ต้นทุนและผลตอบแทนของการทำลูกประคบสมุนไพรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไร่เขตตะวัน ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง

Main Article Content

จิรนันท์ บุพพัณหสมัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของการทำลูกประคบสมุนไพรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไร่เขตตะวัน ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง และ 2) วิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนและผลตอบแทนของทำลูกประคบสมุนไพรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไร่เขตตะวัน ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจลูกประคบสมุนไพร ชุมชนไร่เขตตะวัน จำนวน 8 ราย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุน รายได้จากการจำหน่าย กำไรขั้นต้น และจุดคุ้มทุน ผลการศึกษาพบว่าต้นทุนการทำลูกประคบต่อหน่วยเท่ากับ 45.74 บาท ซึ่งประกอบด้วย วัตถุดิบ 28.93 บาทต่อหน่วย คิดเป็นร้อยละ 63.25 ค่าแรงงาน 13.28  บาทต่อหน่วยคิดเป็นร้อยละ 29.03 และค่าใช้จ่ายการผลิต 3.53 บาทต่อหน่วย คิดเป็นร้อยละ 7.72 โดยมีรายได้จากการจำหน่ายลูกประคบต่อปีเท่ากับ 840,000 บาท ต้นทุนในการทำลูกประคบต่อปีเท่ากับ 550,651.20 บาท กำไรขั้นต้นจากการจำหน่ายต่อปี เท่ากับ 289,343.80 บาท คิดเป็นอัตราส่วนกำไรขั้นต้นต่อยอดขายร้อยละ 34.45 จุดคุ้มทุนของการจำหน่ายลูกประคบวิสาหกิจชุมชนไร่เขตตะวัน รายวัน อยู่ที่ 27.43 ลูก  คิดเป็นเงิน 1,920.10 บาท รายเดือน อยู่ที่ 548.60 ลูก คิดเป็นเงิน 38,402.00 บาท และรายปี อยู่ที่ 6,583.22 ลูก คิดเป็นเงิน 460,825.66 บาท โดยจำนวนที่ผลิตและจำหน่ายได้ และรายได้จากการจำหน่าย ที่กิจการขายได้ทั้งต่อวัน ต่อเดือนและต่อปี สูงกว่าจุดคุ้มทุนที่คำนวณได้ แสดงถึงกิจการมีความสามารถในการขายลูกประคบ และมีความคุ้มทุน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุณฑีรา อาษาศรี. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้ด้านต้นทุนผลิตภัณฑ์กับการวางแผนการดำเนินงานและการสร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาดอย่างยั่งยืนของกลุ่มวิสาหกิจชุนชนในเขตจังหวัดมหาสารคาม. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เจนจิรา ถาปินตา. (2564). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินของสินค้าแปรรูปเกษตรยาหม่องเสลดพังพอน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 10(2), 70-78.

ซูฟียา เลาะมะ, ยัสมี โต๊ะรี,ฟาตีมะห์ ดาซอตาราแด, และรัตติภรณ์ บุญทัศน์. (2565). ประสิทธิผลของการใช้ลูกประคบสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดของกลุ่มออฟฟิศซินโดรม ศูนย์การเรียนรู้ด้านการแพทย์วิถีไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. ในการประชุมระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ ครั้งที่ 7 (หน้า 583-596). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.

ดวงสมร อรพินท์. (2557). การบัญชีการเงิน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 11). (2565). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 221 ง. หน้า 4-5.

พิมพ์วิภา แพรกหา. (2558). ลูกประคบกับการรักษาโรค. สืบค้นจาก https://www.ttmed.psu.ac.th/th/blog/167

ไพบูลย์ ผจงวงศ์. (2561). การบัญชีเพื่อการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: แสงดาว.

ภาวินีย์ ธนาอนวัช. (2563).การบริหารต้นทุนการผลิตและการวางแผนกําไรผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลบางนางร้า อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 9(1), 47-56.

ละเอียด ศรีหาเหง่า. (2561). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินการแปรรูปผลิตภัณฑ์จาก มันฝรั่ง กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเจดีย์แม่ครัว ตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 12(1), 219-234.

ลำไย มากเจริญ. (2560). การบัญชีต้นทุน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น จำกัด.

วรลักษณ์ วรรณโล. (2559). วิธีการจัดทำบัญชี ต้นทุน และผลตอบแทนของการผลิตปลาส้ม กรณีศึกษา กลุ่มผู้ผลิตปลาส้ม ตำบลบ้านสาง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารบัญชีปริทัศน์, 1(2), 81-104.

วิริรัตน์ วงศ์ไชยล, อานนท์ สันทราย, ธาดา สมานิ และรุ่งฤดี รัตน์ชัยศิลป์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อลูกประคบสมุนไพร ของประชาชนชุมชนบ้านร่องแช่ ตําบลเวียง อําเภอเทิง จังหวัดเชียงราย. วารสาร สิรินธรปริทรรศน์, 20(2), 132- 142.

สุนิษา กลิ่นขจร. (2558). การพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพรบ้านเขานาใน ตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี.วารสาร E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 8(2), 2643-2655.

สุวภัทร หนุ่มคำและคณะ. (2561). แนวทางการพัฒนาการจัดการทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อการผลิตลูกประคบจากภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารพิกุล,16(2), 53-69.

อารีกมล ต.ไชยสุวรรณ, วรรณา มังกิตะ, สิริยุพา เลิศกาญจนาพร, สรียา ทรัพย์ศิริ และธีราพัฒน์ จักรเงิน. (2560). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกสมุนไพรของกลุ่มเกษตรกร บ้านหนองสุวรรณ ตำบลบ้านกลาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 5(1), 83-95.

เอกนรี สกุลนัธที. (2558). แผนธุรกิจเจลสมุนไพรจากลูกประคบ (แผนการตลาด). สืบค้นจาก https://www.car.chula.ac.th/display7.php?bib=2060324.