ระบบการควบคุมภายในที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชี ในสำนักงานบัญชีจังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายในและผลการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชี และ 2) ระบบการควบคุมภายในที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในสำนักงานบัญชีจังหวัดลำปาง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ทำบัญชีในจังหวัดลำปาง จำนวน 81 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ยและสถิติอนุมานโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลวิจัยพบว่าความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายใน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.51, S.D.=0.393) เรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการติดตามประเมินผล ด้านข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านสภาพแวดล้อมการควบคุม ด้านกิจกรรมการควบคุม และด้านการประเมินความเสี่ยง ตามลำดับ สำหรับผลการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.49, S.D.= 0.441) เรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านปริมาณงาน ด้านคุณภาพงาน ด้านเวลาในการทำงาน และด้านค่าใช้จ่าย ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของระบบการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในสำนักงานบัญชีจังหวัดลำปาง พบว่า ด้านการประเมินความเสี่ยง ด้านกิจกรรมการควบคุมและด้านการติดตามประเมินผลส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในจังหวัดลำปางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นด้านสภาพแวดล้อมการควบคุม และด้านข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำบทความทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อนเท่านั้น
References
จันทนา สาขากร และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2564). การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีพีเอ็น เพรส.
จิรรัตน์ ธีระวราพฤกษ และดุจหฤทัย วงศไพบูลย์วัฒน์. (2554). การประยุกต์ใช้แนวคิดของ COSO ในการออกแบบความเชื่อมโยง. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 8(1), 59-67.
ชลิดา ลิ้นจี่, กนกมณี หอมแก้ว และลักษมี บุญเอี่ยม. (2565). การควบคุมภายในที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ของคณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. วารสารศิลปการจัดการ, 6(2), 682-695.
ณัฐชากร เวชศรี และสุภา ทองคง. (2565). การบริหารความเสี่ยงตามกรอบแนวคิด COSO ERM 2017 ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของผู้ทําบัญชีของสำนักงานบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร. Journal of Administrative and Management Innovation, 10(2), 43-52.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ธรารินทร์ ใจเอื้อพลสุข และกนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 17(1), 89-101.
นงนุช หงส์สิงห์ , วราพร เปรมพาณิชย์นุกูล และนงลักษณ์ แสงมหาชัย. (2561). ผลกระทบของประสิทธิภาพระบบการควบคุมภายในที่มีต่อความสำเร็จขององค์กร ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2), 25-36.
ภริศฑ์ชาก์ ชดช้อย, ขวัญหทัย ใจเปี่ยม และอาทิตย์ สุจเสน. (2564). ระบบการควบคุมภายในองค์กรที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การสอบบัญชี ในมุมมองของผู้ตรวจสอบบัญชีและรับรองบัญชีในประเทศไทย. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 139-154.
ภัทราพร อุระวงษ์ และเบญจพร โมกขะเวส. (2564). ทักษะการปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารที่มีต่อผลการปฏิบัติงานทางบัญชี ของนักบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(8), 283-295.
ศศิธร ภูสีฤทธิ์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะในการทำงานกับผลการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(1), 232-241.
สิริณดา ฆารสว่าง และกฤตพา แสนชัยธร. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบการควบคุมภายในตามแนวคิด COSO กับ การปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของโรงพยาบาลชุมชนในสังกัดสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(1), 34-47.
สุธิดา เสาวคนธ์ และกนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2564). ผลกระทบของการควบคุมภายในที่มีต่อประสิทธิผลต่อการปฏิบัติงานของกำลังพลในสำนักงานปลัดบัญชี กองทัพบก. วารสารศิลปการจัดการ, 5(3), 599-614.
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297– 334.
Grote, D. (2011). How to be Good at Performance Appraisals. Boston: Harvard Business School.