). How to build a better content marketing strategy. Retrieved from https://contentmarketinginstitute.com/2014/10/build-content-marketing-strategy/
Manktelow, J. (2021, May 15). The marketing mix and the 4Ps. Retrieved from https://www.mindtools.com/pages/article/newSTR_94.htm
Matthews, L., Lynes, J., Riemer, M., Matto, T. D. & Cloet, N. (2017). Do we have a car for you? Encouraging the uptake of electric vehicles at point of sale. Energy Policy, 100, 79-88.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.
Rogers, E. M. (2003). Diffusion of innovation (5th ed.). New York: Free Press.
Tu, J. C. & Yang, C. (2019). Key factors influencing consumers’ purchase of electric vehicles.
Sustainability, 11(14), 1-22.
Xu, G., Wang, S., Li, J. & Zhao, D. (2020). Moving towards sustainable purchase behavior:
Examining the determinants of consumer’ intentions to adopt electric vehicles. Environmental Science and Pollution Research, 27, 22535-22546.