แนวทางการพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมตามมาตรฐานสมรรถนะของพนักงานต้อนรับส่วนหน้าโรงแรมระดับ 4-5 ดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการฝึกอบรมและความต้องการพัฒนาสมรรถนะของพนักงานต้อนรับส่วนหน้าโรงแรมระดับ 4-5 ดาว 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลและรูปแบบการฝึกอบรมที่มีต่อความต้องการพัฒนาสมรรถนะ และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมตามมาตรฐานสมรรถนะของพนักงานต้อนรับส่วนหน้าโรงแรมระดับ 4-5 ดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร ทำการวิจัยแบบประสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ทำการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เชิงถดถอยแบบพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 จากพนักงานต้อนรับส่วนหน้าโรงแรมระดับ 4-5 ดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน และทำการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก เฉพาะพนักงานระดับผู้จัดการหรือผู้ช่วย แผนกบริการส่วนหน้า และแผนกทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 7 คน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยอย่างยิ่ง กับรูปแบบการฝึกอบรมแบบกลุ่มและแบบรายบุคคล โดยมีความต้องการพัฒนาสมรรถนะโดยรวมมากที่สุด ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ ระดับการศึกษา ระดับปฏิบัติงาน และระยะเวลาประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโรงแรมมีอิทธิพลต่อความต้องการพัฒนาสมรรถนะ รูปแบบการฝึกอบรมแบบระดมสมอง ฝึกอบรมขณะปฏิบัติงาน และการหมุนเวียนงาน มีอิทธิพลต่อความต้องการพัฒนาสมรรถนะ การฝึกอบรมนอกสถานที่จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จะทำให้พนักงานสามารถปฎิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำบทความทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2562: (Tourism Statistics 2019). สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2562, จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=521
กระทรวงแรงงาน. (2563). มาตรฐานสมรรถนะวิชาชีพด้านการโรงแรม แผนกพนักงานต้อนรับส่วนหน้า (Front Office) ตำแหน่งพนักงานต้อนรับส่วนหน้า (Receptionist). สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2563, จาก http://www.dsd.go.th/chiangmai/Region/Download_Doc/7255
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2553). 10 ขั้นง่ายๆวิจัยเชิงคุณภาพ (เคล็ดวิชาจากสามัญสู่ขั้นเทพ) (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ.
กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาชน.
ขจิต กอบเดช. (2559). การบริหารงานส่วนหน้าในสถาบันที่พักแรมต่าง ๆ. กรุงเทพฯ: ซีซีพริ้นติ้ง.
ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์. (2557). หลักบริหารพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: เพชร.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2558). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทีมข่าวเศรษฐกิจ. (2562, 18 กุมภาพันธ์). เปิดรางวัลทั่วโลกมอบให้เมืองไทย. ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/news/business/1498221
นิติพล ภูตะโชติ. (2559). พฤติกรรมองค์การ Organizational behavior (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสบชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับวิจัยเชิงคุณภาพ (Sampling Strategies for Qualitative Research). วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 29(2), 31-48.
ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2558). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ : แนวทางใหม่ Human Resource Management A New Approach. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ปัญญาชน.
พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547. (2547). ราชกิจจานุเบกษา. 125(ตอนที่ 29) ก, 8-12.
พิมพ์ชนก วงษ์เจริญ. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมคิด บางโม. (2551). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์.
สมาคมโรงแรมไทย. (2563). รายชื่อโรงแรมที่ได้รับการรับรองมาตรฐานที่พักเพื่อการท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2563, จาก http://www.thaihotels.org/attachments/view/?attach_id=237270
สิทธิภัท โพธิ์สวย. (2560). รูปแบบการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรของโรงแรมในรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา: กรณีศึกษาโรงแรม Marriott Austin ประเทศสหรัฐอเมริกา. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, วิทยาลัยดุสิตธานี.
สิริภร สุวรรณโชติ. (2559). รูปแบบการพัฒนาผู้บริหารระดับกลางของธุรกิจโรงแรมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุธาสินี อัมพิลาศรัย, ณัฐอร มหาทำนุโชค, ชยนันท์ จงเจริญชัยสกุล และประสิทธิ์พร เก่งทอง. (2562). ความต้องการ พัฒนาสมรรถนะการทำงานของพนักงานธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ท จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(2), 145-154. สืบค้นจาก http://msjournals.aru.ac.th/index.php/msjournals/issue/view/16
สุรชัย พรหมพันธุ์. (2554). ชำแหละสมรรถนะเพื่อการพัฒนา.กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
อรรธิกา พังงา. (2553). การจัดการและการปฏิบัติงานส่วนหน้า (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
อนุสรณ์ ประยุกตินิวัฒน์, ปภัสสร ผลเพิ่ม, และพัชนีจันทร์น้อย. (2556). ศักยภาพหลักของพนักงานโรงแรมโนโวเทล ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 3(2), 78-84. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/npuj/article/view/44618
อรุณี ล้อมเศรษฐี. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการเลือกใช้บริการที่พักในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2559). โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะด้านบริการจัดการสำหรับผู้นำ. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
Boyatzis, R. E. (1982). The competent manager: A model for effective performance. John Wiley & Sons.
Cochran, W. G. (1963). Sampling Techniques New York: John Wiley & Sons.
McClelland, D. C. (1973). Testing for Competence rather than for Intelligence. American Psychologist. 28(1), 1-14.